รศ.ดร.รังสรรค์ เนียมสนิท

มข.หนุนเกษตรกรพัฒนา”ฟาร์มจิ้งหรีด” สู่มาตรฐานGAPพร้อมวางเครือข่ายช่วยเหลือ

มข.หนุนเกษตรกรพัฒนา”ฟาร์มจิ้งหรีด” สู่มาตรฐานGAPพร้อมวางเครือข่ายช่วยเหลือ Read More »

“จิ้งหรีด”สัตว์เศรษฐกิจน้องใหม่ มข.หนุนพัฒนาฟาร์มเชิงพาณิชย์-แปรรูปส่งออก

“จิ้งหรีด”สัตว์เศรษฐกิจน้องใหม่ มข.หนุนพัฒนาฟาร์มเชิงพาณิชย์-แปรรูปส่งออก Read More »

มข.ติวเข้มผู้ประกอบการเลี้ยงจิ้งหรีด (กรอบบ่าย)

มข.ติวเข้มผู้ประกอบการเลี้ยงจิ้งหรีด (กรอบบ่าย) Read More »

“มข.” เปิดตลาดแก้จน เพิ่มช่องทางเกษตรกรขายสินค้าเยียวยาพิษโควิด

สำนักข่าว: Line today / อ้างอิงจากสยามรัฐออนไลน์  URL:https://today.line.me/th/pc/article/%E0%B8%A1%E0%B8%82+%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%95%E0%B8%A5%E0%B8%B2%E0%B8%94%E0%B9%81%E0%B8%81%E0%B9%89%E0%B8%88%E0%B8%99+%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%88%E0%B8%A1%E0%B8%8A%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%AA%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A9%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%94-nPggnK วันที่เผยแพร่: 26 มิ.ย. 2563 มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยสถาบันวิจัยยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดโครงการ มข.แก้จน เปิดพื้นที่จำหน่ายสินค้าทางการเกษตร สร้างโอกาสให้กับเกษตรกรร่วมนำผลผลิตคุณภาพดีร่วมจำหน่าย เป็นการหาช่องทางในการจำหน่ายสินค้าทางเกษตรให้กับเกษตรกร ส่งเสริมให้เกิดการรวมกลุ่มในการสร้างผลผลิต ต่อยอดสู่ช่องทางการจำหน่ายออนไลน์ แปรรูปผลิตภัณฑ์ให้เข้าถึงผู้บริโภคได้ง่ายขึ้น สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลผลิต และเป็นการบรรเทาผลกระทบจากการะบาดของโควิด-19 โดยเปิดโอกาสให้เกษตรกรจัดจำหน่ายสินค้าทางการเกษตรระหว่างวันที่ 24-26 มิถุนายน 2563 ณ บริเวณศาลาพระราชทานปริญญาบัตรหลังเดิม รศ.ดร.รังสรรค์ เนียมสนิท ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า โครงการตลาด มข.แก้จน เป็นโครงการและกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นที่เข้าไปส่งเสริมกลุ่มเกษตรกรให้เกิดการรวมกลุ่มในการผลิตสินค้าทางการเกษตร จากจุดเดิมที่มีการจำหน่วยบริเวณโรงพยาบาลศรีนครินทร์เนื่องจากช่วงนี้มีการระบาดของโควิด-19 จึงได้งดการจำหน่วยผลิตผลทางการเกษตรที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ทำให้เกษตรกรเกิดการขาดรายได้ จึงเหตุดังกล่าวนี้ได้มีการหารือและหาแนวทางในการเปิดตลาดช่วยเกษตรกร โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ให้พื้นที่มาทดลองเปิดตลาดในบริเวณศาลาพระราชทานปริญญาบัตรหลังเดิม เพื่อเป็นการส่งเสริมการรวมกลุ่มของเกษตรกร ซึ่งมีหลายโครงการที่ได้รับความเดือดร้อนและผลกระทบอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา อาทิ โครงการไก่ประดู่หางดำ โครงการเกษตรกรโคนม รวมถึงโครงการ และกลุ่มเกษตรกรอื่น ๆ โดยกิจกรรมครั้งนี้ ยังมีความร่วมมือกับโครงการปิดทองหลังพระ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของ ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล ได้นำสินค้าจากเกษตรกรในโครงการมาร่วมจำหน่ายในครั้งนี้ด้วย

“มข.” เปิดตลาดแก้จน เพิ่มช่องทางเกษตรกรขายสินค้าเยียวยาพิษโควิด Read More »

ตลาด “มข.แก้จน” จำหน่ายสินค้าการเกษตร

สำนักข่าว: balancemag URL:https://www.balancemag.net/39962/ วันที่เผยแพร่: 26 มิ.ย. 2563 สถาบันวิจัยยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดโครงการ มข.แก้จน เปิดพื้นที่จำหน่ายสินค้าทางการเกษตร ให้เกษตรกรนำผลผลิตคุณภาพดีร่วมจำหน่าย บรรเทาผลกระทบจากการะบาดของโควิด-19 รศ.ดร.รังสรรค์ เนียมสนิท ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยุทธศาสตร์และประสานความร่วมมือเพื่อพัฒนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า โครงการตลาด มข.แก้จน เป็นโครงการและกิจกรรมที่มหาวิทยาลัยฯเข้าไปส่งเสริมกลุ่มเกษตรกร ที่ต้องงดการจำหน่วยผลิตผลทางการเกษตรที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ในช่วงนี้มีการระบาดของโควิด-19 ทำให้เกษตรกรเกิดการขาดรายได้ ด้วยเหตุนี้ มหาวิทยาลัยจึงได้เปิดตลาดช่วยเกษตรกร โดยใช้พื้นที่บริเวณศาลาพระราชทานปริญญาบัตรหลังเดิม ที่ได้รับความเดือดร้อนและผลกระทบอย่างมากในช่วงที่ผ่านมา อาทิ โครงการไก่ประดู่หางดำ โครงการเกษตรกรโคนม รวมถึงโครงการ และกลุ่มเกษตรกรอื่น ๆ โดยกิจกรรมครั้งนี้ ยังมีความร่วมมือกับโครงการปิดทองหลังพระ ซึ่งอยู่ภายใต้การดูแลของ ม.ร.ว.ดิศนัดดา ดิศกุล ได้นำสินค้าจากเกษตรกรในโครงการมาร่วมจำหน่ายในครั้งนี้ด้วย ” ทั้งนี้ยังมีการส่งเสริมให้เกษตรกรรุ่นใหม่ หรือ “ยัง สมาร์ท” เข้ามาต่อยอดให้เข้าถึงตลาดออนไลน์ เชื่อมั่นว่าในอนาคตจะมีการขยายตลาดและช่องทางจำหน่ายมากขึ้น ไปจนถึงระดับการสร้างตลาดให้มั่นคง พร้อมกับปรับแนวคิดของเกษตรกรให้เป็นผู้ประกอบการเอง และถือโอกาสจ้างงานบัณฑิต รวมถึงผู้ที่กลับจากกรุงเทพมหานครและผู้ว่างงาน การเปลี่ยนแปลงกระบวนการเกษตรต้องมีเกษตรกรรุ่นใหม่เติมเต็มเข้าไปในชุมชน” ซึ่งทั้งหมดล้วนเป็นลูกหลานที่ผ่านกระบวนทางด้านอุตสาหกรรมทั้งในประเทศและต่างประเทศ พร้อมก้าวสู่การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง โดยเป็นการบูรณาการคนรุ่นใหม่ที่อยู่ในพื้นที่กับเกษตรแบบเดิม นำไปสู่โอกาสการจำหน่ายผ่านช่องทางออนไลน์ ออกแบบบรรจุภัณฑ์ แปรรูปและเข้าถึงผู้บริโภคได้ง่าย เหล่านี้ล้วนเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มได้

ตลาด “มข.แก้จน” จำหน่ายสินค้าการเกษตร Read More »

thไทย