วันนี้ ( 20 สิงหาคม 2564 ) เวลา 16.00 น. มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ “โครงการวิจัยและพัฒนา Engywall เพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์”กับ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ( กฟผ.) โดยมี รองศาสตราจารย์ นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น และ ดร.จิราพร ศิริคำ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ลงนาม พร้อมพยานทั้งสองฝ่ายประกอบด้วย ศาสตรจารย์ ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ คุณวีนัส หลงสมบุญ ผู้ช่วยผู้ว่าการวิจัย นวัตกรรม และพัฒนาธุรกิจ กฟผ. และผู้บริหารจำนวนกว่า 30 ท่าน ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Meeting
![](https://th.kku.ac.th/wp-content/uploads/2021/08/15-2-500x318.jpg)
ดร.จิราพร ศิริคำ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ขอบคุณมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่ให้การสนับสนุน หวังว่าเมื่อสถานการณ์โควิดคลี่คลายน่าจะพบกันที่ มหาวิทยาลัยขอน เร็วๆ นี้ ความเป็นมาวัตถุประสงค์ ความร่วมมือในครั้งนี้ สืบเนื่องจากที่ทั้งสองฝ่ายมีองค์ความรู้ด้านพลังงานเป็นอย่างมาก ฉะนั้นเพื่อต่อยอดความรู้นวัตกรรมเชิงพาณิชย์ให้ชุมชนและผู้ประกอบรวมถึงทุกคนในชาติให้เกิดการใช้พลังงานอย่างยั่งยืน เป็นที่มาของ “โครงการวิจัยและพัฒนา Engywall เพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์” โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อนำองค์ความรู้ผลงานวิจัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีทรัพยากรทั้งสองฝ่ายมาบริหารจัดการร่วมกัน พัฒนาต่อยอดผลงานวิจัยเชิงพานิชย์เป็นระบบสำรองพลังงานไฟฟ้า หรือ Engywall นับเป็นความร่วมมือแรกที่ มข. และ กฟผ. จะร่วมมือกันโดยมีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี หวังว่าความร่วมมือนี้จะก่อให้เกิดความร่วมมืออื่นๆในอนาคต เป็นประโยชน์ต่อสังคมและต่อประเทศสืบไป
![](https://th.kku.ac.th/wp-content/uploads/2021/08/14-2-500x280.jpg)
![](https://th.kku.ac.th/wp-content/uploads/2021/08/14-2-500x280.jpg)
รองศาสตราจารย์ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ในนามของมหาวิทยาลัยขอนแก่นขอขอบคุณ กฟผ. ที่ได้มีโครงการร่วมมือกับ มข. “โครงการวิจัยและพัฒนา Engywall เพื่อใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์” โดยก่อนหน้านี้ได้มีโอกาสประชุมร่วมกับท่านองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ส่วนตัวรู้สึกตื่นเต้นมากกับวิสัยทัศน์อันกว้างไกลของ กฟผ. รู้สึกเชื่อมั่นว่าจะสามารถบูรณาการองค์ความรู้ร่วมกันได้อย่างดีเยี่ยม เป็นที่มาของการลงนามวันนี้ สำหรับ มข. ได้มีการพัฒนาองค์ความรู้ในการผลิตพลังงานตามลำดับ กระทั่งปัจจุบันมีโรงงานต้นแบบ แบตเตอรี่ชนิดลิเทียมไอออน สามารถกักเก็บพลังงานสูง ปลอดภัย และรองรับการ Fast charge ทั้งยังได้รับการรับรองมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม (มอก.)และผ่านการทดสอบตามมาตรฐานสากลของ IEC เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ประโยชน์ได้จริง จากองค์ความรู้ที่เรามี ประกอบกับวิสัยทัศน์ กฟผ. คาดว่าการลงนามความร่วมมือวิชาการครั้งนี้ จะเกิดประโยชน์ เห็นความสำเร็จร่วมกัน ของทั้งสองฝ่าย และเป็นประโยชน์เชิงพาณิชย์ต่อไป
![](https://th.kku.ac.th/wp-content/uploads/2021/08/11-1-500x345.jpg)
![](https://th.kku.ac.th/wp-content/uploads/2021/08/11-1-500x345.jpg)
![](https://th.kku.ac.th/wp-content/uploads/2021/08/12-2-500x326.jpg)
![](https://th.kku.ac.th/wp-content/uploads/2021/08/12-2-500x326.jpg)
ข่าว จิราพร ประทุมชัย
ภาพ อรรพล ฮามพงษ์ / ศูนย์บริหารเทคโนโลยีและนวัตกรรม