สหกิจศึกษานานาชาติ มข. จากห้องเรียนสู่สถานประกอบการและผสานเอกสารใบรับรองทางการศึกษา (Academic Transcript) สู่ใบรับรองด้านทักษะ (Skill Transcript) กระบวนทัศน์ใหม่การจัดการศึกษา

สหกิจศึกษาสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Cooperative and Work Integrated Education, CWIE) เป็นการจัดการศึกษาและการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ (Experience learning) จากการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ เป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญตามการจัดศึกษาตามกระบวนทัศน์ใหม่ (New paradigm) ตามยุทธศาสตร์ด้านการปรับเปลี่ยนการศึกษา (Education transformation) ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งสนับสนุนโครงการ CWIE นานาชาติมาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้นักศึกษามีเชี่ยวชาญในเชิงวิชาชีพและเสริมสร้างมุมมองสากลและความพร้อมในการแข่งขันในระดับนานาชาติ และเมื่อสิ้นสุดการปฏิบัติงานนักศึกษาจะนำเสนอผลงานที่พัฒนาระหว่างการฝึก เช่น โครงการนวัตกรรม การแก้ไขปัญหาทางธุรกิจ หรือการพัฒนากระบวนการที่มีประสิทธิภาพ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเพิ่มมูลค่าของการฝึกฝน พร้อมรับโอกาสในการคัดเลือกผลงานยอดเยี่ยมไปประกวดในระดับภาคและประเทศ

เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2567 ณ อวานี ขอนแก่น โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ จังหวัดขอนแก่น สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการจึงได้จัดโครงการ Presentation for International CWIE KKU ประจำภาคการศึกษาต้น ปีการศึกษา 2567 โดยมี ผศ.ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและดิจิทัล เป็นประธานในพิธี ครั้งนี้มีนักศึกษาเข้าร่วมจำนวน 49 คน จาก 7 ประเทศประกอบด้วย สหรัฐอเมริกา 1 คน  อินโดนีเซีย  1 คน ไต้หวัน  3  คน ฟิลิปปินส์ 3  คน สปป.ลาว 5 คน มาเลเซีย 6  เวียดนาม 10 คน  และประเทศ จีน 20 และหากนับรวมทั้งปีถึงการจัดนำเสนอครั้งนี้มีนักศึกษาเข้าร่วม CWIE นานาชาติแล้วทั้งสิ้นจำนวน 129 คน

ในการนำเสนอผลงานในครั้งนี้แบ่งเป็น 2 ด้าน คือด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นานาชาติ และด้านมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และการจัดการ นานาชาติ ซึ่งมีรางวัลสำหรับผู้ชนะการประกวด ดังนี้

  1. รางวัลนำเสนอโครงงานและผลการปฏิบัติงาน CWIE
    • ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นานาชาติ
  • รางวัลดีเด่น

กลุ่มที่ 1 นางสาวสุกฤตา โสมทอง คณะเกษตรศาสตร์ ชื่อผลงาน “EVALUATION OF RICE ELITE BREEDING LINES FOR COMBINED TOLERANCE TO SUBMERGENCE AND SALINITY STRESS AT SEEDLING STAGE”

กลุ่มที่ 2 นายวรพล ด้วงงาม คณะวิศวกรรมศาสตร์ ชื่อผลงาน “Analysis and design optimization of the pantograph for high-speed train using response surface methodology”

กลุ่มที่ 3 นางสาวกัญญาภัค ฉายบุญครอง คณะวิศวกรรมศาสตร์ ชื่อผลงาน “Investigation of TiN Electrodes in Extended-Gate Field-Effect Transistor Biosensors for Cancer Cell Detection”

  • รางวัลรองรองดีเด่น

กลุ่มที่ 1 นางสาววณิดา ศรีสุดชา คณะเกษตรศาสตร์ ชื่อผลงาน “ASSESSMENT OF NUTRIENT STATUS USING THE MINUS ONE ELEMENT TECHNIQUE (MOET) AT RICE EVALUATION TESTING FIELD FOR COOL TOLERANCE BREEDING SELECTION PROGRAM”

กลุ่มที่ 2 นายอรรณธีร์ ศรีสะอาด คณะวิศวกรรมศาสตร์ ชื่อผลงาน “A New Approach to In-Memory Computing (IMC) Design”

กลุ่มที่ 3 นายพงษ์รัฐกฤษณ์ ศรีวงษ์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ชื่อผลงาน “Precision Handling in Automated Systems: A Study of Conveyor Belt and Robot Integration for Optimized Object Picking”

  • ด้านมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และการจัดการ นานาชาติ

– รางวัลดีเด่น นางสาวบุญญิสา นิมิตอังกูร คณะสหวิทยาการ ชื่อผลงาน “The use of google forms to collect Audit line score in order to streamline work process CKL CO.,Ltd.”

– รางวัลรองดีเด่น นางสาวอรอุมา คุรินทร์ วิทยาลัยนานาชาติ ชื่อผลงาน “The Role of Diplomacy in Addressing Thai Illegal Labor Issue in Malaysia”

  1. รางวัลนักศึกษา ยอด like จากการทำคอนเทนต์ หัวข้อ “CWIE นานาชาติ ดี๊ดี กับชีวิตที่ต่างแดน”
  • รางวัลยอด like สูงสุด อันดับที่ 1 นายปรเมษฐ์ จ้อยสุดใจ คณะคณะวิศวกรรมศาสตร์
  • รางวัลยอด like รองลงมา อันดับที่ 2 นางสาวอุษณา พันเลียว คณะสหวิทยาการ และนางสาวสุภาลักษณ์ กมลผาด คณะสหวิทยาการ
  • รางวัลรางวัลพิเศษ โดน ใจกรรมการนางสาวสุกฤตา โสมทอง คณะเกษตรศาสตร์

ในโอกาสนี้สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการได้เปิดตัวการออกเอกสารรับรองด้านทักษะ (Skill Transcript) สำหรับ CWIE นานาชาติ โดยพัฒนาระบบการประเมินทักษะและสมรรถนะสำคัญ 8 ด้าน ซึ่งครอบคลุมทั้งทักษะพื้นฐาน (Basic Skills) และสมรรถนะหลัก (Core Competencies) ทีสามารถบูรณาการระบบการประเมินสมรรถนะเข้ากับกระบวนการสหกิจศึกษาให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ สร้างระบบนิเวศที่สนับสนุนการเรียนรู้ที่เน้นผลลัพธ์ และประเมินผลร่วมกันระหว่างสถานประกอบการและอาจารย์ที่ปรึกษาในหลักสูตร ผลการประเมินจะถูกรวบรวมและจัดทำในรูปแบบดิจิทัล เพื่อช่วยให้นักศึกษาเข้าใจจุดแข็งและจุดที่ควรพัฒนา พร้อมสามารถนำไปใช้ในการสมัครงาน หรือใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ Digital Skill Transcript ยังเป็นเครื่องมือสำคัญที่ช่วยสถานประกอบการและมหาวิทยาลัยเข้าใจความต้องการที่แท้จริงของตลาดแรงงาน นำไปสู่การพัฒนาหลักสูตรที่ตอบโจทย์อนาคตอย่างแท้จริง สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการมุ่งมั่นส่งมอบคุณค่าที่มากกว่าใบปริญญาเพื่อการเตรียมบัณฑิตให้พร้อมสู่โลกอนาคต ซึ่ง Digital Skill Transcript กำลังกลายเป็นมาตรฐานใหม่ที่ตลาดแรงงานให้ความสำคัญ และเป็นมูลค่าเพิ่มที่มองไกลกว่าปริญญาบัตร นักศึกษา CWIE นานาชาติรุ่นนี้เป็นรุ่นแรกที่ได้รับใบรับรอง Digital Skill Transcript ที่นำไปใช้งานได้จริง สำนักฯภูมิใจที่ได้เป็นผู้นำในการสร้างคุณค่าที่แตกต่างให้แก่นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น

ความสำเร็จของโครงการ CWIE นานาชาติไม่เพียงแค่สะท้อนถึงความสามารถของมหาวิทยาลัยขอนแก่นในการตอบสนองต่อนโยบายการเปลี่ยนแปลงด้านการศึกษา แต่ยังเพิ่มโอกาสให้กับนักศึกษาในตลาดแรงงานระดับนานาชาติ เราภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสร้างบัณฑิตที่ไม่เพียงแค่มีความรู้ แต่ยังมีทักษะและสมรรถนะที่พร้อมแข่งขันในระดับโลก

#บริการด้วยใจผ่านนวัตกรรม #regkku

Scroll to Top