โครงการวิจัยหมอลำกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ฯ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การยกระดับ “ธุรกิจหมอลำ สู่ตลาดดิจิทัล” กระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากจากทุนทางวัฒนธรรม

     โครงการวิจัยหมอลำกับเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ฯ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ การยกระดับ “ธุรกิจหมอลำ สู่ตลาดดิจิทัล”  เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2565 ณ โรงแรมพูลแมนฯ ขอนแก่น ภายใต้การสนับสนุนจาก กระทรวง อว. บพท. มข. และวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น ร่วมกับ มูลนิธิคีนันแห่งเอเซีย (Kenan) และ Meta Boost
      โดยในงานมีกิจกรรม Up Skill สำหรับผู้เข้าอบรม ซึ่งมาจากทุกเครือข่ายที่เกี่ยวข้องในธุรกิจหมอลำ เพื่อนำไปต่อยอดในการพัฒนาตนเองและธุรกิจ ได้แก่ “การออกแบบแผนที่ทุนทางวัฒนธรรม” โดย ทีมงานโครงการวิจัย หมอลำเศรษฐกิจสร้างสรรค์ “การตลาดดิจิทัล” จาก Meta Boost “เคล็ดลับการสร้างแบรนด์ให้เตะตา สร้างสรรค์เนื้อหาด้วยเครื่องมือยอดนิยม และการจัดการเพจธุรกิจบน Meta Business Suite” “ถอดรหัส IG Story” โดย วิทยากรที่ได้รับการรับรองจาก Meta และ “Meta พลังแห่งชุมชนออนไลน์ และการใช้กลุ่ม Facebook” โดย ผู้จัดการฝ่ายพันธมิตรชุมชน ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก จาก Meta
ผศ.ดร.ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม
อาจารย์ประจำ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
หัวหน้าโครงการวิจัยฯ
     ผศ.ดร.ศิริศักดิ์ เหล่าจันขาม อาจารย์ประจำ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น หัวหน้าโครงการวิจัยฯ กล่าวว่า โครงการที่จัดในวันนี้ ได้รับการสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น, กระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม และได้รับความร่วมมือจากนักวิจัยหลาย ๆ คณะในมหาวิทยาลัยขอนแก่น
      เป้าหมายสำคัญในการจัดการอบรมในครั้งนี้มาจากกระแสการปลี่ยนแปลงของนวัตกรรมการผลิตผลงานของศิลปินหมอลำ มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ และหมอลำกลายเป็นกระแสที่น่าสนใจสังคมปัจจุบันโดยเฉพาะอุสาหกรรมบันเทิงเชิงวัฒนธรรม ฉะนั้น การที่จะยกระดับการที่จะทำให้หมอลำก้าวไปอีกจุดหนึ่ง สามารถที่จะฝ่ากระแสคลื่นการมาสู่ระบบดิจิทัลในปัจจุบัน และสามารถสร้างรายได้จากระบบดิจิทัลจะทำอย่างไร
     วันนี้ เป็นการรวมตัวของศิลปินหมอลำ ศิลปินแขนงต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับหมอลำ การผลิตผลงาน เจ้าของสตูดิโอ นักดนตรี ผู้ผลิตเครื่องดนตรี หลากหลายสาขาในภาคอีสาน กว่า 60 คน เพื่อให้เกิดการพัฒนาและยกระดับทักษะการผลิตผลงาน ซึ่งการจัดสัมมนาในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจาก Facebook Thailand, Kenan Foundation Asia และ Meta Boost ให้การสนับสนุนวิทยากรให้การอบรม
     ผศ.ดร.ศิริศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า หลังจากเข้ารับการอบรมในครั้งนี้ และส่วนใหญ่ศิลปินและผู้ที่มาเข้าอบรมในครั้งนี้ ก็มีทักษะพื้นฐานมาแล้วในระดับหนึ่ง แต่บางเรื่องเป็นนวัตกรรมที่มาใหม่ แต่ถ้าสามารถยกระดับโดยใช้ทักษะใหม่เข้า เสริมทักษะทีมีอยู่แล้วก็จะทำให้ 1) มีทักษะเพิ่มมากขึ้น 2) มีรายได้เพิ่มขึ้น และ 3) มีนวัตกรรมที่จะช่วยให้มีรายได้อีกหลายช่องทาง ซึ่งเป็นการช่วยในการสร้างเศรษฐกิจฐานรากจากทุนทางวัฒนธรรมได้
A workshop “Mo Lam Business toward Digital Market” is held under Mo Lam & Creative Economy Project, with hope to stimulate root economy from cultural capital
Scroll to Top