ผนึกกำลัง 16 มหาวิทยาลัยเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้างความมั่นคงทางการเงิน Financial security เสริมความเข้มแข็ง ลดความเสี่ยงทางการเงินในอนาคต

เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2567 กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม มอบหมายให้ อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การสร้าง Roadmap เพื่อความมั่นคงทางการเงิน (Financial Security) จากศักยภาพของอุทยานวิทยาศาสตร์ (RSP Knowledge Sharing 2024) โดยได้รับเกียรติจาก นายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม กล่าวเปิดงาน และ ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้แทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม โดยมีผู้บริหาร กปว. คณะผู้บริหารและบุคลากรเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 4 แห่ง (Regional Science Park : RSP) และคณะผู้บริหารและบุคลากรเครือข่ายอุทยานวิทยาศาสตร์ 16 มหาวิทยาลัย (University Science Park : USP) เข้าร่วมกิจกรรม ระหว่างวันที่ 25 – 27 เมษายน 2567 ณ อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จ.ขอนแก่น)
     นายเอกพงศ์ มุสิกะเจริญ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรม
ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้แทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น
นอกจากนี้ ภายในงานมีกิจกรรม บรรยายภาพรวม E-San ยุคใหม่ โดย ดร.อภิรชัย วงษ์ศรีวรพล ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1 หลังจากนั้นมีกิจกรรมการเสวนาทิศทางอุทยานวิทยาศาสตร์ และการสร้าง Roadmap เพื่อความมั่นคงทางการเงิน (Financial Security) จากศักยภาพของอุทยานวิทยาศาสตร์ โดยมีผู้ร่วมเสวนา ได้แก่
1. ดร.วัฒนจักร พุ่มวิเศษ ผู้อำนวยการกลุ่มอุทยานวิทยาศาสตร์ กองส่งเสริมและประสานเพื่อประโยชน์ทางวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (กปว.) สำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (สป.อว.)
2. ผศ.ดร.ธัญญานุภาพ อานันทนะ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาคภาคเหนือ
3. ดร.อภิรชัย วงษ์ศรีวรพล ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1
4. ผศ.ดร.ปภากร พิทยชวาล ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2
5. ผศ.ดร.รัญชนา สินธวาลัย รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคใต้มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
ผู้ดำเนินการเสวนา รศ.ดร.ธีรวัฒน์ เหล่านภากุล รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
และกิจกรรม Workshop การระดมความคิดเห็นการสร้าง Roadmap การหารายได้จากบริการอุทยานวิทยาศาสตร์ โดยแบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่
– การสร้างรายได้จากบริการด้านโครงสร้างพื้นฐาน พื้นที่ ห้องปฏิบัติการ และโรงงานต้นแบบ
– การสร้างรายได้จากบริการด้านพัฒนาธุรกิจ
-การสร้างรายได้จากบริการด้านงานออกแบบ
– การสร้างรายได้จากบริการด้านการอบรมและพัฒนาองค์ความรู้
– การสร้างรายได้จากหน่วยงานภายนอก
   พร้อมนำเสนแผน Roadmap การหารายได้จากบริการทั้ง 5 บริการ ที่ได้วิเคราะห์และวางแผนการหารายได้จากบริการระยะ 1-5 ปี ในอนาคต หลังจากนั้นผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้เยี่ยมชมพื้นที่อาคารอำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (จ.ขอนแก่น) ได้แก่ พื้นที่ห้องปฏิบัติการ พื้นที่วิจัยและพัฒนาของภาคเอกชน ที่ให้บริการและสนับสนุนพื้นที่สำหรับสตาร์ทอัพ SMEs จนเกิดเป็นระบบนิเวศนวัตกรรม (Eco- System และห้องปฏิบัติการ The Next Food Center ที่บริการผู้ประกอบการ หรือภาคเอกชนด้านอาหารและแปรรูปสินค้าทางการเกษตร โดยมีบริการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร กำหนดคุณลักษณะที่ดีของอาหาร และวิเคราะห์ด้านอาหารต่างๆ และเชื่อมโยงบริการของโรงงานต้นแบบในการขยายกำลังการผลิตในระดับ Pilot Scale
ดร.อภิรชัย วงษ์ศรีวรพล ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1
การเสวนาทิศทางอุทยานวิทยาศาสตร์ และการสร้าง Roadmap เพื่อความมั่นคงทางการเงิน (Financial Security)จากศักยภาพของอุทยานวิทยาศาสตร์
     ทั้งนี้กิจกรรมในครั้งนี้จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนแนวความคิดพร้อมถอดบทเรียน และประสบการณ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการสร้างรายได้จากบริการของอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค รวมไปถึงเป็นการสร้างชุดข้อมูลที่น่าสนใจ และสามารถนำไปใช้พัฒนาการทำงานให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นได้พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสร้าง Roadmap หรือแนวทางในการหารายได้จากบริการอุทยานวิทยาศาสตร์ ซึ่งอุทยานวิทยาศาสตร์มีความพร้อมทั้งในด้านบุคลากร ห้องปฏิบัติการ อุปกรณ์และเครื่องมือวิจัยคุณภาพสูง รวมถึงโครงสร้างพื้นฐานในการให้บริการพื้นที่วิจัยและพัฒนา ห้องประชุมสัมมนา เพื่อให้บริการที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้ประกอบการและวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม การให้บริการที่สามารถสร้างรายได้ให้กับอุทยานวิทยาศาสตร์ถือได้ว่าเป็นการสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค อีกทั้งบุคคลากรสามารถวางแผนในการใช้จ่ายเพื่อดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ และรองรับความเสี่ยงทางการเงินที่อาจเกิดขึ้นได้ในอนาคต
ภาพกิจกรรมเพิ่มเติม >>>> Photo RSP knowledge sharing 2024 – Google ไดรฟ์
ภาพ : นภดล,ปภาดา
ข่าว : พรสุดา ลานอก
Scroll to Top