การสรุปผลการดำเนินงานวิจัยและประเมินผลพฤติกรรมเด็กและเยาวชนไทยที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริต และการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการใช้หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ในรูปแบบการประชุมทางไกล Video Conference (ระบบ ZOOM webinar แปล 2 ภาษา)

โครงการประเมินพฤติกรรมเด็กและเยาวชนไทยที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริต และประเมินผลสัมฤทธิ์การนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ ในปีการศึกษา 2563 โดย มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับสำนักงาน ป.ป.ช. จัด “การประชุมสรุปผลการดำเนินงานวิจัยและประเมินผลพฤติกรรมเด็กและเยาวชนไทยที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริต และประเมินผลสัมฤทธิ์ในการใช้หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ต่อสำนักงาน ป.ป.ช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง” เพื่อนำเสนอต่อสาธารณชนทั่วไปได้รับรู้ ทิศทางในการขับเคลื่อนสังคมไทยสู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต เป็นอย่างไร บทเรียนในการปลูกฝัง Integrity จากองค์กรระหว่างประเทศ และในประเทศ ในการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหลักสูตรการอุดมศึกษา นวัตกรรมการประเมินพฤติกรรมเด็กและเยาวชนไทยด้วย Collaborative Assessment & Management Digital Platform ที่ชื่อว่า TYintegrity

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้มอบหมายให้มหาวิทยาลัยขอนแก่น ดำเนินโครงการประเมินพฤติกรรมเด็กและเยาวชนไทยที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริต และประเมินผลสัมฤทธิ์การนำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ ในปีการศึกษา 2563 โดยมีเป้าหมายสำคัญในการสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริตให้เกิดขึ้นในสังคมไทย และตามแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ (พ.ศ.2561-2580) และมุ่งเน้นการปรับฐานคิดของเด็กและเยาวชน ตลอดจนส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาระบบหรือกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคม ผ่านการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงเป็นฐานคิดในการต้านทุจริต รวมถึงส่งเสริมการ มีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนอย่างบูรณาการ

โดยในวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 ทางโครงการฯ ได้จัดการประชุมสรุปผลการดำเนินงานวิจัยและประเมินผลพฤติกรรมเด็กและเยาวชนไทยที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริต และประเมินผลสัมฤทธิ์ในการใช้หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา “Research Finding & Conclusion Meeting on Thai Children and Youth Honesty/Integrity Assessment and an Evaluation of the Implementation of the NACC’s Anti-Corruption Education Program” ต่อสำนักงาน ป.ป.ช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในเวลา 8.30-12.00น. ขึ้นในรูปแบบการประชุมทางไกล Video Conference ด้วยระบบ ZOOM webinar แปล 2 ภาษา พร้อมเชิญผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา เข้าร่วมการประชุมนำเสนอบทเรียน และการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาดังกล่าวด้วย

สำหรับการประชุมวิชาการ และนำเสนอผลงานวิจัยเพื่อตอบโจทย์แผนแม่บท ภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็นที่ 21 การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ (2561-2580) นี้ ได้กำหนดให้ “การประเมินพฤติกรรมเด็กและเยาวชนไทยที่ยึดมั่นความซื้อสัตย์สุจริต” เป็นตัวชี้วัดสำคัญในการขับเคลื่อนการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ และกำหนดค่าเป้าหมายตัวชี้วัดนี้ ในปี 2563 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 46 โดย สำนักงาน ป.ป.ช. ได้คัดเลือกทีมมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ นำคณะนักวิจัยจากหลายศาสตร์ อันประกอบด้วย อ.ดร.ฌาน เรืองธรรมสิงห์ อ. สุรเดช ทวีแสงสกุลไทย ผศ.ดร.จัตุภูมิ เขตจัตุรัส ผศ.ดร.วชิราวุธ ธรรมวิเศษ ผศ.ดร.พัชรินทร์ พูนทวี รศ.ดร.ปุ่น เที่ยงบูรณธรรม อ.ณรงค์เดช มหาศิริกุล นางสุภาวดี แก้วคำแสน นางสาวภาภรณ์ เรืองวิชา และนายภัทรพล ขวัญสุด ร่วมตอบโจทย์ดังกล่าว ซึ่งเริ่มงานตั้งแต่วันที่ 20 กันยายน 2563 ส่งมอบและตรวจรับงานเมื่อเดือนตุลาคม 2564

โดยวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 เป็นการจัดประชุมวิชาการ ในรูปแบบการประชุมทางไกล Video Conference (ระบบ ZOOM webinar แปล 2 ภาษา) เพื่อนำเสนอต่อสาธารณชนทั่วไปได้รับรู้ว่า ทิศทางในการขับเคลื่อนสังคมไทยสู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต เป็นอย่างไร บทเรียนในการปลูกฝัง Integrity ทั้งจากองค์กรระหว่างประเทศ เช่น UNDP , Friedrich Naumann Foundation และบทเรียนของประเทศญี่ปุ่น ในการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหลักสูตรการอุดมศึกษา นวัตกรรมการประเมินพฤติกรรมเด็กและเยาวชนไทยด้วย Collaborative Assessment & Management Digital Platform ที่ชื่อว่า TYintegrity ต่อด้วย กิจกรรมก้าวต่อไปของหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ในการจัดประชุมดังกล่าว ได้รับเกียรติจาก ประธานกรรมการ ป.ป.ช. พลตำรวจเอกวัชรพล ประสารราชกิจ ที่ปรึกษาประธานกรรมการ ป.ป.ช. รศ.ดร.มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ช.ช. นายอุทิศ บัวศรี ผู้อำนวยการสำนักต้านทุจริตศึกษา นางสวรรยา รัตนราช รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล

พิธีเปิด ได้รับเกียรติจาก ผู้อำนวยการสำนักต้านทุจริตศึกษา นางสวรรยา รัตนราช กล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมประชุม รองเลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช. นายอุทิศ บัวศรี กล่าวรายงาน และ ประธานกรรมการ ป.ป.ช. พลตำรวจเอก วัชรพล ประสารราชกิจ ให้เกียรติเป็นประธานกล่าวเปิดในพิธีการประชุมสรุปผลการดำเนินงานวิจัยและประเมินผลพฤติกรรมเด็กและเยาวชนไทยที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริต และประเมินผลสัมฤทธิ์ในการใช้หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา  อันมีใจความพอสังเขปดังนี้ “ผมยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้รับเกียรติเป็นประธานในการจัดการประชุมสรุปผลการดำเนินงานวิจัย และประเมินผลพฤติกรรมเด็กและเยาวชนไทยที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริต และประเมินผลสัมฤทธิ์ในการใช้หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา โดยโครงการนี้ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการปรับ และหล่อหลอมเด็กและเยาวชนไทยให้มีจิตสำนึกในการป้องกันการทุจริต ตั้งแต่ระดับปฐมวัยจนถึงระดับอุดมศึกษา ผ่านการสร้างวัฒนธรรมและการใช้แนวคิดทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียง โดยมุ่งหวังให้พลเมืองมีจิตพอเพียง ผ่านการนำเอาหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ในการเรียนการสอน ขอให้การประชุมครั้งนี้ สำเร็จลุล่วงตามที่ประสงค์”

ในลำดับต่อมาได้มีการปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา การปรับฐานคิดเด็กและเยาวชน เพื่อสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต หมุดหมายใหม่ของประเทศไทย” โดย ประธานกรรมการ ป.ป.ช. พลตำรวจเอกวัชรพล ประสารราชกิจ อันมีใจความพอสังเขปดังนี้  “ตามยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ. 2560 – พ.ศ. 2564 ในประเด็นสร้างสังคมไม่ทนต่อการทุจริต และแผนแม่บทประเด็นที่ 21 ภาครัฐโปร่งใสป้องกันการทุจริต จึงมีการขับเคลื่อนให้เกิดการสร้างจิตสำนึก และการยึดมั่นความสุจริต โดยได้พัฒนาหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา 5 หลักสูตร หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน หลักสูตรอุดมศึกษา หลักสูตรกลุ่มทหารตำรวจ หลักสูตรวิทยากร ป.ป.ช. / บุคลากรภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ และหลักสูตรโค้ช ไปใช้ในการศึกษาและอบรมโดยมีเนื้อหา 4 ชุดวิชา ประกอบด้วย 1) การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม 2) ความอายและความไม่ทันต่อการทุจริต 3) STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต 4) พลเมืองและความรับผิดชอบต่อสังคม ทางคณะรัฐมนตรีได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในเรื่องนี้ โดยที่ผ่านมาประเทศไทยได้นำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ในสถานศึกษาระดับประถมศึกษา ถึงระดับมัธยมศึกษาแล้ว ร้อยละ 94.87 จากสถานศึกษาทั้งหมด ในระดับอุดมศึกษาร้อยละ 70.91 จากสถานศึกษาทั้งหมด มีการออกแบบหลักสูตรให้ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วม ในการต่อต้านการทุจริต ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า สิ่งที่กำลังกระทำอยู่นั้นจะเป็นสิ่งที่สำคัญในการช่วยขจัดปัญหาการทุจริตให้หมดไปจากสังคมไทย”

และได้รับเกียรติจาก อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล กล่าวแสดงความขอบคุณ อันมีใจความพอสังเขปดังนี้  “โครงการวิจัยประเมินผลพฤติกรรมเด็กและเยาวชนไทยที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริตและการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการใช้หลักสูตรต้านทุจริตศึกษาได้เสร็จสิ้นลงแล้ว จึงได้มีการจัดประชุมสรุปผลการดำเนินงานวิจัยและประเมินผลพฤติกรรมเด็กและเยาวชนไทยที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริต และประเมินผลสัมฤทธิ์ในการใช้หลักสูตรต้านทุจริตศึกษาขึ้น ขอขอบคุณ สำนักงาน ปปช. ที่ได้ให้ความไว้วางใจกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนเพื่อเปลี่ยนผ่านสังคมไทยไปสู่สังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต ขอขอบพระคุณ บุคลากรสำนักงานคณะกรรมการ ปปช. ผู้บริหารและบุคลกรของหน่วยงานทางการศึกษา และผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ทุกท่าน โดยผลที่ได้จะเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเปลี่ยนผ่านประเทศไทยให้ไปสู่ความสุจริตได้ เหมือนดังปณิธานมหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยเพื่อสังคม” 

ในลำดับถัดมา คือเวทีสนทนา ในหัวข้อ “นวัตกรรมการประเมินพฤติกรรมเด็กและเยาวชนไทย ด้วย Collaborative Assessment & Management Platform ระบบTY-integrity” โดยคณะผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย รศ.ดร.ศุภวัฒนากร วงศ์ธนวสุ ได้กล่าวถึงกรอบการประเมิน (Assessment and Evaluation Framework) อันมีใจความพอสังเขปดังนี้  “เพื่อตอบโจทย์ 5 เป้าประสงค์ในประเด็นที่ 21 ของแผนแม่บท เราจึงมีการดำเนินวิจัยประเมินผลพฤติกรรมเด็กและเยาวชนไทยที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริตและการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการใช้หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา โดยเนื้อหาที่จะนำเสนอ คือกรอบการประเมินผลสัมฤทธิ์เป็นอย่างไร ผลการประเมินเป็นอย่างไร และใช้นวัตกรรมใดในการประเมิน โดยประเด็นแร กคือ นวัตกรรมการเปลี่ยนแปลงกรอบความคิด ประเด็นที่สอ งคือการเครื่องวิจัยแบบผสมผสาน ทั้งเครื่องมือเชิงปริมาน และเชิงคุณภาพ ที่เก็บข้อมูลครอบคลุมทั้ง 76 จังหวัด รวมทั้งกรุงเทพมหานคร และประเด็นที่สาม คือการออกแบบ Digital Platform เพื่อรองรับขนาดของกลุ่มเป้าหมาย และรองรับ Digital Disruption โดยระบบ TY integrity นอกจากจะเป็นระบบในการสร้างความรู้ ประเมินผลสัมฤทธิ์ และยังสามารถติดตามความก้าวหน้าของการประเมินทั้งในระดับปัจเจกและมหาภาค”

ด้าน อ.ดร.ฌาน เรืองธรรมสิงห์ นักวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวต่อว่า “integrity คือ การกล่อมเกลาทั้งทางจิตวิทยา สังคม ความเชื่อ ค่านิยม โดยผ่านครอบครัว เพื่อน ศาสนา และปัจจุบันยังมีสื่อโซเซียลเพิ่มเข้ามา โดยการประเมินผลพฤติกรรมเด็กและเยาวชนไทยที่ยึดมั่นความซื่อสัตย์สุจริตและการประเมินผลสัมฤทธิ์ในการใช้หลักสูตรต้านทุจริตศึกษาครั้งนี้มีกรอบความคิดในการสร้างเครื่องมือ ประกอบด้วย 1) การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม 2) ความอายและความไม่ทันต่อการทุจริต 3) STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต 4) พลเมืองและความรับผิดชอบต่อสังคม และการจะพิจารณาว่าเด็กและเยาวชนมีความยึดมั่นในความสุจริตนั้น จะต้องดูปัจจัยครอบครัว การศึกษา และสังคมเป็นองค์ประกอบ”

ผศ.ดร.จตุภูมิ เขตจัตุรัส นักวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น “เพื่อให้ผลการประเมินมีความแม่นยำ เราจึงให้นิยามองค์ประกอบที่ชัดเจน โดยวัดผ่านสถานการณ์ ความรู้ ความเข้าใจ เจตคติ พฤติกรรมที่แสดงออกมาผ่านการประเมินตนเอง ผ่านเพื่อน ผ่านครูอาจารย์ และผ่านผู้ปกครอง เรามีการออกแบบเครื่องมือให้สอดคล้องในแต่ละวัย จากการศึกษาทำความเข้าใจกลุ่มผู้ใช้โดยการลงพื้นที่พูดคุย การทดลองภาคสนาม มีการวัดความเที่ยงตรงของเครื่อง และการวัดความน่าเชื่อถือของเครื่องมือ โดยเราได้ออกแบบหลักสูตรให้เหมาะสม อาทิ ระดับปฐมวัยจะมีการใช้การ์ตูนและเสียงบรรยายเป็นเครื่องให้เกิดความน่าสนใจและเข้าใจง่าย ,ระดับอุดมศึกษาจะจำลองสถานการณ์เพื่อวัดว่าเขารู้ผิดรู้ถูกในประเด็นนั้นอย่างไร โดยการวัดจะมีการให้ค่าน้ำหนักโดยพิจารณาบริบทจริง และให้ผู้เชี่ยวชาญช่วยพิจารณา”

อ.ดร.วชิราวุธ ธรรมวิเศษ นักวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวในประเด็นแพลตฟอร์ม TY integrity (Thai Youth Integrity Assessment Management System) “แบบประเมินนี้รองรับทุกอุปกรณ์ แต่เน้นในรูปแบบ Mobile first เพื่อสะดวกในการทำแบบประเมิน ซึ่งเป็นในลักษณะ QR-code , Link หรือ ผ่าน Line ที่จะกระจายให้ทั่วถึงทั้งระดับโรงเรียนและมหาลัย โดยจะมีการ Monitor จากผู้ประสานงานสถานศึกษา เพื่อตรวจสอบว่าใครประเมินแล้วหรือยังไม่ประเมิน แต่ไม่สามารถเข้าไปดูเนื้อหาภายในได้ และมีการ Monitor จากจังหวัดว่ามีสถานศึกษาทั้งหมดอยู่เท่าใด และประเมินไปแล้วเท่าใด”

ลำดับต่อไปเป็นการบรรยายพิเศษในหัวข้อ International Experience in Nurturing Integrity โดย คุณอภิญญา สิระนาท หัวหน้าโครงการ UNDP Accelerator Labs United Nations Development Programme (UNDP) Thailand อันมีจความโดยสังเขปดังนี้ “โครงการที่เราทำกับเยาวชนมีนอกเหนือจากหลักสูตรต้านทุจริตรเนื่องจากเยาวชนมี สัตว์ส่วนมากเยาวชนของ UNDP หมายถึงคนที่อายุ 15-30 ปี เนื่องจากเขาจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้าและจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ปัจจุบันและเรามองว่าเยาวชนมีศักยภาพมาก และการพัฒนาเยาวชนจะเป็นผลบวกในระยะยาวต่อประเทศชาติ และสังคมเยาวชนนั้นมีความแตกต่างกัน จึงไม่วัดแค่บางพื้นที่ หรือแค่บางเพศ ให้ทุกคนได้มีบทบาทเปิดช่องทางให้ได้แสดงความคิดเห็น มีการพัฒนา Skill ให้เยาวชนตามที่เขาต้องการเรียนรู้ โดยเราได้จัดทำโครงการมากมาย เช่น การจัดการแข่งขันแต่งเพลงแก้ปัญหาคอรัปชั่นช่วยให้เยาวชนได้ซึมซับการไม่ทนต่อความทุจริต เป็นต้น โดยการจะส่งเสริมให้เยาวชนและเด็กไทยมีความยึดมั่นใน ความซื่อสัตย์สุจริตจะต้องเพิ่มความรู้การให้การมีส่วนร่วมDesign กิจกรรมเพื่อให้รู้สึกว่าตัวเขาเอง เป็นส่วนหนึ่งของการต่อต้านคอรัปชั่น สร้างบรรทัดฐานที่ว่าการCorruption ไม่ใช่เรื่องปกติ และให้ความรู้ว่ากฎหมายจะสามารถคุ้มครองเขาได้อย่างไร”

Prof. Kazuhiko Ishihara Graduate School of Policy Science, Ritsumeikan University, Japan อันมีจความโดยสังเขปดังนี้ “ผมจะนำเสนอกรณีศึกษาเมืองเกียวโต เพื่อเป็นแนวทางที่ประเทศไทยจะได้นำไปพัฒนาต่อยอด โดย Concept คือการพัฒนาชุมชนในญี่ปุ่นที่มีความต่อเนื่องโดยใช้ทรัพยากรเป็นฐานคิดและความร่วมมือของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในชุมชนในการผลักดันโดยการพัฒนาในครั้งนี้ประสบความสำเร็จทั้งการวางผังเมือง การทำความสะอาดตกแต่งบ้านเมือง การบริหารจัดการผู้สูงอายุ และการท่องเที่ยว เช่น ชุมชนไมโกะ มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยจัดให้มีนักแสดง นักขับร้อง (เกอิชาที่เป็นคนในท้องถิ่น) ให้ความบันเทิงกับนักท่องเที่ยวที่มาเยือนในพื้นที่ ในเมืองพอนโทโช มีการปรับทัศนวิสัยโดยการเอาเสาไฟฟ้าลง และทุกๆบ้านร่วมใจปลูกต้นไม้เพื่อความสวยงาม”

สำหรับ Dr. Rainer Adam Former Regional Director, Friedrich Naumann Foundation อันมีจความโดยสังเขปดังนี้  “กรณีศึกษาเยอรมนี มีจัดให้มีการศึกษาภาคพลเมือง การศึกษาภาคพลเมืองคือการประสานแนวคิดจากแนวคิดประชาธิปไตยการวิภาค การประเมินสาระสนเทศให้มีส่วนร่วมในทางการเมืองและทางสังคม โดยได้นำไปใช้ในหลักสูตรการเรียนการสอน โดยการศึกษาภาคพื้นพลเมืองเกิดขึ้นจากการผลักดันทางด้านประชาธิปไตย โดยมีเจ้าหน้าที่หน่วยงานของรัฐ ผู้เชี่ยวชาญให้ความรู้กับประชาชน เกิดความความสำเร็จในส่วนหนึ่งแต่ก็มีอุปสรรคเนื่องจากสภาพสังคมที่ยังไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างเต็มรูปแบบ โดยเป้าหมายคือ เพื่อให้ประชาชนทุกคนได้รับความรู้ที่จำเป็น รู้สิทธิหน้าที่ของตน และมีอิสระทางความคิด เพื่อเป็นแนวทางในการสะท้อนปัญหาจากประชาชนต่อสภาพสังคม โดยสิ่งที่จะช่วยให้สิ่งนี้สำเร็จได้ คือการมีส่วนร่วมของเด็กและเยาวชนตั้งแต่อายุยังน้อย การได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นรูปธรรม การกำจัดการแทรกแซงที่ไม่เป็นธรรม และการนำ Digital เข้ามาสอดแทรก”

ในหัวข้อ Reflective Dialogue ได้รับเกียรติจาก ผู้ช่วยปลัดกระทรวง กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม รักษาราชการแทนผู้อำนวยการกองยกระดับคุณภาพการจัดการศึกษาระดับอุดมศึกษา นายวันนี นนท์ศิริ มากล่าวในประเด็นบทเรียนและการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา หลักสูตรการอุดมศึกษา ประเทศไทย 4.0 ได้กำหนดลักษณะพลเมืองไว้ คือการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ งโดยทุกคนที่สำเร็จการศึกษาจะต้องมีลักษณะของการเป็นพลเมืองที่เข้มแข็งซึ่งมีการสนับสนุนโดยกระทรวง อว. ให้สำเร็จเป็นไปตามเป้าหมายได้มีการกำหนดหลักสูตรเพื่อที่จะนำไปสู่การสร้างพลเมืองที่เข้มแข็ง โดยมีการติดตามผลการดำเนินงาน 3 กลุ่ม 1. การบูรณาการเข้าหาเนื้อหาที่มีอยู่แล้ว 2. การกำหนดรายวิชาเฉพาะ 3 หน่วยกิจ (นำไปใช้แล้วที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 3. จัดให้เป็นวิชาเลือก ปัจจัยที่จะช่วยให้ประสบความสำเร็จคือ ผู้บริหารสถานศึกษาจะต้องมีนโยบายที่ชัดเจน ครู/อาจารย์ต้องมีความทันสมัยเข้าใจผู้เรียนและนำหลักสูตรมาปรับใช้อย่างเหมาะสม เพราะสถานศึกษาเป็นกลไกลที่สำคัญในการขับเคลื่อน”

และได้รับเกียรติจาก ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาศึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง กล่าวในประเด็นบทเรียนและการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน “หลักสูตรที่ได้พัฒนาขึ้นนี้จะต้องนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดทั้งการคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวมความอายและความไม่ทนต่อการทุจริต STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต และพลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคมโดยวิธีการที่จะใช้ขับเคลื่อนคือการจัดให้มีกลุ่มสาระการเรียนรู้เพิ่มเติมซึ่งเราได้เลือกใช้วิธีการนี้เนื่องจากเป็นหนทางที่มีประสิทธิภาพสูงและสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้จริงเนื่องจากมีผลการวิจัยที่ศึกษาแล้วได้ผลลัพธ์ที่ดีโดยหากมีข้อคำถามหรือปัญหาอะไร สพฐ. ยินดีช่วยเหลือทุกเรื่องขอเพียงทุกคนร่วมมือกัน”

และในลำดับสุดท้ายได้รับเกียรติจาก รศ.ดร.มาณี ไชยธีรานุวัฒศิริ ที่ปรึกษาประธานกรรมการ ป.ป.ช. ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง The Next Steps of Thailand’s Anti-Corruption Education “หลักสูตรต้านทุจริตมีองค์ประกอบ 1.การคิดแยกแยะระหว่างผลประโยชน์ส่วนตนกับผลประโยชน์ส่วนรวม 2. ความอายและความไม่ทนต่อการทุจริต 3. STRONG : จิตพอเพียงต้านทุจริต 4.พลเมืองกับความรับผิดชอบต่อสังคมในบริบท Next Step 2564 จะเน้นไปที่ Digital Disruption เพื่อปรับตัวให้เข้ากับยุคสมัยปัจจุบันและเทรนในอนาคต และจะมีการเน้นจัดการด้านทรัพยากรธรรมชาติที่เพิ่มเข้ามาอยู่ในป.ป.ช.ด้วย ซึ่งเป็นพื้นฐานของการมีส่วนร่วมของประชาชน จะต้องเพิ่มการมีส่วนร่วม เพิ่มสมาชิกชมรม STRONG ให้เข้มแข็งและกระจายไปทั่วประเทศ และต่อไปหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาจะแทรกเข้าไปอยู่ในป.ป.ช. เพื่อกระจายเข้าสู่ภาคพื้นที่ภาคประชาชนอย่างทั่วถึง เพื่อให้สังคมไทยเป็นสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริตอย่างสมบูรณ์”

ภาพ/ข่าว   ภาภรณ์  เรืองวิชา