รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ และรักษาการผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ เป็นประธานประชุมชี้แจงโครงการ “1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย” เมื่อวั่นที 16 ธันวาคม 2563 ณ ห้องดุสิตา ชั้น 5 อาคารพิมล กลกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมี ผศ.ณัฐพัชญ์ อนันต์ธีระกุล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ และรักษาการรองผู้อำนวยการสำนักบริการวิชาการ และนายธวัช รัตนมนตรี ผู้อำนวยการกองบริหารงานสำนักบริการวิชาการ ร่วมชี้แจงโครงการ ผู้เข้าร่วมประชุมนำโดย นายสุรพล สอนเสนา รอง ผอ.สพป.ขก. เขต 5 และผู้อำนวยการสถานศึกษาในเขตพื้นที่ 9 ตำบล ของอำเภอภูเวียง และอำเภอภูผาม่าน ที่สำนักบริการวิชาการรับผิดชอบ จำนวน 29 คน
ผศ.ณัฐพัชญ์ อนันต์ธีระกุล ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ กล่าวถึงความเป็นมาของโครงการว่า “โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) มีเป้าหมายชัดเจนในการลดปัญหาความยากจนระดับตำบล มหาวิทยาลัยขอนแก่น รับผิดชอบ 135 ตำบล กระจายให้คณะหน่วยงานต่าง ๆ ในมหาวิทยาลัยรับผิดชอบ สำนักบริการวิชาการ รับผิดชอบจำนวน 9 ตำบล ในพื้นที่อำเภอภูเวียง และอำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น ซึ่งใช้จ่ายจากโครงการกู้ยืมเงินของรัฐบาล”
รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ ชี้แจงว่า “โครการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ (1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย) เป็นโครงการที่รัฐบาลต้องการพัฒนารายตำบลด้วยการบูรณาการ เราต้องเริ่มการบูรณาการจากการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเริ่มที่โรงเรียน ถ้าผ่านนักเรียนจะมีความหวังความมั่นคง ความยั่งยืนมากที่สุด ซั่งจะสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ คือ SDGs (Sustainable Development Goals) โดยมีเป้าหมายการพัฒนาให้สามารถพัฒนา 1) คุณภาพชีวิต 2) ลดความเหลื่อมล้ำ 3) เพิ่มรายได้ให้ชุมชนรอบโรงเรียน ซึ่งเป็นกรอบทิศทาง การพัฒนาของโลก”
รศ.ไมตรี อินทร์ประสิทธ์ กล่าวถึงกิจกรรมที่จะเกิดขึ้นว่า “วิธีการทำกิจกรรมของโครงการนี้ คือ เราจะสร้างสถานการณ์ปัญหาโดยเอาคนเหล่านี้เข้ามาเป็นภาคีร่วมดำเนินธุรกิจในโรงเรียน ซึ่งเป็นธุรกิจที่ไม่เน้นกำไร แต่เน้นการแบ่งปัน เช่นกิจกรรมให้นักเรียนปลูกผักร่วมกับชมรมผู้สูงอายุของชุมชนเป็นต้น”
นายสุรพล สอนเสนา รอง ผอ.สพป.ขก. เขต 5 ร่วมแลกเปลี่ยนความคิดว่า “โครงการนี้มีประโยชน์ในการเรียนรู้จากภาคี คือ บัณฑิต นักศึกษา และประชาชนที่เกิดจากการจ้างงานนี้ จะได้ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาโรงเรียน พัฒนาคุณภาพลงสู่การบูรณาการ ลงสู่ชุมชนจริง ๆ ลูกหลานจะได้รับการพัฒนา”
รศ.ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ กล่าวเน้นย้ำช่วงสุดท้ายว่า “ถ้าอยากพัฒนาให้ตำบลมีคามยั่งยืนต้องเริ่มจากโรงเรียน ซึ่งสำนักบริการวิชาการ จะประสานรายละเอียดและเริ่มหารือแนวทางการดำเนินงานต่อไป”