มข. จัดประชุม APEC-KKU 2022 “Online Workshops for Lesson Study 2.0 เพื่อเป็นเวทีสำหรับผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และนักวิชาการ จากสมาชิกในกลุ่มเอเปค (APEC Economies)

มข. สนับสนุนโดย สป.อว. จัดประชุม APEC-KKU 2022 “Online Workshops for Lesson Study 2.0 : Artificial Intelligence (AI) and Data Science for Education in APEC Economies เพื่อเป็นเวทีสำหรับผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และนักวิชาการ จากสมาชิกในกลุ่มเอเปค (APEC Economies) ในการแลกเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับความสำเร็จของการนำใช้การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) 

APEC-KKU 2022 "Online Workshops for Lesson Study 2.0: Artificial Intelligence (AI) and Data Science for Education in APEC Economies
                                 APEC-KKU 2022 “Online Workshops for Lesson Study 2.0: Artificial Intelligence (AI) and Data Science for Education in APEC Economies

     เมื่อวันอังคารที่ 18 ตุลาคม 2565 เวลา 18.00-21.00 น. (ตามเวลาประเทศไทย)  มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย ฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ ร่วมกับ ฝ่ายการต่างประเทศ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา และ มหาวิทยาลัยทสึคุบะ ประเทศญี่ปุ่น ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานปลัดกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม จัดการประชุม APEC-KKU 2022 “Online Workshops for Lesson Study 2.0: Artificial Intelligence (AI) and Data Science for Education in APEC Economies” ผ่านทางระบบออนไลน์

 

 

รองศาสตราจารย์ นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้เกียรติกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม APEC-KKU 2022
รองศาสตราจารย์ นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้เกียรติกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม APEC-KKU 2022

   

Dr. Wang Yan, APEC HRDWG Education Network Coordinator กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม
Dr. Wang Yan, APEC HRDWG Education Network Coordinator กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม

 โดยได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น และ  Dr. Wang Yan, APEC HRDWG Education Network Coordinator กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการประชุม APEC-KKU 2022  ดร. ลักษมณ สมานสินธุ์ รักษาการผู้อำนวยการกองวิเทศสัมพันธ์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวเปิดการประชุม รองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการและรักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันฯ กล่าวรายงาน 

 

 

ดร. ลักษมณ สมานสินธุ์ รักษาการผู้อำนวยการกองวิเทศสัมพันธ์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวเปิดการประชุม
ดร. ลักษมณ สมานสินธุ์ รักษาการผู้อำนวยการกองวิเทศสัมพันธ์ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม กล่าวเปิดการประชุม

 

รองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการและรักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันฯ กล่าวรายงาน 
รองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการและรักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันฯ กล่าวรายงาน

     การจัดประชุมที่ประเทศไทยปีนี้ จัดภายใต้สถานการณ์ COVID-19 เน้นการประชุมสัมมนาเพื่อเป็นเวทีสำหรับผู้เชี่ยวชาญ นักวิจัย และนักวิชาการ จากสมาชิกในกลุ่มเอเปค (APEC Economies) ในการแลกเปลี่ยนแนวคิดเกี่ยวกับความสำเร็จของการนำใช้การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) ที่ผ่านมา รวมทั้งหารือเกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนแนวทาง AI และ Data Science ที่เป็นไปได้ อีกทั้งยังเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากการบรรยายพิเศษโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญจากทั่วโลกเกี่ยวกับการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน และการนำใช้การศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของ AI และวิทยาศาสตร์ข้อมูล

     การประชุมในปีนี้ มีตัวแทนจาก economies ต่าง ๆ ให้การบรรยาย ประกอบด้วย

– “Project Linkages” โดย Prof. Dr.Masami ISODA, Director of CRICED, University of Tsukuba, Japan โดยได้กล่าวถึงความร่วมมือของเครือข่ายและความสำเร็จของ APEC Lesson Study Project ตั้งแต่ ค.ศ. 2006-2018 และกล่าวถึง Lesson Study 2.0 มี 3 สาระสำคัญ ดังนี้

1) Developing innovative methods of analysis as for sciences of lesson study by using AI and Data Science approaches: what approaches and why?

2) Developing innovative teaching approaches by using newest educational environment/system/software which embedded AI: what environments?

3) Developing innovative environments for extending and adapting the current product, theme or objective of lesson study: How can we embed?

ซึ่งจะถูกพูดถึงการพัฒนาโดย Keynotes ทั้ง 3 ท่าน ดังนี้
– “Blended Learning Classroom (BLC) Model: Integrating Lesson Study and Open Approach Innovations for the New Normal” โดย Assoc. Prof. Dr. Maitree Inprasitha, Khon Kaen University, Thailand
“กล่าวถึงการจัดการเรียนการสอนโดยใช้โมเดลการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสาน (Blended Learning Classroom Model) โดยบูรณาการเข้ากับการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดในยุคชีวิตวิถีใหม่ ซึ่งมีการนำใช้ที่โรงเรียนในประเทศไทยในหลายโรงเรียน ซึ่งกุญแจสำคัญของการนำไปบูรณาการยังคงเป็นการให้นักเรียนได้ลงมือแก้ปัญหาและเรียนรู้ด้วยตนเอง”

– “Lesson Study on the experience of SEAMEO” โดย Ms. Teh Kim Hong, The Association for Science and Mathematics Education Penang (ASMEP), Malaysia

“กล่าวถึงความร่วมมือในการพัฒนา โดยความร่วมมือจากเครือข่ายที่มีมาอย่างยาวนานและประสบการณ์การทำการศึกษาชั้นเรียนในประเทศมาเลเซีย ตั้งแต่ปี ค.ศ.2004 โดยสร้างความตระหนักในกลุ่มผู้เชี่ยวชาญในการทำการปรับปรุงเนื้อหาของการฝึกอบรมวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์”

  • Lesson Study through the Internetโดย Wahyudi, SEAMOLEC, Indonesia

กล่าวถึงก่อนช่วงโควิดที่การวิจัยและชั้นเรียน สามารถดำเนินการได้อย่างปกติ แต่เมื่อเกิดโควิดได้มีการทำ online course เพื่อให้สามารถฝึกฝนการทำงานวางแผนและสะท้อนผลร่วมกันได้ ผ่านโปรแกรมต่างๆ เช่น Microsoft Team Google meet ทำให้สะดวกต่อการบันทึกผลและนำไปใช้ต่อ”

อีกทั้งมีการพูดคุยถึงความสำเร็จของโครงการการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study Project) ที่ผ่านมาในกลุ่มเศรษฐกิจเอเปค และหารือถึงการปรับตัวที่เป็นไปได้ตามทิศทางของโลกในปัจจุบัน เช่น AI และ Data Science จากผู้เชี่ยวชาญจาก economies ต่าง ๆ

– “How to to boost students written mathematical argumentation?” โดย Prof. Roberto Araya, Universidad de Chile ได้แชร์เกี่ยวกับการทำการวิจัยเกี่ยวกับการเขียนตอบโดยเป็นลักษณะคำถามปลายเปิดจากจำนวนทั้งหมด 16,618 ฉบับจากนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จาก 464 โรงเรียน

– “The challenge of Developing students’ statistical reasoning in times of data science: Chilean experiences in Early Statistics” โดย Prof. Raimundo Olfos, Prof. Soledad Estrella, Universidad Católica de Valparaíso, Chile ได้แชร์การจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับ data science ในประเทศชิลี พร้อมยกตัวอย่างงานภาคปฏิบัติที่มีการพัฒนา Statistical reasoning ของนักเรียน

– “Russian Federal Educational Standard 2021 The Exemplary Curriculum in Mathematic grades 7-9th Probability and Statistics” โดย Prof. Ivan Vysotsky, Moscow Center for Continuous Math Education Probability Theory Laboratory, Russian ได้แชร์เกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรคณิตศาสตร์เรื่องความน่าจะเป็นและสถิติในระดับชั้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3

  • “Artificial Intelligence (AI) and Data Science in Education” โดย Toh Tin Lam, National Institute of Education, Nanyang Technological University, Singapore ได้นำเสนอเกี่ยวกับ Computational Thinking ในระบบคุรุศึกษา ด้านคณิตศาสตรศึกษา ในประเทศสิงคโปร์
  • “AI for Education: Korean report for Lesson Study 2.0” โดย Hee-chan Lew, Korea National University of Education, South Korea ได้แชร์เกี่ยวกับ Lesson Study สำหรับ AI รวมถึงหนังสือเรียนคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่เกี่ยวกับ AI basic และ AI Mathematics ที่จะถูกใช้ในปี 2022 ซึ่งถูกใช้แล้วในบางโรงเรียนสำหรับนักเรียนที่ต้องการเลือกเรียนรายวิชานี้
  • “Artificial Intelligence (AI) and Data Science in Education in Vietnam” Prof. Nguyen Chi Thanh, Vietnam National University, Vietnam ได้สะท้อนถึงสถานการณ์ปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับ Artificial Intelligence (AI) และ Data Science ในประเทศเวียดนาม และเสนอแนะถึงความร่วมมือในอนาคตกับกลุ่มประเทศเศรษฐกิจเอเปค

     การประชุม APEC-KKU 2022 ในปีนี้ ได้เปิดให้บุคคลทั่วไปลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม โดยมีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทางออนไลน์จาก 16 economies และจาก 4 non APEC member economies รวมจำนวนกว่า 200 คน

 

ข้อมูล/ข่าว :  พีรนุช  เอี่ยมทอง สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มข.

เรียบเรียง  : เบญจมาภรณ์  มามุข

KKU holds the APEC-KKU 2022, “Online Workshops for Lesson Study 2.0” a stage for experts, researchers, and academic from the APEC Economies

https://www.kku.ac.th/15342

 

Scroll to Top