สถานการณ์การระบาดของโรคฝีดาษวานร (ฝีดาษลิง Monkey Pox) ในหลายประเทศ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มีความห่วงใยในสุขภาพของนักศึกษา บุคลากร และประชาชน จึงแจ้งมาตรการในการป้องกันโรคฝีดาษวานร หากพบว่ามีอาการ ให้รายงานมายังหน่วยระบาดวิทยาโรคติดต่อ งานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลศรีนครินทร์
ตามที่มีสถานการณ์การระบาดของโรคฝีดาษวานร (ฝีดาษลิง) ในหลายประเทศ แต่จากการเฝ้าระวังโรคจนถึงปัจจุบัน ประเทศไทยยังไม่พบการรายงานผู้ติดเชื้อฝีดาษวานร เพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคดังกล่าว โรงพยาบาลศรีนครินทร์ จึงแจ้งมาตรการในการป้องกันโรคฝีดาษวานร ดังนี้
- สวมหน้ากากอนามัยในที่สาธารณะหรือสถานที่แออัด
- หมั่นล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ำหรือเจลแอลกอฮอล์
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสสัตว์ที่เป็นพาหะนำโรค เช่น กระรอก หนูป่า และลิง เป็นต้น
- หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยสงสัยหรือยืนยันโรคฝีดาษวาน
- หลีกเลี่ยงการใช้ของร่วมกันกับผู้ป่วย
- หากมีอาการไข้ ปวดศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดหลัง อ่อนเพลียและต่อมน้ำเหลืองโต มีผื่นตุ่มนูนและจะกลายเป็นตุ่มหนองตามใบหน้า และลำตัว ให้รายงานมายังหน่วยระบาดวิทยาโรคติดต่อ งานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลศรีนครินทร์ โทร. 043-363568, 043-363573 เบอร์มือถือ 064-2453346, 091-9387672 และพบแพทย์รับการรักษาทันที พร้อมแยกกักป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
- ไม่มีความจำป็นต้องฉีดวัคซีน ซึ่งวัคซีนป้องกันไข้ทรพิษจะป้องกันโรคฝีดาษวานรได้ แต่ประเทศไทยหยุดฉีดวัคซีนนี้เกือบ 50 ปี ดังนั้นผู้ที่อายุมากกว่า 50 ปี จะมีภูมิคุ้มกันโรคจากการปลูกฝีป้องกันข้ทรพิษ อย่างไรก็ตามประชาชนทั่วไปยังไม่มีความจำเป็นจะต้องเร่งรีบฉีดวัคซีนนี้ (ข้อมูลจากองค์กรวิชาชีพทางการแพทย์ วันที่ 25 พฤษภาคม 2565)
สำหรับ ฝีดาษวานร หรือ ฝีดาษลิง (Monkey Pox) กรมควบคุมโรค ได้ให้ข้อมูลว่า “โรคฝีดาษลิง” ไม่ใช่โรคใหม่ เป็นโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่ม Poxviridae จัดอยู่ในจีนัส Orthopoxvirus พบได้ในสัตว์หลายชนิด โดยเฉพาะสัตว์ตระกูลลิงและสัตว์ฟันแทะ เช่น กระรอก หนูป่า เป็นต้น ซึ่งการแพร่เชื้อจากคนสู่คนแม้มีโอกาสน้อย แต่อาจเกิดขึ้นได้จากการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยผ่านทางสารคัดหลั่งจากทางเดินหายใจ ผิวหนังที่เป็นตุ่ม หรืออุปกรณ์ที่มีการปนเปื้อนเชื้อ ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ยังคาดว่า การระบาดของโรคฝีดาษลิง ไม่น่าจะพัฒนาไปสู่โรคระบาดใหญ่เหมือนโรคไวรัสโควิด-19 เนื่องจากไวรัสชนิดนี้ไม่แพร่กระจายง่ายเหมือนไวรัส –SARS-COV -2
ข้อมูล : โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เว็บไซต์รัฐบาลไทย https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/54848
เรียบเรียง : เบญจมาภรณ์ มามุข