มข.พร้อมจัดแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระดับชาติ

สำนักข่าว: nation
URL: https://www.nationtv.tv/main/content/378807660
วันที่เผยแพร่: 25 พ.ย. 2563

24 พ.ย.2563 ที่สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น หรือ มข. รศ.เกรียงศักดิ์ ภักดี รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วย ผศ.ดร.สมเกียรติ ศรีจารนัย คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มข.ร่วมกันแถลงข่าวการจัดการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิก ระดับชาติ ครั้งที่ 16 ซึ่งมูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ หรือ สอวน. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขัน ระหว่างวันที่ 28 พ.ย.1 ธ.ค. 2563 ที่ อาคารวิทยวิภาส คณะวิทยาศาสตร์ มข. ท่ามกลางความสนใจจากสื่อมวลชน คณาจารย์ และนักศึกษาเข้าร่วมรับฟังจำนวนมาก

ผศ.ดร.สมเกียรติ ศรีจารนัย คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ มข. กล่าวว่า การแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระดับชาติครั้งที่ 16 นี้ จะมีนักเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขัน ทั้งสิ้น 93 คน โดยเป็นนักเรียนตัวแทนศูนย์ที่ผ่านค่ายที่สองจากศูนย์ สอวน ทั่วประเทศ จำนวน 90 คน และนักเรียนจากโครงการ สสวท. 3 คน รวมไปถึงอาจารย์ผู้แทนศูนย์จากมหาวิทยาลัยทั่วประเทศและครูสังเกตการณ์จากศูนย์ สอวน. จำนวน 51 คน ๆ และแขกผู้มีเกียรติจากสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน(สพฐ.) และหน่วยงานผู้ให้การสนับสนุน รวมผู้เข้ากิจกรรมทั้งสิ้นประมาณ 300 คน

โดยสิ่งที่สำคัญที่สุดของการจัดการแข่งขันในครั้งนี้คือกายกระดับ และกระตุ้นให้มีให้มีการพัฒนาหลักสูตร และมาตรฐานของระบบการเรียนการเรียนการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ของประเทศ ให้ทัดเทียมนานาประเทศการให้ผู้เข้าร่วมการแข่งขันเกิดความรักและสนใจที่จะมุ่งเน้นศึกษาทางด้านคอมพิวเตอร์ หรือเทคโนโลยีดิจิทัลที่เกี่ยวข้องในระดับอุดมศึกษา จนอาจประกอบอาชีพทางคอมพิวเตอร์ในอนาคต การคัดเลือกนักเรียนที่เข้าอบรมวิชาคอมพิวเตอร์ที่เป็นตัวแทนจากศูนย์ สอวน. ทั้ง 13 ศูนย์ทั่วประเทศ ให้เป็นตัวแทนเข้าร่วมการอบรมค่ายโอลิมปิกวิชาการ ของสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ในรอบต่อไป ทั้งยังคงเป็นการให้คณาจารย์จากศูนย์ สอวน. ทุกศูนย์มีประสบการณ์ร่วมกันในการเข้าร่วมจัดการแข่งขันคอมพิวเตอร์โอลิมปิกระดับชาติ มีการแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งสามารถนำไปใช้ปรับปรุงการสอน

รวมทั้งการพัฒนาหลักสูตรและรูปแบบการอบรมทางวิชาการในสาขาคอมพิวเตอร์ให้ดียิ่งขึ้น และที่สำคัญคือการสร้างโอกาสให้มีการแลกเปลี่ยนทางความคิดของนักเรียน ตัวแทนครูจากโรงเรียน และคณาจารย์ของมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั่วประเทศ อย่างไรก็ตามจากการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันในครั้งนี้เป็นโอกาสดีที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้มีโอกาสส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมทางการศึกษาโดยเฉพาะการให้ความสำคัญกับเทคโนโลยีด้านดิจิทัลที่มีการพัฒนาไปอย่างมากในปัจจุบัน รวมถึงการพัฒนากำลังคนในสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล มหาวิทยาลัยขอนแก่นเองก็ได้เล็งเห็นความสำคัญในการเป็นศูนย์กลางและการพัฒนาศักยภาพของนักเรียนให้มีความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับสูง โดยเฉพาะการแก้ปัญหาเชิงคำนวณ(Computational Thinking)ด้วยการโปรแกรม (Programming)ซึ่งจะเป็นฐานความรู้ที่สำคัญสำหรับนักเรียนในการต่อยอดไปสู่การพัฒนาและวิจัยทางด้านการคิดคำนวณขั้นสูง การพัฒนาปัญญาประดิษฐ์ การพัฒนาซอฟต์แวร์และนวัตกรรมด้านดิจิทัลให้เป็นประโยชน์สำหรับประเทศต่อไป

Scroll to Top