บูรณาการศาสตร์ ศิลป์ ความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัย โรงเรียน ชุมชน และหน่วยงานรัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมประเพณีวิถีถิ่นสู่การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างสร้างสรรค์ “Soft Power”
วันที่ 2-3 พฤศจิกายน 2566 สาขาวิชาการแสดง คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับผิดชอบจัดการแสดงประกอบแสง สี เสียง นำเสนอเรื่องราวความผูกพันระหว่างคนกับช้าง ประเพณี วิถีถิ่น และบุญกฐิน อัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมแห่งลุ่มน้ำชี-มูล อีสานตอนใต้ ณ หมู่บ้านช้างเลี้ยงที่ใหญ่ที่สุดในโลก อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
ในการจัดการแสดงครั้งนี้ได้บูรณาการความรู้และความร่วมมือกับศูนย์คชศึกษา โครงการโลกของช้างและโครงการคชอาณาจักร หมู่บ้านช้างจังหวัดสุรินทร์ อีกทั้งสาขาวิชานาฏศิลป์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ โรงเรียนช้างบุญวิทยา ชุมชนในพื้นที่อำเภอท่าตูม นักแสดงร่วม 300 ชีวิต โดยอำนวยการสร้างการแสดงโดยคุณผกามาศ เจริญพันธ์ (โฆษกคณะกรรมาธิการการท่องเที่ยว และโฆษกคณะกรรมาธิการกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ กลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ) การจัดการแสดงในครั้งนี้นอกจากทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม ยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว “Soft Power” จากทุนทางวัฒนธรรมของชุมชน (ขอบคุณภาพจากทุกสื่อ)