6 นักวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ติดอันดับ Top 2% นักวิจัยอาชีพชั้นนำของโลกทุกสาขารวม 159,683 คน จากนักวิจัยทั่วโลกกว่า 7 ล้านคน
นักวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ติดอันดับ Top 2 Percent Scientists of the world in different fields (Top 2% ทุกสาขา รวม 159,683 คน จากนักวิจัยทั่วโลกกว่า 7 ล้านคน) รายงานโดยทีมวิจัยนำโดย Professor John P.A. Ioannidis จากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร PLOS Biology ฉบับเดือนตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา โดยนักวิจัยที่ทำชื่อเสียงมาสู่มหาวิทยาลัยขอนแก่นครั้งนี้ คือ
1) ศ.ดร.ปริญญา จินดาประเสริฐ อันดับ 145 จาก 27,014 คน ในสาขา Building & Construction 2) ศ.ดร.บรรจบ ศรีภา อันดับ 86 จาก 20,926 คน ในสาขา Mycology & Parasitology 3) ศ.ดร.เมธา วรรณพัฒน์ อันดับ 223 จากนักวิจัย 48,043 คนในสาขา Dairy & Animal Science 4) ศ.นพ.ภิเศก ลุมภิกานนท์ อันดับ 869 จาก 106,795 คน ในสาขา General & Internal Medicine 5) Prof. Yukifumi Nawa อันดับ 221 จาก 20,926 คน ในสาขา Mycology & Parasitology และ 6) ศ.ดร.มาลินี เหล่าไพบูลย์ อันดับ 1,809 จาก 106,795 คน ในสาขา General & Internal Medicine
ทั้งนี้หากพิจารณาผลกระทบการอ้างอิงเฉพาะปี 2019 นักวิจัย มข. ได้เพิ่มมาอีก 6 คน คือ
1) รศ.ดร.ประสิทธิ์ ทองใบ จากคณะวิทยาศาสตร์ อันดับ 1,867 จาก 177,931 ในสาขา Materials 2) รศ.ดร.วันชัย สะตะ จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ อันดับ 534 จาก 27,014 ในสาขา Building & Construction
3) Dr.Andrew J. Hunt จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ อันดับ 1,910 จาก 111,388 ในสาขา Organic Chemistry
4) Dr.Trevor Petney จากคณะแพทยศาสตร์ อันดับ 257 จาก 20,926 คน ในสาขา Mycology & Parasitology
5) ศาสตราจารย์ ดร.วีรพล คู่คงวิริยะพันธ์ จากคณะแพทยศาสตร์ อันดับ 1,713 จาก 94,611 คน ในสาขา Pharmacology & Pharmacy และ
6) ศาสตราจารย์ ดร.จินตนาภรณ์ วัฒนธร จากคณะแพทยศาสตร์ อันดับ 115 จาก 9,518 คน ในสาขา Complementary & Alternative Medicine
การจัดอันดับนี้มาจากผลการวิเคราะห์ผลกระทบงานวิจัยจากการอ้างอิงบทความวิจัยที่ตีพิมพ์จากฐานข้อมูล SCOPUS ตั้งแต่ปี 1996 – 2019 โดยใช้ตัวชี้วัดที่หลากหลาย เช่น h-index. Hm-index, author order (single, first, or last), ฯลฯ มีการคำนวณซับซ้อนแล้วรายงานผลกระทบการอ้างอิงและจัดลำดับเป็นรายนักวิจัยมีทั้งแบบตลอดอาชีพนักวิจัย (career-long citation impact) และผลกระทบเฉพาะปี 2019 (citation impact during the single calendar year 2019) ข้อมูลการจัดลำดับนี้สามารถดูได้ที่ https://dx.doi.org/10.17632/btchxktzyw
เอกสารอ้างอิง
Ioannidis JPA, Boyack KW, Baas J. Updated science-wide author databases of standardized citation indicators. PLoS Biol. 2020 Oct 16;18(10):e3000918.
เบญจมาภรณ์ มามุข -ข่าว
ศ.ดร.บรรจบ ศรีภา -ข้อมูล