มนุษยศาสตร์-สังคมศาสตร์ สู่ชุมชน “แชะ-Change-Chic-Click-แชร์:  The Rhythms for Khon Kaen OTOP Digital Entrepreneurs”

เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2567 คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ ศูนย์ชุมชนอีสานศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดขอนแก่น ได้ดำเนินงานโครงการบริการวิชาการมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์สู่ชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โครงการ “แชะ-Change-Chic-Click-แชร์:  The Rhythms for Khon Kaen OTOP Digital Entrepreneurs โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเพิ่มช่องทางการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการโอทอปในจังหวัดขอนแก่น และเพื่อถ่ายทอดกลยุทธ์การตลาดออนไลน์ให้แก่ผู้ประกอบการโอทอปในจังหวัดขอนแก่น รวมทั้งเพื่อฝึกปฏิบัติการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อเพิ่มช่องทางการตลาดให้แก่ผู้ประกอบการโอทอปในจังหวัดขอนแก่น ณ ราชาวดี รีสอร์ท แอนด์ โฮเทล จังหวัดขอนแก่น โดยได้รับเกียรติจาก คุณอัญชนิดา กมลเพ็ชร พัฒนาการจังหวัดขอนแก่น เป็นประธานในพิธีเปิด และกล่าวต้อนรับทีมวิทยากร ได้แก่

 

  • รองศาสตราจารย์ ดร.วิภาวี กฤษณะภูติ

ผู้อำนวยการศูนย์ชุมชนอีสานศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  • ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดารารัตน์ คำภูแสน

อาจารย์ประจำสาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

  • ดร.ธนาพันธ์ นัยนิจ

วิทยากร และช่างภาพอิสระ

  • นางสาวเบญจวรรณ นัยนิตย์

นักวิชาการอิสระ

  • คุณอุไรพร ถิ่นวิมล

นักวิชาการพัฒนาชุมชนชำนาญการ กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดขอนแก่น

  • คุณจุฬาลักษณ์ สุวรรณไชยรพ

นักวิชาการพัฒนาชุมชนปฏิบัติการ กลุ่มงานสารสนเทศการพัฒนาชุมชน สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดขอนแก่น

 

ทั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมโครงการกว่า 30 คน จากกลุ่มผู้ประกอบการโอทอปในจังหวัดขอนแก่น ร่วมรับฟังบรรยาย และทำกิจกรรมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ทำให้ได้รับความรู้เกี่ยวกับการส่งเสริมทักษะและพัฒนากลุ่มผู้ผลิตโอทอปในพื้นที่จังหวัดขอนแก่นในการเรียนรู้เกี่ยวกับการตลาดออนไลน์ เพื่อนำไปสู่การสร้างความเข้าใจในการเลือกช่องทางการประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสม การจัดการตลาดออนไลน์อย่างมีประสิทธิภาพ และการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับผู้บริโภค นำไปสู่การสร้างคุณค่าและมูลค่าให้เกิดขึ้น

 

 

 

ข่าว/ภาพ : กลุ่มวิจัยและบริการวิชาการ ร่วมกับ ศูนย์ชุมชนอีสานศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

Scroll to Top