ศูนย์แม่ข่ายประสานงาน อพ.สธ. – มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น “หลักสูตรเตรียมความพร้อมการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น” ระหว่างวันที่ 24 – 25 สิงหาคม พ.ศ. 2564 (รูปแบบออนไลน์ ผ่านระบบ Zoom Meeting) ถ่ายทอดสดจาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมีสมาชิกงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น สมาชิกงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน และเข้าอบรมที่สนใจร่วมสนองพระราชดำริ งาน อพ.สธ จำนวน 100 คน
การฝึกอบรมในครั้งนี้ ผศ.ดร.เพ็ญประภา เพชระบูรณิน ที่ปรึกษาศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ให้เกียรติกล่าวต้อนรับและเปิดงานฝึกอบรม ดังนี้
มหาวิทยาลัยขอนแก่น สนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เป็นระยะเวลากว่า 24 ปี โดยมีนักวิจัยสังกัดมหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมเป็นคณะปฏิบัติงานวิทยาการ ดำเนินงานสำรวจ ศึกษาวิจัย ค้นคว้า ทรัพยากรกายภาพชีวภาพรวมทั้งภูมิปัญญาและวัฒนธรรมในพื้นที่ปกปักทรัพยากร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากนั้น มหาวิทยาลัยขอนแก่น ยังสนองพระราชดำริในภารกิจที่สำคัญ คือ การเป็นศูนย์แม่ข่ายประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ.) มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นการดำเนินงานภายใต้กิจกรรมที่ 8 กิจกรรมพิเศษสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากร เพื่อเป็นหน่วยงานประสานงานสนองพระราชดำริหน่วยงานต่างๆ โดยโรงเรียนหรือสถานศึกษาสมัครสมาชิกสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นสมัครสมาชิกงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น รวมทั้งการให้ความรู้ความเข้าใจ การจัดฝึกอบรมบุคลากรหน่วยงานในพื้นที่เป้าหมาย ตามหลักสูตร อพ.สธ. และหลักสูตรสนับสนุนงานสนองพระราชดำริ ให้มีความรู้ความเข้าใจกระบวนการดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน และงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น รวมทั้งการเป็นพี่เลี้ยงในการบริหารจัดการฐานข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่นให้กับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและจังหวัด และช่วยขับเคลื่อนการดำเนินงานสนองพระราชดำริ อพ.สธ. ในแต่ละภูมิภาคต่อไป
ผศ.จุฑาพร แสวงแก้ว รักษาการรองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ให้เกียรติกล่าวต้อนรับผู้เข้าร่วมการอบรม ดังนี้
มหาวิทยาลัยขอนแก่นสนองพระราชดำริ จัดตั้งเป็นศูนย์ประสานงานโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี มหาวิทยาลัยขอนแก่น (อพ.สธ. – มข.) เพื่อเป็นหน่วยงานประสานและให้ข้อมูลการสนองพระราชดำริแก่หน่วยงานต่างๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ที่สนใจเข้าร่วมสนองพระราชดำริ เช่น มหาวิทยาลัย โรงเรียนสนองพระราชดำริ โรงเรียน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น รวมทั้งการให้ความรู้ จัดอบรม การดำเนินงานที่ถูกต้องให้กับหน่วยงานที่สนใจ ในการฝึกอบรมครั้งนี้เพื่อให้ท้องถิ่น บุคลากรจากหน่วยงานราชการอื่น หรือผู้ที่สนใจได้รับความรู้ ความเข้าใจ รู้แนวทางการดำเนินงาน และเตรียมความพร้อมการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น จากตัวอย่างการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นจากหน่วยงานที่ประสบความสำเร็จจนได้รับป้ายพระราชทาน
วัตถุประสงค์การจัดอบรม เพื่อสนองพระราชดำริโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมอบรมเห็นความสำคัญของการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น เพื่อสนับสนุนให้องค์การบริหารส่วนตำบลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ดำเนินงานสนองพระราชดำริฐานทรัพยากรท้องถิ่นได้อย่างถูกต้อง ตามแนวทาง อพ.สธ. และเพื่อประชาสัมพันธ์โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ
การจัดอบรมในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก อาจารย์ณกุล เนาว์ช้าง รองผู้อำนวยการโรงเรียนเมืองคง อ.คง จ.นครรราชสีมา บรรยายในหัวข้อ “แนวทางการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่นตามแนวทางของ อพ.สธ.” และสรุปภาพรวมงานที่ 1 งานปกปักทรัพยากรท้องถิ่น และงานที่ 2 งานสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากรท้องถิ่น
ได้รับเกียรติจาก นายทองอินทร์ คำมี นักวิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มาหวิทยาลัยขอนแก่น บรรยายในหัวข้อ งานที่ 1 งานปกปักทรัพยากรท้องถิ่น
นอกจากนี้ ศูนย์แม่ข่ายประสานงานฯ ยังได้รับเกียรติจากคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกง อ.หนองเรือ จ.ขอนแก่น ซึ่งประสบผลสำเร็จในการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น และได้รับป้ายสนองพระราชดำริงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น ในปี พ.ศ. 2564 เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้ และนำเสนอตัวอย่างการดำเนินงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกง ดังนี้
- งานที่ 2 งานสำรวจเก็บรวบรวมทรัพยากรท้องถิ่น วิทยากรโดย นางรวงทอง อนุศรี นักวิชากรตรวจสอบภายใน
การอบรมในวันที่ 25 สิงหาคม 2564 มีดังนี้
การสรุปและการนำเสนอผลการเรียนรู้ของผู้เข้าอบรม แบบฝึกปฏิบัติการงานที่ 1 ได้แก่ แบบบันทึกพรรณไม้, ผังพรรณไม้, แบบบันทึกข้อมูลการสำรวจทรัพยากรพืช, แบบบันทึกข้อมูลการสำรวจทรัพยากรสัตว์, แบบบันทึกข้อมูลการสำรวจทรัพยากรชีวภาพอื่นๆ, ทะเบียนพรรณไม้ในพื้นที่ปกปักทรัพยากรท้องถิ่น และทะเบียนโบราณคดีในพื้นที่ปกปักทรัพยากรท้องถิ่น และในส่วนแบบฝึกปฏิบัติการงานที่ 2 เป็นการนำเสนอผลการบันทึกใบงานที่ 1-9 โดยมี อาจารย์ณกุล เนาว์ช้าง แนะนำการนำเสนอผลงานดังกล่าว
ต่อมาเป็นการบรรยายโดยผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านกง ดังนี้
- งานที่ 3 งานปลูกรักษาทรัพยากรท้องถิ่น วิทยากรโดย นางสาวพรรณนภา ยุรฉัตร นักพัฒนาชุมชน
- งานที่ 4 งานอนุรักษ์และใช้ประโยชน์ทรัพยากรท้องถิ่น วิทยากรโดย นายสถิต ไทยศิลา นักวิเคราะห์นโยบายและแผน
- งานที่ 5 งานศูนย์ข้อมูลทรัพยากรท้องถิ่น วิทยากรโดย นายณัฐพล ศรีหนองเม็ก ผู้ช่วยเจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน
- งานที่ 6 งานสนับสนุนในการอนุรักษ์และจัดทำฐานทรัพยากรท้องถิ่น วิทยากรโดยนางอังคณา จงภักกลาง หัวหน้าสำนักงานปลัด
และบรรยายหัวข้อ ด้านที่ 3 ผลการดำเนินงาน วิทยากรโดย นางสาวสุภาภรณ์ สุพรรณ นักทรัพยากรบุคคลชำนาญการ
จากนั้น จึงเป็นการสรุปสาระสำคัญในงานฐานทรัพยากรท้องถิ่น และปิดการอบรม โดยท่านวิทยากร อาจารย์ณกุล เนาว์ช้าง