วันจันทร์ที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2568 ฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดกิจกรรม Global Funding Initiative : อนาคตที่ยั่งยืนผ่านทุนวิจัยระดับโลก โดยได้รับเกียรติจาก รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธาน ท่ามกลางนักวิจัยหลากสาขาในมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์และเทคนิคเพื่อต่อยอดงานวิจัยสู่ทุนระดับนานาชาติ ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
ศ.พญ.ผิวพรรณ มาลีวงษ์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย กล่าวรายงานว่า Global Funding Initiative: อนาคตที่ยั่งยืนผ่านทุนวิจัยระดับโลก เกิดขึ้นจากความร่วมมือระหว่างฝ่ายวิจัยและฝ่ายการต่างประเทศที่ได้ร่วมกันทบทวนยุทธศาสตร์และกำหนดโครงการสำคัญของมหาวิทยาลัยเพื่อดำเนินการในปี 2568-2571เพื่อผลักดันมหาวิทยาลัยขอนแก่นสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยและพัฒนาชั้นนำระดับโลกในอันดับที่ดีขึ้น
“สิ่งที่จะตอบโจทย์นี้ได้ คือ ทำอย่างไรที่จะส่งเสริมให้นักวิจัย มข.สร้าง international Research network กับนักวิจัยในสถาบันชั้นนำระดับโลก และสามารถร่วมกันทำข้อเสนอโครงการเพื่อขอทุนวิจัยต่างประเทศได้มากขึ้น”
Global Funding Initiative: อนาคตที่ยั่งยืนผ่านทุนวิจัยระดับโลก จึงจัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการขอรับทุนวิจัยจากแหล่งทุนระดับโลก แลกเปลี่ยนประสบการณ์จากนักวิจัยที่เคยได้รับทุนระดับนานาชาติ พร้อมเปิดเวทีสำหรับการอภิปรายและระดมสมอง และร่วมกันหาแนวทางแก้ไข ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างนักวิจัย คณะวิชา และสถาบันพันธมิตร
ขณะที่ รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ระบุว่า ทุนวิจัยระดับโลก เป็นส่วนสำคัญที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อก้าวสู่การเป็นมหาวิทยาลัยวิจัยและพัฒนาชั้นนำระดับโลกในอันดับที่ดีขึ้น ตลอดจนการมีจำนวนและอันดับ World University Rankings by subject ที่ดีขึ้น เพื่อไปสู่การมีอันดับ Times Higher Education (THE) World University Rankings หรือ QS World University Rankings ที่ดีขึ้น
อย่างไรก็ตาม ผู้บริหาร คณบดีคณะต่าง ๆ รวมถึงนักวิจัยทุกท่าน คือ ส่วนสำคัญในการสร้าง International Research Network โดยเฉพาะช่วงที่เดินทางไป MOU หรือศึกษาดูงานที่ต่างประเทศ เพื่อให้นานาชาติรู้จักนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นมากยิ่งขึ้น
“แม้กลไกที่จะทำให้สำเร็จเป็นงานท้าทายมาก แต่ผมเชื่อว่าทุกคนจะร่วมแรงร่วมใจกันได้ หากพวกเราสร้างเครือข่ายนักวิจัยได้สำเร็จ ก็จะทำให้ World University Rankings ขยับดีขึ้นในช่วงเวลา 3-5 ปีนี้ได้ ซึ่งทั้งหมดนี้ก็ต้องอาศัยทั้งนักวิจัยและองค์กรเพื่อขับเคลื่อนร่วมกันอย่างยั่งยืน”
สำหรับกิจกรรมในวันนี้ประเดิมด้วย Short Presentation: Impact Journeys from KKU Researchers จำนวน 11 หัวข้อ จาก 11 นักวิจัย ดังนี้
- Contributing factors and journey to global fund: experience sharing & Perspectives โดย ศ.เกียรติไชย ฟักศรี สาขาวิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์
- Research and Development Opportunity in A New Era for Future Food, Functional Food and Smart Food for Sustainability โดย ศ.จินตนาภรณ์ วัฒนธร สาขาวิชาสรีรวิทยา คณะแพทยศาสตร์
- Empowering Southeast Asia: Transforming Oral Health Through Research and Training โดย รศ.วรานุช ปิติพัฒน์ แขนงวิชาทันตสาธารณสุข คณะทันตแพทยศาสตร์
- Combatting Cholangiocarcinoma in Lao PDR โดย รศ.วัชรินทร์ ลอยลม สาขาวิชาชีววิทยาศาสตร์ระบบและการแพทย์เชิงคอมพิวเตอร์ คณะแพทยศาสตร์
- The power of young investigators: international collaboration for cancer research and traditional medicine promotion โดย รศ.จารุพงษ์ แสงบุญมี สาขาวิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์
- Key Elements Impacting the Evaluation of National/International Grant Proposals โดย ผศ.จุฑารพ เพชระบูรณิน สาขาวิชาชีววิทยาศาสตร์ระบบการแพทย์เชิงคอมพิวเตอร์ คณะแพทยศาสตร์
- Towards low-carbon livestock production โดย ศ.เมธา วรรณพัฒน์ สาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์
- How to get funded from international donors: the experience of Center for Civil Society and Nonprofit Management โดย ศ.บัวพันธ์ พรหมพักพิง สาขาวิชาสังคมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
- ESG and Circular Innovation: Transforming Agricultural Waste into Value โดย รศ.ภาณินี นฤธาราดลย์ สาขาวิชาบริหารธุรกิจ นวัตกรรม และวิทยาศาสตร์ประยุกต์ วิทยาลัยนานาชาติ
- How Technology and Talent Drive a More Connected and Sustainable World โดย ผศ.ชิตสุธา สุ่มเล็ก สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ วิทยาลัยการคอมพิวเตอร์
- The Power of Spatial Data to Make a Sustainable Future โดย ผศ.ปัทมพร วงศ์วิริยะ สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
เปิดด้วยไฮไลต์ตั้งแต่เริ่มต้นงาน 11 นักวิจัยที่มาเป็น Speaker นั้นได้ถอดเคล็ดลับสำหรับการสร้าง international Research network ออกมาผ่านประสบการณ์จริงเพื่อมาถ่ายทอดให้ผู้เข้าร่วมงานได้รับฟังแบบเอ็กคลูซีฟ โดยเฉพาะการเลือกหัวข้อวิจัยที่นอกจากจะเลือกหัวข้อที่เชี่ยวชาญ หัวข้อที่แปลกใหม่ ไม่เคยมีใครทำมาก่อนแล้ว ยังต้องคำนึงถึงความต้องการของสังคมโลกด้วย โดยเฉพาะเทรนด์สำคัญต่าง ๆ เช่น เทรนด์ด้านสิ่งแวดล้อม ความยั่งยืน รวมถึงการมีทีมวิจัยดีที่ตั้งเป้าหมายเดียวกันให้ชัดเจน และการเสริมสร้างมิตรภาพและรักษาพันธมิตรระดับนานาชาติให้มั่นคง ตลอดจนการมองถึงแผนการตลาด และการหาแหล่งเงินทุนที่ตอบโจทย์กับงานวิจัยอย่างแท้จริง
จากนั้นผู้เข้าร่วมได้รวมตัวกันใน Town Hall meeting กับกิจกรรมอภิปรายและแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อหา Passion & Pain Points โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่ม Health Sciences and Health Professions, กลุ่ม Agricultural Sciences Engineering and Technology & Computer Science และกลุ่ม Business & Economics and Arts & Humanities ก่อนจะปิดท้ายด้วยกิจกรรม Team Building
หลังจากอัดแน่นทั้งเนื้อหาและเทคนิคต่าง ๆ แบบเต็มอิ่มตลอดทั้งวัน อ.ธีรพงศ์ เพียรวิเศษแก้ว อาจารย์ประจำสาขาบริหารธุรกิจ วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หนึ่งในผู้เข้าร่วมกิจกรรม ได้กล่าวถึงกิจกรรม International Research Network ในวันนี้ว่า เป็นกิจกรรมที่ดีมาก ๆ โดยเฉพาะกับตัวเองที่เป็นอาจารย์ใหม่ เนื่องจากทำให้ได้เปิดมุมมองเกี่ยวกับทิศทางของโลก และเทรนด์ Global Funding รวมถึงเป็นไกด์ไลน์สำคัญให้นักวิจัยหน้าใหม่ได้มีจุดโฟกัสที่ชัดเจนมากยิ่งขึ้นผ่านการมองภาพใหญ่ระดับโลกจากผู้มีประสบการณ์ โดยเฉพาะการคำนึงถึง Global Demand ขณะเดียวกันยังมีช่วงที่เปิดโอกาสให้ผู้เข้าฟังได้ร่วมถาม-ตอบซึ่งถือว่าเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ได้เจาะลึกทุกข้อสงสัยกับผู้เชี่ยวชาญโดยตรง นับเป็นกิจกรรมที่ดีและอยากให้จัดต่อเนื่องไปอีกหลาย ๆ ครั้ง
KKU Pioneers Global Research Excellence with ‘Global Funding Initiative’ to Secure International Grants and Boost Global Rankings