สาขาวิชาทันตกรรมบูรณะ คณะทันตแพทยศาสตร์ ร่วมกับหน่วยการศึกษาต่อเนื่อง คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “Minimally invasive endodontics” เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2566 โดยมีทันตแพทย์และคณาจารย์ ให้ความสนใจเข้าร่วมกว่า 50 คน จัดขึ้น ณ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
โดยการอบรมในครั้งนี้ มุ่งเน้นให้เกิดการเพิ่มพูนความรู้และนวัตกรรมใหม่ๆ ทางด้านวิทยาเอ็นโดดอนต์ในการรักษาคลองรากฟัน รวมถึงเคล็ดลับในการรักษาคลองรากฟันกรามแบบรุกล้ำน้อยจากคณาจารย์สาขาวิทยาเอ็นโดดอนต์เพื่อนำไปใช้ในการรักษาคลองรากฟันต่อไป พร้อมกับการฝึกปฏิบัติโดยใช้นวัตกรรมเครื่องมือที่ทันสมัยอีกด้วย โดยการอบรมในครั้งนี้มีวิทยากรเชี่ยวชาญเฉพาะด้านวิทยาเอ็นโดดอนต์กว่า 10 ท่าน ในส่วนภาคการบรรยาย ได้แก่ ผศ.ทพ.ภาณุพงษ์ จิรเดโชชัย รศ.ดร.ทพญอังนา ใจแน่น ผศ.ทพญ.ปิ่นพนา ทวีสิทธิ์ และการฝึกภาคปฏิบัติ Minimally invasive root canal preparation with NiTi rotary file 2 ระบบ ได้แก่ ศ.ดร.ทพญ.ปัทมา นาถะภักติ ผศ.ทพญ.กรกมล สุขจิตร ผศ.ทพญ.อาภาภรณ์ ภาษาสุข ผศ.ทพ.เถลิงศักดิ์ สมัครสมาน ผศ.ดร.ทพ.สุชาติ วงศ์ขันตี รศ.ดร.ทพญ.อังสนา ใจแน่น ผศ.ทพ.พีรพงศ์ กุประดิษฐ์ ผศ.ดร.ทพญ.อุทัยวรรณ อารยะตระกูลลิขิต ผศ.ทพ.ภาณุพงษ์ จิรเดโชชัย ผศ.ทพญ.ปุณยาพร ธัญญะคุปต์ ผศ.ดร.ทพญ.จันทร์ธิดา ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม ผศ.ทพญ.กุลวรา ธาริยะ และผศ.ทพญ.ปิ่นพนา ทวีสิทธิ์
ผศ.ดร.ทพญ.จันทร์ธิดา ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม รองคณบดีฝ่ายวิจัย บัณฑิตศึกษา และวิเทศสัมพันธ์ ประธานในพิธีกล่าวว่า “ในช่วงเวลาที่ผ่านมา คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้มีการพัฒนาขึ้นมาเป็นลำดับ ทั้งในด้านสถานที่ บุคลากร วิชาการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางด้านการบริการวิชาการแก่สังคม คณะทันตแพทยศาสตร์มีนโยบายที่จะเป็นแหล่งบริการวิชาการให้แก่ทันตแพทย์ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการจัดให้มีการอบรมระยะสั้นของสาขาวิชาต่างๆ ขึ้นมาเสมอ ในครั้งนี้ สาขาวิชาทันตกรรมบูรณะ และหน่วยการศึกษาต่อเนื่อง ได้กำหนดจัดโครงการอบรมและฝึกปฏิบัติการในครั้งนี้ขึ้น เพื่อให้ผู้เข้าร่วมได้เพิ่มพูนความรู้ทั้งนวัตกรรมใหม่ๆ ทางด้านวิทยาเอ็นโดดอนต์ในการรักษาคลองรากฟันกราม และได้รับข้อแนะนำ เทคนิค เคล็ดลับในการรักษาคลองรากฟันกรามแบบรุกล้ำน้อย จากวิทยากรที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางจนสามารถปรับแก้ไข และพัฒนาในสายวิชาชีพของตนต่อไปในอนาคต”
สำหรับการจัดอบรมในครั้งนี้ นอกจากเป็นการเพิ่มพูนความรู้แล้วยังเหมือนการเปิดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในสายวิชาชีพทันตแพทย์ให้ต่อยอดการพัฒนาด้านวิทยาการทันตแพทย์ด้านวิทยาเอ็นโดดอนต์ต่อไปในอนาคต