“เบิ่งแงงแก่งละว้า” ธุรกิจชุบชีวิตชุมชน ฝีมือนศ.มข. ดันศักยภาพชาวบ้าน หวังเพิ่ม GDP ท้องถิ่นยั่งยืน

โลกเทคโนโลยีที่หมุนเร็ว เศรษฐกิจหมุนเร็วกว่า หลายประเทศจึงพยายามเพิ่มมูลค่าตลาดของสินค้าและบริการ หรือ GDP (Gross Domestic Product) ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ ด้วยผลิตภัณฑ์ทางด้าน IT  AI  เพื่อแข่งขันกัน ในอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ในหลากหลายแพตฟอร์ม จนอาจหลงลืมบางอย่าง

 

       “ชุมชน” ถือเป็นทั้งหน่วยผลิตที่สำคัญในเศรษฐกิจระดับฐานราก ประกอบด้วย ร้านค้ารายย่อย กลุ่มอาชีพ วิสาหกิจ ซึ่งสร้างธุรกรรมที่มิได้นับรวมเป็นมูลค่าในระบบเศรษฐกิจทางการ GDP ชุมชนขึ้น เพื่อหาวิธีการหรือตัวแปรในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจในระดับฐานราก ด้วยการศึกษาการไหลเวียนของธุรกรรมในชุมชน โดยพิจารณาจากปัจจัยนำเข้า 3 ส่วนหลัก ได้แก่ เงิน ของ และ คน

“ทีมน้องสำนักงาน” คือชื่อตัวแทนนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น จากหลากหลายคณะ ประกอบด้วย  คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์  วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ วิทยาลัยปกครองท้องถิ่น ที่ร่วมกันลงพื้นที่ ตำบลบ้านเป้า อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น นำความรู้ทฤษฎีไปปฏิบัติจริง พัฒนาพื้นที่ด้วยการสร้างโมเดลธุรกิจท่องเที่ยว ดึงคนกลับมาเที่ยวชุมชน เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ สร้างงาน สร้างเงิน สร้างคน ให้เกิดความยั่งยืน

 

        นายพีรภัทร กุรัมย์ นักศึกษาปริญญาโท วิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ กล่าวว่าโมเดล “เบิ่งแงงแก่งละว้า” ได้เข้าร่วมการแข่งขันโครงการ ‘Young Scout x CU 2024’ ภายใต้แนวคิดไอเดียธุรกิจการท่องเที่ยว เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนายกระดับการท่องเที่ยวไทยไปให้ไกลกว่าเดิม

“ในช่วงเรียนปริญญาตรีได้มีโอกาสทำโครงการนักศึกษากับรุ่นน้องคณะมนุษย์ที่เรียนต่อเอ็มบีเอด้วยกัน และมีน้องสองคนจากวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่นรวมกันได้สี่คนเนื่องจากในช่วงแรกตนเองชอบเข้าร่วมประกวดแข่งขันสตาร์ทอัพเป็นทุนเดิม พอทราบว่ามีโครงการประกวดธุรกิจการท่องเที่ยวจึงชวนเพื่อนและน้อง ๆ ไปแข่งด้วยกัน  เกณฑ์การแข่งขันมีด้วยกันสองรอบรอบแรกทำสไลด์ไม่เกินสี่หน้าเพื่อนำเสนอบอกเล่าผลงานออกแพ็คเกจทัวร์กลุ่มเป้าหมายว่าเป็นใคร ราคาเท่าไหร่ เส้นทางแบบไหน และจะช่วยพัฒนาชุมชนยั่งยืนอย่างไร โดยพื้นที่ที่พวกเราเลือกคือแก่งละว้า อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น”

        พีรภัทร  ยังกล่าวต่ออีกว่า เนื่องจากตนเองเรียนพัฒนาสังคมคณะมนุษย์ ประจวบเหมาะกับการที่ได้ฝึกงานพื้นที่ตรงนั้นพอดีเลยทำให้ได้ทำงานร่วมกับชาวบ้านเป็นระยะเวลาสองปีกว่า จึงมีความตั้งใจที่ต้องการจะพัฒนาพื้นที่โดยใช้โครงการวิจัยจริงและนำโครงการนี้ไปแข่งระดับประเทศ

 

“สร้างเงิน”  ด้วยผลิตภัณฑ์ชุมชน 

“ที่อยากนำเสนอคือเราอยากจะมอบความยั่งยืนให้กับชุมชน สร้างงาน สร้างอาชีพ ไม่ให้คนไปทำงานที่ไกลบ้านพยายามพัฒนาผลิตภัณฑ์ของชุมชนเพื่อตอบโจทย์กลุ่มเป้าหมาย” ผลิตภัณฑ์ที่กล่าวถึงไม่ว่าจะเป็นผลิตภัณฑ์ด้านธุรกิจการท่องเที่ยว การพัฒนาสินค้าที่ระลึกเป็นผลิตภัณฑ์ชุมชน ปลาร้าแม่ละเอียดซึ่งเป็นวิสาหกิจชุมชนของพื้นที่ท้องถิ่นที่ขายทั้งในประเทศและมีการตีตลาดขายส่งออกต่างประเทศ เช่น ประเทศดูไบ และผลิตภัณฑ์ที่มาจากวิถีชีวิตของชาวประมง เช่น ปลาแดดเดียว”

 

“สร้างของ” ผลิตภัณฑ์ท่องเที่ยวชุมชน

สร้างแพ็คเกจท่องเที่ยวของโรงแรม เริ่มต้นที่การเช็คอินที่บ้านหลังวัดคาเฟ่ จากนั้นไปล่องเรือประมงของชาวบ้าน ซึ่งจะทำให้ได้เห็นวิถีชีวิตท้องถิ่นของชาวบ้านอย่างเช่นการหว่านแห และจุดเช็คอินที่โดดเด่นคือทุ่งดอกบัวแดงซึ่งจะมีตลอดทั้งปี หลังจากล่องเรือเสร็จกลับมาที่บ้านหลังวัดคาเฟ่เวิร์คช็อปการทำอาหารพื้นเมือง เช่น ข้าวต้มมัด น้ำสมุนไพร และทานอาหารหนึ่งมื้อ เช่น เมี่ยงกลีบบัว ลาบป่าตอง ตำไหลบัวซึ่งเป็นอาหารขึ้นชื่อของพื้นที่ โดยในแพ็คเกจนี้จะใช้ผู้นำเที่ยวท้องถิ่นที่เป็นเยาวชนในชุมชนที่มีความคุ้นเคยกับพื้นที่นี้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังได้รับความร่วมมือกับเอ็นจีโอในชุมชนและวิสาหกิจชุมชน ที่สำคัญที่สุดคือการให้ความร่วมมือของชาวบ้านในท้องถิ่น สร้างรายได้ สร้างเงิน

สำหรับกิจกรรมท่องเที่ยวในปัจจุบัน มีรูปแบบการรวมกลุ่ม 8-9 คน ในราคาเริ่มต้น 1,290 บาทต่อคน โดยสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมหรือประสานงานผ่านแผนที่การท่องเที่ยวได้ทางแฟนเพจ “บ้านหลังวัดคาเฟ่”

 

“สร้างคน”  ดำเนินกิจการด้วยคนในชุมชนเอง 

รวมพลังคนในท้องถิ่นทำกิจกรรมอีเวนท์ต่าง ๆ เช่น มหกรรมเปิดแก่งละว้า มหกรรมพื้นที่สีเขียวขายอาหารที่เป็นพืชผักของชุมชน นายพีรภัทรกล่าวเพิ่มว่า “เมื่อเราสร้างโมเดลธุรกิจนำเที่ยวแล้วเป็นรูปธรรม ผู้ที่จะนำไปต่อยอดให้ยั่งยืนก็คือกลุ่มชาวบ้านเอง นอกจากนี้ยังได้ประชาคมภาคี เช่น สสส หรืออาสาคืนถิ่น และเทศบาล” เพราะแม้ว่าจะมีโครงการสนับสนุนยกระดับชุมชน ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจที่ดีมากแค่ไหน หากชาวบ้านในท้องถิ่นไม่ให้ความมือก็คงจะไม่เกิดผลดีอะไรต่อชุมชนขึ้นมา

“เราทำหน้าที่ในการดึงศักยภาพของคนในพื้นที่ทั้งเสน่ห์รากฐานวัฒนธรรมของภาคอีสาน วิถีชีวิตความเป็นอยู่ และความสามารถของเยาวชนในท้องถิ่น ร่วมกันเป็นผลิตภัณฑ์ที่เข้าถึงง่ายและสามารถดึงผู้คนเข้าไปในชุมชนเพื่อให้ชุมชนสามารถหมุนเวียนเศรษฐกิจทำให้เกิด GDP ร่วมกันอย่างยั่งยืนได้”

การกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านวิถีชุมชนแบบนี้ ไม่เพียงแต่สร้างรายได้ให้ท้องถิ่น แต่ยังเป็นการปลูกฝังความภาคภูมิใจใน วัฒนธรรม วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนในพื้นที่ รวมถึงการให้โอกาสสมาชิกในชุมชนได้แสดงออกถึงความสามารถและศักยภาพของตน นอกจากนี้ยังช่วยเพิ่ม GDP ให้กับชุมชนและมวลรวมของประเทศได้อีกเช่นกัน

 

หลักสูตรในห้องเรียนของมหาวิทยาลัยขอนแก่น  ใช้ได้จริงในชุมชน

การเรียนหลักสูตรของมหาวิทยาลัยขอนแก่นเปิดกว้างมากสำหรับการให้นักศึกษานักศึกษาทุกชั้นปีไม่ว่าจะเป็นปริญญาตรี ปริญญาโท หรือปริญญาเอก แม้กระทั่งการทำงานงานวิจัยต่างภาคสาขาวิชาเช่นเดียวกันกับโครงการวิจัยนี้ที่เกิดจากการรวมตัวกันของนักศึกษาทั้งสามคณะ วิทยาลัยปกครองท้องถิ่น คณะมนุษศาสตร์ และวิทยาลัยบัณฑิตศึกษาการจัดการ ที่ร่วมด้วยช่วยกันสร้างสรรค์ผลงานจนทำให้เกิดโมเดล “เบิ่งแงงแก่งละว้า” ขึ้นมา

“โมเดลนี้สร้างชื่อเสียงให้กับมหาวิทยาลัยขอนแก่นในสตาร์ทอัพด้านธุรกิจท่องเที่ยว ไม่มีใครรู้จักเราเลยจนกระทั่งสามารถคว้ารางวัลชนะเลิศได้สำเร็จ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่มีชื่อเสียงทั้งกรุงเทพ ภาคกลางและทั่วประเทศเริ่มเข้าหาเราและแลกเปลี่ยนคอนเน็คชันกัน” จากบทสัมภาษณ์ทำให้เห็นว่าเวที‘Young Scout x CU 2024’ เป็นเวทีการประกวดอันเป็นที่ประจักษ์ที่ทำให้เหล่าบรรดาผู้คนในแวดวงมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ คณะอาจารย์ บุคลากร รวมไปถึงนักศึกษาด้วยกันเอง ได้เห็นถึงศักยภาพของนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น เหล่าอาจารย์และหลักสูตรว่าเป็นผลผลิตชั้นเลิศอันยอดเยี่ยมที่สามารถผลักดันโครงการวิจัยเพื่อพัฒนาชุมชนได้สำเร็จอย่างแท้จริง”

สำหรับเป้าหมายในอนาคต นายพีรภัทร ได้ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติมว่า “ในอนาคตส่วนตัวมองว่าจะเรียนต่อปริญญาโทและต่อยอดให้สำเร็จในระดับปริญญาเอก ทำงานในสายงานที่สนใจ พร้อมทั้งบริหารจัดการการเงินเพื่อดูแลชีวิตอย่างมีระบบ หลังจากสามารถเปิดบริษัทได้สำเร็จแล้ว ก็มีเป้าหมายร่วมกับกลุ่มเพื่อนอีก 5 คนในการก่อตั้งมูลนิธิของตัวเอง โดยมุ่งเน้นการจัดกิจกรรมและค่ายเพื่อตอบแทนสังคมทั้งนี้ ทางกลุ่มยังมีเป้าหมายในการทำธุรกิจเพื่อสังคม โดยมุ่งเน้นการพัฒนาพื้นที่ชุมชนอย่างยั่งยืน”

หมุนเกมส์เศรษฐกิจให้ไม่ตกเทรนด์แถมยังอยู่ได้อย่างยั่งยืน  

ปฏิเสธไม่ได้ว่าโลกปัจจุบันหมุนเร็วจนอาจจะทำบางประเทศน็อครอบและระบบเศรษฐกิจพัง อีกแง่หนึ่งคือประเทศที่อยู่รอดอาจเป็น หมุนช้าแต่ฐานรากมั่นคง มักยั่งยืนกว่า  การแข่งขันเพิ่มมูลค่าทาง GDP ของประเทศจึงไม่ใช่เพียงเรื่องของตัวเลข แต่ยังเป็นการสร้างความแข็งแกร่งจากภายใน ด้วยการนำศักยภาพในท้องถิ่นมาผสานเข้ากับความคิดสร้างสรรค์

หนึ่งในตัวอย่างที่ชัดเจนคือ โมเดล “เบิ่งแงงแก่งละว้า” ผลงานชิ้นโบว์แดงจากทีมน้องสำนักงาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่เป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชุมชนในตำบลบ้านเป้า อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ที่ช่วยผสานวัฒนธรรมพื้นบ้าน วิถีชีวิต และทรัพยากรในท้องถิ่นเข้าด้วยกัน เพื่อสร้างกิจกรรมอีกมากมายทางเศรษฐกิจ เช่น การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม การพัฒนาผลิตภัณฑ์ชุมชนที่สามารถเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจโดยตรงให้กับคนในพื้นที่ นอกจากนี้ยังช่วยดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วทุกสารทิศ สร้างรายได้หมุนเวียนและยกระดับ GDP ได้อย่างต่อเนื่อง

            การพัฒนาเศรษฐกิจเช่นนี้เปรียบเสมือนการหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความยั่งยืนลงบนแผ่นดินไทย รากฐานที่มั่นคงย่อมสร้างสมดุลระหว่างการเติบโตทางเศรษฐกิจและการรักษาเสน่ห์ของชุมชน หากท้องถิ่นได้ใช้ศักยภาพของตนอย่างเหมาะสม พูดได้เต็มอกเลยว่าเศรษฐกิจที่เติบโตจากรากเหง้าย่อมมั่นคง ราวกับต้นไม้ใหญ่ที่หยั่งรากลึก คอยโอบกอดคนในชุมชนอย่างอบอุ่นและงดงามเสมอ

 

บทความโดย

จิราพร  ประทุมชัย  , นางสาวชญานิน สุทธิโคตร นักศึกษาปฏิบัติสหกิจศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

 

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

Young Scout คือ โครงการบ่มเพาะ นิสิต นักศึกษาที่สนใจในธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อสนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยวของประเทศไทย โดยเปิดโอกาสให้ทีม นิสิตนักศึกษา ได้พัฒนาและนำเสนอกลยุทธ์ แผนธุรกิจ ที่สามารถยกระดับ การท่องเที่ยว ทั้งสถานที่ กิจกรรม บริการ สินค้าชุมชน โดยชูจุดเด่นของแต่ละพื้นที่ชุมชน ให้เป็นที่รู้จักในกลุ่ม นักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ เพื่อ ต่อยอดไปถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน และจังหวัดนั้น ๆ โดยในโครงการที่นักศึกษาได้เข้าร่วมในครั้งนี้ประกอบไปด้วย กิจกรรมการนำเสนอไอเดีย (pitching ideas) และการศึกษาดูงานที่คายัคนครปฐม โดยทีม “น้องสำนักงาน” ได้ส่งผลงานเข้าร่วมการแข่งขันในหัวข้อ “เบิ่งแงงแก่งละว้า” และได้ทำกิจกรรมเพิ่มเติมในวันแข่งขัน โดยทีม “น้องสำนักงาน” ได้รับรางวัล รองชนะเลิศอันดับ 1 จากผู้เข้าร่วมทั้งหมด 12 ทีม และรับมอบรางวัลจาก คุณกัณฑ์ณฐกรณ์  รัตนวีณาวาที Director Of Marketing PTG Energy

สมาชิกในทีม “น้องสำนักงาน” ประกอบไปด้วย:

  1. นายพีรภัทร กุรัมย์
  2. นางสาวเพรชลัดดา บุตรมหา
  3. นายปรินทร ศิริปะกะ
  4. นางสาวนิชาภัทร ชนะพล

ร่วมให้กำลังใจและสนับสนุนผลงานของทีม “น้องสำนักงาน” ได้ที่นี่เลย: https://bit.ly/YSPK_NongSamnakngan

บ้านหลังวัด Coffee  https://www.facebook.com/profile.php?id=100091790737649

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

 

Young Scout คือ โครงการบ่มเพาะ นิสิต นักศึกษาที่สนใจในธุรกิจท่องเที่ยว เพื่อสนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยวของประเทศไทย โดยเปิดโอกาสให้ทีม นิสิตนักศึกษา ได้พัฒนาและนำเสนอกลยุทธ์ แผนธุรกิจ ที่สามารถยกระดับ การท่องเที่ยว ทั้งสถานที่ กิจกรรม บริการ สินค้าชุมชน โดยชูจุดเด่นของแต่ละพื้นที่ชุมชน ให้เป็นที่รู้จักในกลุ่ม นักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศ เพื่อ ต่อยอดไปถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน และจังหวัดนั้น ๆ โดยในโครงการที่นักศึกษาได้เข้าร่วมในครั้งนี้ประกอบไปด้วย กิจกรรมการนำเสนอไอเดีย (pitching ideas) และการศึกษาดูงานที่คายัคนครปฐม โดยทีม “น้องสำนักงาน” ได้ส่งผลงานเข้าร่วมการแข่งขันในหัวข้อ “เบิ่งแงงแก่งละว้า” และได้ทำกิจกรรมเพิ่มเติมในวันแข่งขัน โดยทีม “น้องสำนักงาน” ได้รับรางวัล รองชนะเลิศอันดับ 1 จากผู้เข้าร่วมทั้งหมด 12 ทีม และรับมอบรางวัลจาก คุณกัณฑ์ณฐกรณ์  รัตนวีณาวาที Director Of Marketing PTG Energy

 

สมาชิกในทีม “น้องสำนักงาน” ประกอบไปด้วย:

  1. นายพีรภัทร กุรัมย์
  2. นางสาวเพรชลัดดา บุตรมหา
  3. นายปรินทร ศิริปะกะ
  4. นางสาวนิชาภัทร ชนะพล

ร่วมให้กำลังใจและสนับสนุนผลงานของทีม “น้องสำนักงาน” ได้ที่นี่เลย: https://bit.ly/YSPK_NongSamnakngan

Scroll to Top