สำนักข่าว : บ้านเมือง
URL : https://www.banmuang.co.th/news/region/228210
วันที่เผยแพร่ : 28 มี.ค. 2564
“มข.”เปิดชั้นเรียนออนไลน์ระดับชาติ ครั้งที่ 14
สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา และสถาบันเครือข่าย เปิดชั้นเรียนออนไลน์ระดับชาติ ครั้งที่ 14 พัฒนาคุณภาพการศึกษา และพัฒนาวิชาชีพครูที่เชื่อมโยงระหว่างระบบการผลิตนักศึกษาครูและระบบการพัฒนาครูประจำการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้บริการสังคมและชุมชนทั่วทุกภูมิภาค และเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของประเทศชาติซึ่งนับเป็นการทำงานร่วมกันในการที่จะช่วยแก้ไขปัญหาทางการศึกษา การพัฒนานวัตกรรม และการพัฒนาชั้นเรียนทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยและประเทศในเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 28 มีนาคม 2564 ที่ ชั้น 4 ห้อง Smart Classroom สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.)รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานเปิดกิจกรรมเปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 14 ทางระบบออนไลน์ ในการนี้รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดี ฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มข. ได้เปิดแถลงข่าวการจัดกิจกรรมเปิดชั้นเรียนระดับชาติ (National Open Class) ครั้งที่ 14 โดยมี ผศ.ปิยะศักดิ์ ปักโคทานัง รักษาการรองผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน รศ.เอื้อจิตร พัฒนจักร ผู้ทรงคุณวุฒิประจำสถาบันฯ ผศ.ดร.นฤมล ช่างศรี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา คณาจารย์ อาจารย์ และบุคลากร ร่วมเปิดงานแถลงข่าว
รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่ารู้สึกยินดีและเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้มาเป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมการ เปิดชั้นเรียนระดับชาติ (National Open Class) ครั้งที่ 14 ในรูปแบบออนไลน์ในวันนี้การจัดกิจกรรมในครั้งนี้ทำให้เห็นถึงความพยายามในการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง ของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา และสถาบันเครือข่าย ในการเป็นหน่วยงานหลักเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา และพัฒนาวิชาชีพครูที่เชื่อมโยงระหว่างระบบการผลิตนักศึกษาครูและระบบการพัฒนาครูประจำการร่วมกับหน่วยงานต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้บริการสังคมและชุมชนทั่วทุกภูมิภาค และเพื่อให้ตอบสนองต่อความต้องการของประเทศชาติซึ่งนับเป็นการทำงานร่วมกันในการที่ จะช่วยแก้ไขปัญหาทางการศึกษา การพัฒนานวัตกรรม และการพัฒนาชั้นเรียนทั่วทุกภูมิภาคของประเทศไทยและประเทศในเขตอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
รศ.นพ.ชาญชัย กล่าวอีกว่านอกจากนั้นการดำเนินงานนี้ยังสอดคล้องกับประเด็นยุทธศาสตร์การขับเคลื่อน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทั้งการปรับเปลี่ยนการจัดการศึกษา (Education Transformation) ปรับเปลี่ยนการทำงานวิจัย (Research Transformation) ปรับเปลี่ยน การบริการวิชาการ (Academic Service Transformation) และเสริมสร้างความร่วมมือเพื่อการพัฒนา(Collaboration/Coordination Projects) อีกด้วยในนามของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอขอบคุณ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา และสถาบันเครือข่าย ที่ประสานงานและดำเนินกิจกรรมนี้ ขอขอบคุณวิทยากรพิเศษ ศาสตราจารย์ ยูทากะ โอฮาระ จากมหาวิทยาลัยคันโตกักกุอิน และรองศาสตราจารย์ ดร. ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ขอขอบคุณ ศาสตราจารย์โทชิโนบุ ฮาทานากะ จากมหาวิทยาลัยโทโฮ และคุณครูทุกท่านที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมเปิดชั้นเรียน ขอขอบคุณโรงเรียนภายใต้ความร่วมมือของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน ที่ร่วมส่งโปสเตอร์เพื่อแสดงผลการดำเนินงานของโรงเรียน ขอขอบคุณผู้บริหาร คณาจารย์และคุณครูทุกท่านที่เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้บัดนี้ได้เวลาอันสมควรแล้ว ผมขอเปิดกิจกรรมการเปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 14รูปแบบออนไลน์ และขออวยพรให้กิจกรรมครั้งนี้ประสบความสำเร็จตามจุดมุ่งหมายทุกประการ
ด้าน รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดี ฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และรักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน กล่าวว่า การเปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 14 (The 14th National Open Class) จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 – 28 มีนาคม พ.ศ. 2564 ในรูปแบบออนไลน์ (Full Online) โดยความร่วมมือระหว่าง สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน ฝ่ายการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา สมาคมคณิตศาสตรศึกษา มูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด และกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.)
สำหรับการเปิดชั้นเรียน ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Open Class เป็นกระบวนการในการพัฒนาวิชาชีพครู (Teaching Profession) โดยมีพื้นที่ในการพัฒนาใช้ห้องเรียนจริง (Live Classroom) เพื่อค่อยๆ ทำความเข้าใจ “ความสลับซับซ้อนของชั้นเรียน” และ “วิธีการแก้ปัญหา” (ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์, 2557) ซึ่งในประเทศญี่ปุ่นได้รับการพัฒนามามากกว่า 140 ปี โดยมีจุดเน้นคือ1) เป้าหมายหลักของการพัฒนาอยู่ที่พัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนใน “ชั้นเรียน” 2) พื้นที่ในการ พัฒนาใช้ “ห้องเรียนจริง” (Live Classroom) 3) เป้าหมายรองของการพัฒนาอยู่ที่การเรียนรู้ร่วมกันของครู (Teacher Learning) เพื่อจะเข้าใจนักเรียน และ 4) เน้นการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
รศ.ดร.ไมตรี กล่าวอีกว่าโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของการพัฒนา (Isoda, 2005; Shimizu, 2006; Inprasitha, 2016) ดังนั้น การเปิดชั้นเรียนจึงถือเป็นหัวใจสำคัญอย่างหนึ่งในการทำงานเชิงนวัตกรรมเพื่อพัฒนาการศึกษาที่ต้องอาศัยการวิจัยและพัฒนาทางด้านการสอน ซึ่งเราในนามศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษาในขณะนั้น เป็นคนนำร่องคำศัพท์นี้เข้ามาพร้อมๆกับโครงการ APEC Lesson Study เมื่อ 15 ปีที่แล้วเดิมทีการจัดกิจกรรมเปิดชั้นเรียนระดับชาติ ครั้งที่ 14 จะต้องเกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา แต่เนื่องจากสถานการณ์ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ที่เกิดขึ้นอย่างกะทันหัน ทำให้ไม่ได้เตรียมตัวในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดงานทำให้ต้องเลื่อนการจัดออกไป แต่ในปีนี้ทีมผู้จัดได้ร่วมกันวางแผนรับมือการระบาดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 โดยการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์เต็มรูปแบบ โดยกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย
1) เทปการบรรยายของ (1)Prof. Yutaka OHARAจากCollegeofEducation,KantoGakuin University บร ร ย า ย เรื่อง How to Update the Our Education after Covid-19 Pandemic (2) รองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น บรรยายเกี่ยวกับ การจัดการเรียนการสอนที่เน้นการพัฒนาการคิดด้วยวิธีแบบเปิด (Open Approach)
2) กิจกรรมเปิดชั้นเรียน โดยมีครูผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ จำนวน 1 ชั้นเรียน ในวิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สอนโดย Prof. Toshinobu Hatanaka จาก Toho University ประเทศญี่ปุ่น
3) กิจกรรมเปิดชั้นเรียน โดยครูไทยที่มีประสบการณ์ในการใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด จำนวน 6 ชั้นเรียนในชั้นเรียนวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และชั้นเรียนบูรณาการ
4) กรณีศึกษา เกี่ยวกับบทบาททางวิชาการของผู้อำนวยการโรงเรียนที่ใช้นวัตกรรม และการสอนภายใต้สถานการณ์ COVID-195) การแสดงนิทรรศการเสมือนจริง (Virtual Exhibition) ของโรงเรียนในโครงการฯ, สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน (IRDTP), ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา (CRME), สมาคมคณิตศาสตรศึกษา (TSMEd) สถาบันรับรองสมรรถนะทางคณิตศาสตร์ (SUKEN)ผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ ผ่านทางออนไลน์ ประกอบด้วย ผู้บริหารและคณาจารย์ นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู และบุคคลที่สนใจ รวมจำนวนกว่า 1,500 คน.