สำนักบริการวิชาการ เฟ้นหา The Best ทีมในระดับนักศึกษาเพื่อเป็นตัวแทนสถาบันการศึกษาเข้าร่วมประกวดผลงานออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่นปี 2565
สำนักบริการวิชาการ และ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ ธนาคารออมสิน จัดกิจกรรมการนำเสนอผลสัมฤทธิ์ โครงการเสริมสร้างและพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น ประจำปี 2565 ออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่น “ยกกำลัง2” ในวันพุธที่ 19 ตุลาคม 2565 ณ ห้องประชุมดุสิตา ชั้น 5 อาคารพิมล กลกิจ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในรูปแบบ Onsite และ รูปแบบ Online ผ่านระบบ Zoom
รองศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.ชูชาติ กมลเลิศ ผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ กล่าวถึงการดำเนินงานร่วมกับธนาคารออมสิน เข้าสู่ปีที่ 5 เป็นสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน นำเอาองค์ความรู้ที่มีไปถ่ายทอดให้กับชุมชน ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การบริการ การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวของชุมชน การทำบัญชีร่ายรับรายจ่าย การส่งเสริมการตลาดออนไลน์ การเพิ่มช่องทางจากจัดทำหน่าย เพื่อเสริมสร้างรายได้ แก้ไขปัญหาความยากจน สอดคล้องกับเป้าหมายที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ SDGs ที่ 1: ขจัดความยากจนทกุรูปแบบในทุกพื้นที่ (End poverty in all its forms everywhere) โดยมีนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ลงพื้นที่ร่วมกับผู้ประกอบการ กลุ่มวิสาหกิจ ในชุมชน เพื่อเป็นการสร้างประสบการณ์ตรง ให้กับนักศึกษา ทั้งการวางแผน การปฏิบัติงาน ประเมินผล การแก้ไขปัญหา และ อุปสรรคต่างๆที่เกิดขึ้น และเปิดเวทีให้นิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการได้นำเสนอผลสัมฤทธิ์ที่ได้จากการทำงาน นอกเหนือจากการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับชุมชน สำนักบริการวิชาการก็คาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าผู้ประกอบการ / วิสาหกิจชุมชน จะสามารถต่อยอดไปสู่ความยั่งยืนได้
คณะกรรมการพิจารณา การนำเสนอผลสัมฤทธิ์ในครั้งนี้ ประกอบด้วยตัวแทนจาก ทั้ง 2 หน่วยงาน ประกอบด้วย รศ.ดร.ศุภสิทธิ์ คนใหญ่ รองผู้อำนวยการฝ่ายบริการวิชาการ สำนักบริการวิชาการ ดร.จิณนพัษ ปทุมพร อาจารย์ที่ปรึกษา คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เมษ์ธาวิน พลโยธี อาจารย์ที่ปรึกษา คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี ,ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุกานดา นาคะปักษิณ อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์พิเศษ และ คุณบุญธรรมา รักษาเคน ผู้ช่วยผู้จัดการธนาคารออมสินสาขาหนองเรือ เขตขอนแก่น และ คุณณัชพร พัฒนเพ็ญ ผู้ช่วยผู้อำนวยการเขตขอนแก่น จาก ธนาคารออมสิน โดยมีทีมนักศึกษาเข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้นจำนวน 5 ทีม และทีมที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ The Best 2022 ได้แก่ “ทีมตัวตึงการตลาด” ร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจชุมชน พัฒนาและสร้างผลิตภัณฑ์จากคั่วเนื้อคั่วปลา “อรรถรส” ผลิตภัณฑ์อาหารเชิงวัฒนธรรม จากตำบลวังสวาบ อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น และ ทีม “Twenty-four Seven” ผลิตภัณฑ์ “ชาไหมข้าวโพด หทัยทิพย์ “ ร่วมกับ กลุ่มวิสาหกิจเกษตรนวัตวิถีก้าวหน้า บ้านผาน้ำทิพย์ ต.ห้วยม่วง อ.ภูผาม่าน จ.ขอนแก่น โดยทั้ง 2 ทีม จะเป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้าร่วมประกวด “การประกวดผลงานโครงการออมสินยุวพัฒน์รักษ์ถิ่นปี 2565 รางวัล Best of the Best สำหรับทีมนักศึกษา” โดยมีสถาบันการศึกษาเข้ากว่า 65 สถาบัน
นายธนาทร ปินะพัง นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี
นายธนาทร ปินะพัง นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี สาขา การตลาด และเป็นหนึ่งในสมาชิกชมรม NEXT Gen Business Club จาก “ทีมตัวตึงการตลาด” ได้เล่าถึงการทำงานในครั้งนี้ รู้สึกดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนา product ของชุมชน มีการทำงานเป็นทีมร่วมกับกลุ่มวิสาหกิจ จนทำให้เค้าสามารถสร้างรายได้ มีธุรกิจที่สามารถต่อยอดได้อีก ดึงเอาเอกลักษณ์ วัฒนธรรมของท้องถิ่นขึ้นมาสร้างเป็นผลิตภัณฑ์ นั่นก็คือ เมี่ยงคั่วเนื้อ คั่วปลา ทีมของเราได้ฟื้นฟูภูมิปัญญาท้องถิ่น ยกระดับอัตลักษณ์อาหารถิ่น สร้างความเข้มแข็งให้กับกลุ่มเพื่อร่วมกันขับเคลื่อน สร้างแบรน อรรถรส ปรับปรุงแพคเกจ เพื่อให้เกิดความน่าเชื่อถือ ทำการตลาดโดยเพิ่มช่องทางการขาย แบบออนไลน์ ผ่านทาง Facebook : อรรถรส-ถึงเครื่องเต็มคำ และ Line official : @Atttaroteshop รวมถึง นำไปทดลองขายยังแหล่งท่องเที่ยวในอำเภอภูผาม่าน และ ตลาดนัดเปิดท้ายของ มข. ซึ่งได้ผลตอบรับเป็นอย่างดีอีกด้วย
รายชื่อทีม การตลาดตัวตึง สร้างผลิตภัณฑ์จากคั่วเนื้อคั่วปลา “อรรถรส”
- นายสหรัถ วรรณะ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี สาขาการตลาด
- นางสาวธิดารัตน์ บุญสวา นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี สาขาการประกอบการพาณิชย์ และ นวัตกรรม
- นางสาวนิธิดา เขพันดุง นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะ บริหารธุรกิจและการบัญชี สาขาการตลาด
- นายพงษ์เจริญ ดอกแขมกลาง นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี สาขา การตลาด
- นางสาวอารียา อกอุ่น นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี สาขาการตลาดตัวตึงการตลาด
- นายจตุพล นนทะคำจันทร์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี สาขาการประกอบการพาณิชย์ และ นวัตกรรม
- นายสกุลชัย ตันตระบัณฑิตย์ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี สาขา การตลาด
- นายพชร ธิติประเสริฐ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี สาขาการประกอบการพาณิชย์ และ นวัตกรรม
- นายธนาทร ปินะพัง นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะ บริหารธุรกิจและการบัญชี สาขาการตลาด
- นายณัฐดนัย บุญก้อน นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะ บริหารธุรกิจและการบัญชี สาขการตลาด
- นางสาวเนตรนารี ศรีสมยา นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะ คณะศึกษาศาสตร์ สาขาคณิตศาสตร์
- นายทินภัทน ภูนาเหนือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี สาขาการประกอบการพาณิชย์ และ นวัตกรรม
- นายอัจฉริยาวุธ พิมพ์ปัด นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะ คณะศึกษาศาสตร์ สาขาคณิตศาสตร์ สาขาสังคมศึกษา
รายชื่อทีม ทีม “Twenty-four Seven” ผลิตภัณฑ์ “ชาไหมข้าวโพด หทัยทิพย์ “
- นางสาวอนนทพร แก้วใส นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี สาขาการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
- นางสาวธัญรัตน์ เฉลยพจน์ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี สาขาการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
- นางสาวนทชาว์ สีกุดหล้า นักศึกษาชั้นปีที่ 2คณะ บริหารธุรกิจและการบัญชี สาขาการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
- นางสาววีนัส ศิริลิมประพันธ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี สาขา การจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
- นางสาวกชกร บุตรวงศ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะ บริหารธุรกิจและการบัญชี สาขา การจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
- นางสาวอนนทพร แก้วใส นักศึกษาชั้นปีที่ 4 คณะ บริหารธุรกิจและการบัญชี สาขา การจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
- นางสาววรกมล เชื้อสายดวง นักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะ บริหารธุรกิจและการบัญชี สาขา การจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
- นางสาวสุเมธินี โล่ห์สุวรรณ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี สาขา การจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
- นางสาวณภัทธสร อัมพรัตน์ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชีสาขา การจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
- นางสาวนันท์นภัส กุศล นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี สาขา การจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว