สำนักข่าว: ไทยโพสต์
URL: https://www.thaipost.net/main/detail/81564
วันที่เผยแพร่: 24 ต.ค. 2563
พลังพลเมืองชุมชนท้องถิ่น ร่วมสร้างประเทศไทยให้น่าอยู่ อุ่นเครื่องก่อนจัดงานคัดเลือกสุดยอดผู้นำชุมชนทั่วประเทศ 27-29 ต.ค. เมืองทองธานี สสส.เฟ้น “สุดยอดนวัตกรรม” ภาคกลาง ร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ เน้นปรับตัวพร้อมรับมือภาวะปกติ-วิกฤติ ปักธง 6 เรื่อง “สังคมสูงวัย-สิ่งแวดล้อม-ลดปัจจัยเสี่ยงสุขภาพ-เศรษฐกิจชุมชน-สวัสดิการและสุขภาพชุมชน-พึ่งตนเองด้านอาหาร” ใช้ฐานสุดยอดผู้นำชุมชนท้องถิ่น 200 คน/ตำบล เป็นพลังเปลี่ยนแปลงสังคม
เครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ร่วมกับสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) โดยสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) และศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (ศวช.) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดเวทีสุดยอดผู้นำชุมชนท้องถิ่น วาระ : ทศวรรษร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ พื้นที่ภาคกลาง ที่โรงแรมมิราเคิลแกรนด์ คอนเวนชั่น เมื่อวันที่ 1 ต.ค. โดยมี ประภาศรี บุญวิเศษ ประธานกรรมการกำกับทิศทางของแผนสุขภาวะชุมชน พื้นที่ภาคกลาง สมพร ใช้บางยาง ประธานเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ กรรมการบริหารแผน ผู้ทรงคุณวุฒิ ศูนย์สนับสนุนวิชาการเพื่อการจัดการเครือข่าย (ศวภ.) และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 92 แห่ง เข้าร่วมงาน 600 คน ด้วยบรรยากาศสีเสื้อหลากสี ข้อความ “เสื้ออาสาทำดี” “มูลนิธิสนามเด็กเล่นสร้างปัญญา” “เครือข่ายร่วมสร้าง ท้องถิ่นน่าอยู่” “สุดยอดนวัตกรรมท้องถิ่น” “รวมพลคนสร้างสุข”
การแสดงรำฟ้อนทศวรรษเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นภาคกลาง ต่อด้วยเพลงศักยภาพชุมชน 1 สมอง 2 มือ ออกมายืดเส้นยืดสายด้วยกัน ขยับกันมาออกกำลังกายทุกชุมชนเข้ามาใช้พื้นที่ได้อย่างเต็มที่ ต่อด้วยเพลงฉ่อย ชุมชนท้องถิ่นภาคกลาง บางคนที สมุทรสงคราม ปภาศิริ ชอุ่ม สมศักดิ์ บุญประเสริฐ : ขับร้องเพลงฉ่อยเล่าเรื่อง 10 ปี งานรวมพลังพัฒนาชุมชนภาคกลาง
ประภาศรี บุญวิเศษ ประธานกรรมการกำกับทิศทางของแผนสุขภาวะชุมชน พื้นที่ภาคกลาง กล่าวถึงเป้าหมายการจัดงาน เราต้องขยายความคิด เราจะพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง เราจะขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศ ด้วยศักยภาพชุมชนท้องถิ่นและทุนทางสังคม ด้วยวัตถุประสงค์ 1.เพื่อสรุปบทเรียนการดำเนินงานร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่พื้นที่ภาคกลาง 2.เพื่อเสริมศักยภาพ ผู้นำชุมชนท้องถิ่น 3.เพื่อขยายผลแนวคิด และแนวทางการดำเนินงานเครือข่ายสู่ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง
ดวงพร เฮงบุณยพันธ์ ผู้ช่วยผู้จัดการอาวุโสกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และรักษาการผู้อำนวยการสำนักสนับสนุนสุขภาวะชุมชน (สำนัก 3) กล่าวว่า ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา สสส.และเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ขับเคลื่อนสร้างนวัตกรรมโครงข่ายความคุ้มครองทางสังคมกับการแก้ปัญหาชุมชนท้องถิ่น คือ 1. บริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน ด้านสาธารณสุข ด้านการศึกษา ฯลฯ ให้ทุกคนในชุมชนเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ 2.สวัสดิการชุมชน เช่น การช่วยเหลือ จัดตั้งกลุ่มด้านต่างๆ เช่น กลุ่มอาชีพ กลุ่มออมทรัพย์ กลุ่มฌาปนกิจ สงเคราะห์ ทั้งนี้ สสส.มีเป้าหมายที่จะร่วมกันสร้างผู้นำ ตำบลละ 200 คน และ 110 ทุนทางสังคม นั่นคือ 3,000 ตำบลของเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ต้องสร้าง 600,000 ผู้นำ กับ 330,000 ทุนทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นแหล่งเรียนรู้ หรือนวัตกรรม เชื่อมั่นว่าเราทำได้อย่างแน่นอน และจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงชุมชน สังคม ทำให้เกิดศักยภาพ และการพัฒนาอย่างยั่งยืน
โครงข่ายความคุ้มครองทางสังคม บริการทางสังคมขั้นพื้นฐาน ด้านการศึกษา ด้านการสาธารณสุข ด้วยระบบประกันสังคม การสร้างงานสาธารณะ การฝึกอบรมเพิ่มทักษะ เศรษฐกิจ กองทุนประกันสังคม กองทุนเงินทดแทน การศึกษา ฝึกอบรม กองทุนเงินให้กู้ยืมเพื่อการศึกษา กองทุนการศึกษา โครงการอาหารกลางวัน อาหารเสริม (นมโรงเรียน) เครื่องแบบนักเรียน
เมืองไทยมีกลุ่มเสี่ยง เปราะบาง ที่เป็นผู้สูงอายุ เด็ก คนพิการ ผู้ป่วยเรื้อรัง คนยากจน คนด้อยโอกาส คนไร้ที่พึ่ง เมื่อเผชิญกับวิกฤติ โรคระบาด ภัยพิบัติ ปัญหาเศรษฐกิจ การเข้าถึงบริการสาธารณะวิกฤติแก้ไขปัญหาชุมชนท้องถิ่น เรามีชุมชนท้องถิ่นที่เข้มแข็ง รัฐจัดสวัสดิการให้ประชาชน ไม่มีสิทธิ์ที่จะเลือกปฏิบัติเป็นโปรแกรมที่รัฐจัดให้ทั่วหน้า ผู้สูงอายุทุกคนจะได้รับเบี้ยยังชีพ จะยกเว้นผู้สูงอายุที่มีรายได้สูงไม่ได้ ประเทศไทยมีระบบภาษีที่รัฐมีโอกาสช่วยผู้มีรายได้น้อย การจัดทำรัฐสวัสดิการในช่วงโควิด ซึ่งจะต้องทำเป็นงานวิจัยและต้องเรียนรู้อีกมาก การมองผ่านชุมชนท้องถิ่นที่เข้มแข็งใช้ทุกศักยภาพในการจัดการพื้นที่
กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประชาชนร่วมมือสร้างชุมชนเข้มแข็ง เป็นสิ่งสำคัญในการสร้างเครือข่ายเพื่อความคุ้มครองทางสังคม เมื่อเกิดภัยพิบัติก็สามารถพึ่งพาตัวเองได้ เป็นการสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตำบลร่วมกับองค์กรหลักในพื้นที่พัฒนาเครือข่ายตำบลน่าอยู่ (สุขภาวะ) ในระดับอำเภอ ระดับตำบลที่มีขีดความสามารถในการจัดการผลกระทบจากสถานการณ์ทั่วไปและสถานการณ์วิกฤติ โดยให้การสนับสนุนแก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาตำบลรวมกับองค์กรหลักในพื้นที่ ทั้งยังสนับสนุนพัฒนาขีดความสามารถของสมาชิกเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ให้สามารถใช้เครื่องมือจัดการเรียนรู้ บริหารจัดการเครือข่าย และรับมือกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในทุกสถานการณ์
ในช่วงวิกฤติโควิด ชุมชนนำเงินตัวเองไปซื้อผ้ามาเย็บหน้ากากอนามัย มีการสร้างเป็นเครือข่ายร่วมมือกันทั้งชุมชน กลุ่มเห็ดฟาง กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า กลุ่มข้าวกล้องอินทรีย์ กลุ่มเกษตรอินทรีย์ ถ้ารอความช่วยเหลือจากภาครัฐไม่ทันเวลา ปัญหาจากกฎระเบียบทางราชการ ทำอย่างไรให้ทุนทางสังคมเป็นกำลังสำคัญผลักดันให้รัฐทำงานอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ตราบใดที่ชุมชนท้องถิ่นมีความเข้มแข็งก็ย่อมจะผลักดันให้เกิดเครือข่ายคุ้มครองทางสังคมที่เป็นจริง การพัฒนาพื้นที่ยั่งยืนเตรียมให้องค์กรปกครองท้องถิ่นเชื่อมพื้นที่รัฐส่วนกลาง ชุมชน ก่อนหน้านี้มีการจัดงานในภาคต่างๆ แล้ว ครั้งล่าสุดจัดงานภาคกลางก่อนที่จะจัดงานใหญ่เพื่อคัดเลือกสุดยอดผู้นำชุมชนทั่วประเทศ 27-29 ต.ค. ที่เมืองทองธานี
ผศ.ดร.พีรพงษ์ บุญสวัสดิ์กุลชัย รอง ผอ.ศูนย์วิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน (ศวช.) คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวรายงานสถานการณ์การขับเคลื่อนเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่พื้นที่ภาคกลาง มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 1,976 แห่ง เครือข่ายร่วมสร้าง 742 แห่ง (37.55%) 25 จังหวัด (กาญจนบุรี จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ชัยนาท ตราด นครนายก นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี พระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สมุทรปราการ สมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง) 57 อปท.ที่ดำเนินงานในระบบข้อมูลตำบล TCNAP2 มีประชากรทั้งหมด 119,587 คน เป็นชาย 173,580 คน เป็นหญิง 180,593 คน มีครัวเรือน 40,412 ครัวเรือน
ร่วมสร้างคุณภาพสังคมเพื่อผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 24,796 คน (20.73%) กลุ่มเตรียมสูงอายุ (50-59 ปี) 21,153 คน (17.69%) ผู้สูงอายุ 60-69 ปี 13,881 คน (55.98%) ผู้สูงอายุ 70-79 ปี 7,071 คน (28.52%) ผู้สูงอายุ 80 ปีขึ้นไป 3,844 คน (15.50%) ผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง 10,134 คน (40.87%) ความดันโลหิตสูง 4,938 คน (48.72%) เบาหวาน 1,556 คน (15.35%) การเจ็บป่วยโรคเรื้อรัง ป่วยไปไหนมาไหนได้ 5,325 คน ป่วยอยู่บ้านไปไหนไม่ได้ 599 คน ป่วยนอนติดเตียง 154 คน การอยู่อาศัยของครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุ ครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุ 17,935 คน ผู้สูงอายุอยู่กับผู้สูงอายุด้วยกัน 999 คน ผู้สูงอายุอาศัยอยู่กับเด็ก 5,425 คน การประกอบอาชีพของประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป ไม่มีอาชีพ 9,745 คน มีอาชีพ 15.050 คน ผู้สูงอายุที่มีพฤติกรรมเสี่ยง 3,966 คน ผู้สูงอายุที่ดื่มสุราเป็นประจำ 573 คน ผู้สูงอายุที่สูบบุหรี่เป็นประจำ 487 คน ผู้สูงอายุที่ไม่ได้ออกกำลังกาย 1,283 คน
ร่วมจัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม ครัวเรือนที่เข้าร่วมกิจกรรมรักษาสิ่งแวดล้อม 25,774 ครัวเรือน ครัวเรือนที่มีการจัดการขยะ 32,513 ครัวเรือน ครัวเรือนที่มีภาชนะรองรับ 23,388 ครัวเรือน ครัวเรือนที่มีการคัดแยกขยะรีไซเคิล 15,079 ครัวเรือน ครัวเรือนที่ใช้บริการเก็บขยะของชุมชน 14,627 ครัวเรือน ครัวเรือนที่นำขยะไปทำปุ๋ยหมัก 1,081 ครัวเรือน ครัวเรือนที่มีการบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยทิ้ง 10,857 ครัวเรือน ครัวเรือนที่มีการใช้วัสดุหรืออุปกรณ์ป้องกันการเกิดควันและฝุ่นละออง 2,520 ครัวเรือน
ร่วมลดปัจจัยเสี่ยง ผู้ที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป 103.478 คน ผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงด้านสุขภาพ 17,388 คน ผู้มีพฤติกรรมดื่มสุราเป็นประจำ 4,258 คน อายุมากที่สุด 95 ปี ผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป 609 คน อายุน้อยที่สุด 15 ปี ผู้มีพฤติกรรมขับรถเร็วเกินกว่าที่ กม.กำหนด 371 คน ประชาชนที่ติดสารเสพติด 159 คน ผู้ที่สูบบุหรี่เป็นประจำ 3,504 คน ครัวเรือนที่มีผู้สูงอายุสูบบุหรี่ 2,746 ครัวเรือน เป็นชาย 3,212 คน หญิง 292 คน อายุน้อยที่สุด 17 ปี อายุมากที่สุด 85 ปี
ผศ.ดร.พีรพงษ์ บุญสวัสดิ์กุลชัย กล่าวถึงการขับเคลื่อนเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ พื้นที่ภาคกลาง ว่า ขับเคลื่อน 6 ประเด็นสำคัญ ที่จะร่วมกันกำหนดทิศทางในการร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง คือ 1.สร้างคุณภาพสังคมเพื่อผู้สูงอายุ ทั้งการ เตรียมความพร้อมสถานการณ์ผู้สูงอายุ และการดูแลผู้สูงอายุในทุกมิติ 2.จัดการทรัพยากรและสิ่งแวดล้อม เช่น ขยะ น้ำ เป็นต้น 3.ลดปัจจัยเสี่ยง ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การบริโภคยาสูบ และความปลอดภัยบนท้องถนน 4.เศรษฐกิจชุมชน สร้างงาน สร้างอาชีพ ลดหนี้ เพิ่มเงินออม 5.การจัดการสุขภาพชุมชน และสวัสดิการชุมชนหลายมิติ เช่น การรับมือกับโรคติดต่อแบบ New Normal 6.สร้างอาหารปลอดภัย เน้นพึ่งพาตนเองด้านอาหารในภาวะปกติและภาวะวิกฤติ การสร้างความมั่นคงทางอาหาร ครัวเรือน และชุมชน
สานพลังขับเคลื่อน 4 องค์กรหลักปัจจัยความสำเร็จ
ธวัชชัย ฟักอังกูร ประธานกรรมการบริหารแผน คณะที่ 3 สสส. กล่าวถึงผลดำเนินงาน 10 ปี ของแผนสุขภาวะชุมชน สสส.ว่า ถ้าจะพูดถึงความสำเร็จ เป็นความโชคดีของชุมชนที่มีท่านทั้งหลายเป็นผู้นำชุมชน 10 ปี เรามีเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ชุมชนเข้มแข็ง จัดการตัวเอง 3,000 กว่าแห่ง ประชากรครึ่งหนึ่งของตำบลที่มีไม่น้อยกว่า 30 ล้านคน ได้รับอานิสงส์จากชุมชนน่าอยู่ที่มีท่านเป็นผู้นำ ผลการดำเนินงาน 10 ปี
ถ้าจะพูดถึงความสำเร็จของชุมชน เราต้องอาศัยท่านทั้งหลายในฐานะที่เป็นสุดยอดผู้นำเป็นเสาหลักขององค์กรในการทำงานให้เกิดชุมชนเข้มแข็ง น่าอยู่ เกิดประโยชน์เกิดสุขภาวะ การบูรณาการงานในพื้นที่ใช้พลังในการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง (ท้องถิ่น ท้องที่ ส่วนราชการ ผู้นำประชาชน ศาสนา ภาคียุทธศาสตร์ ประชาชน ชุมชน องค์กรที่เกี่ยวข้อง) ทำไมประโยชน์จึงมีมากกว่าการบูรณาการงานในพื้นที่ ใครที่จะต้องเข้ามาบูรณาการและใครเป็นผู้ทำให้เกิดการบูรณาการ
ในวาระครบรอบ 1 ทศวรรษของการขับเคลื่อนการทำงานร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ ภายใต้แผนสุขภาวะชุมชน ได้จัดเวทีสุดยอดผู้นำชุมชนท้องถิ่น 4 ภาค เพื่อสรุปบทเรียนการดำเนินงานร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ในแต่ละภูมิภาค เสริมศักยภาพผู้นำชุมชนท้องถิ่นให้สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์รูปธรรมการปรับตัวหรือตั้งรับ (resilience) ของชุมชนท้องถิ่นทั้งในสถานการณ์ทั่วไปและสถานการณ์วิกฤติ และขยายผลแนวคิด แนวทางการดำเนินงานเครือข่ายสู่ชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็งอย่างยั่งยืน สร้างทศวรรษที่น่าอยู่ บนฐานทุนทางสังคม และศักยภาพของชุมชนท้องถิ่น ผ่านกลไกการทำงานร่วมกับเครือข่ายชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ สานพลังขับเคลื่อนการทำงานร่วมกับ 4 องค์กรหลักในพื้นที่
องค์กรหลักในการขับเคลื่อนชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง อปท. (อบต. เทศบาล) ดำเนินภารกิจตาม กม.สนับสนุนงบประมาณ จัดทำแผนตำบล พัฒนานโยบายพื้นที่ องค์กรชุมชน (ประชาชน) สภาผู้นำ สภาองค์กรชุมชนร่วมเรียนรู้สถานการณ์ ร่วมทำแผนและปฏิบัติการ ร่วมรับประโยชน์ สร้างงานในชุมชน สร้างแหล่งเรียนรู้เรื่องดีๆ หน่วยงานรัฐในพื้นที่สนับสนุนวิชาการ เสริมศักยภาพ จัดบริการ วิเคราะห์ปัญหาความต้องการ เชื่อมประสานแหล่งประโยชน์ สอ.รพ.รร.พัฒนาชุมชน ท้องที่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน เชื่อมประสานภาครัฐ ประชาชน เครือข่ายอื่นๆ ดูแลสุขทุกข์ แก้ปัญหาเฉพาะหน้า ไกล่เกลี่ย เก็บข้อมูลสื่อสาร
เครื่องมือที่ใช้ในการบูรณาการ TCNAP RECAP แผนปฏิบัติการที่แก้ไขปัญหาและส่งเสริมคุณภาพชีวิต พลังของผู้นำและจิตอาสา “ผู้สูงอายุ เศรษฐกิจชุมชน การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อาหารชุมชน สุขภาวะชุมชนในการรับมือโรคอุบัติใหม่” เป็นประเด็นที่ทั้ง 4 ภูมิภาคตกผลึกตรงกันที่จะกำหนดทิศทางในการพัฒนาขับเคลื่อนสร้างชุมชนท้องถิ่นเข้มแข็ง โดยมีกระบวนการคัดเลือกสุดยอดนวัตกรรม 3 ประเภท คือ นวัตกรรมเชิงระบบ นวัตกรรมเชิงกระบวนการ และนวัตกรรมเชิงเทคนิค เพื่อเป็นแนวทางให้กับพื้นที่อื่นๆ” ธวัชชัยกล่าว
การบูรณาการในอีก 10 ปีข้างหน้า 1.การพัฒนาระบบ ข่าวสารเพื่อบูรณาการในเครือข่ายร่วมสร้างชุมชนท้องถิ่นน่าอยู่ 2.การบูรณาการกับภาคียุทธศาสตร์ทุกระดับในลักษณะ Win-Win situation 3.การบูรณาการระหว่างชุมชนเพื่อให้เกิดการช่วยเหลือและเรียนรู้ระหว่างกันแบบไร้รอยต่อ 4.การบูรณาการในลักษณะเขยื้อนภูเขาตามแนวคิดศาสตราจารย์เกียรติคุณ นพ.ประเวศ วะสี โดยชุมชนสามารถส่งเสริมคุณภาพชีวิตและจัดการกับปัญหาบางอย่างในระดับประเทศได้ด้วยพลังชุมชนทั่วประเทศ