มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย อาจารย์ ดร.อรรฆพร ก๊กค้างพลู อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี หัวหน้าโครงการศึกษาและพัฒนายุทธศาสตร์ความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทย: ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (A memorandum of understanding) (MOU) การขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจบนความร่วมมือของพหุภาคีเครือข่าย ด้านการศึกษาและพัฒนายุทธศาสตร์ความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทย และด้าน Cross Border E-Commerce & New Technology กับ Kunming South Asia & Southeast Asia International Logistics Research Institute (SSILR) สาธารณรัฐประชาชนจีน, Center for China Studies, Research and Academic Service Office, National University of Laos สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ Yunnan Tengjin Logistics Co., Ltd., สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ ห้องประชุมกมลทิพย์ 3 ชั้น 2 โรงแรมเดอะ สุโกศล กรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา
อาจารย์ ดร.อรรฆพร ก๊กค้างพลู อาจารย์ประจำคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น หัวหน้าโครงการ ฯ เปิดเผยว่า การลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือทางวิชาการในครั้งนี้ เป็นหนึ่งในผลลัพธ์อันเป็นรูปธรรมที่เกิดจากโครงการวิจัยโครงการศึกษาและพัฒนายุทธศาสตร์ความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทย: ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดย คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น แต่ละหน่วยงานที่ร่วมลงนามนับเป็นสถาบันการศึกษาที่มีชื่อเสียง รวมถึงบริษัท Think Tank ของไทย และบริษัทเอกชนของประเทศที่มีชื่อเสียงจากสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยเนื้อหาการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในครั้งนี้ ให้ความสำคัญ 7 ประเด็น ประกอบด้วย
การลงนามความร่วมมือครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาการสอนและเรียนรู้รวมถึงการแลกเปลี่ยนนักศึกษาและบุคลากรทางวิชาการและการสนับสนุน การสร้างบุคลากรทางการศึกษาที่มีความรู้ ความสามารถ และความตอบสนองต่อความต้องการของตลาดแรงงานปัจจุบัน และส่งเสริมนักศึกษาให้พร้อมที่จะเริ่มอาชีพ
รวมทั้งพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาให้ได้รับความรู้ ความสามารถ และมาตรฐานของทุกฝ่ายที่เข้าร่วมสัญญา พัฒนาคุณภาพการศึกษาและทรัพยากรมนุษย์ให้เข้ากันได้กับการพัฒนาของชาติทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคมซึ่งเป็นผลมาจากประโยชน์ของศักยภาพในการแข่งขันของทุกฝ่าย ส่งเสริมศักยภาพของบุคลากรให้สามารถทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีและตอบสนองต่อความต้องการของสถาบันในพื้นที่ที่เข้าร่วมสัญญา ส่งเสริมผลิตภาพของนักศึกษาและผู้ที่สนใจให้พร้อมและมีคุณภาพเข้าสู่ตลาดแรงงาน ทั้งยังจัดโปรแกรมการศึกษารวมถึงหลักสูตรประกาศนียบัตร ระดับปริญญาตรี และระดับปริญญาโท การเข้าร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนทางวิชาการอื่น ๆ การแบ่งปันข้อมูล เอกสารวิจัย และการพิมพ์ ตลอดจนร่วมวิจัยการค้าและการลงทุนระหว่างสมาชิก เพื่อให้การแลกเปลี่ยนข้อมูลผ่านโครงการวิจัยร่วม การประชุมและกิจกรรมทางวิชาการอื่น ๆ เกี่ยวข้องกับการค้าและการลงทุนในพื้นที่ของเส้นทางเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (NeEC) และการเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจจีน ลาว ไทย
สำหรับการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือทางวิชาการ (A memorandum of understanding) (MOU) การขับเคลื่อนระเบียงเศรษฐกิจบนความร่วมมือของพหุภาคีเครือข่าย ด้านการศึกษาและพัฒนายุทธศาสตร์ความร่วมมือระเบียงเศรษฐกิจจีน-ลาว-ไทย และด้าน Cross Border E-Commerce & New Technology เป็นการจัดโดย หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) ร่วมกับสำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ (สกสว.) มีขึ้นระหว่างวันที่ 25 – 26 เมษายน 2567 ซึ่งในช่วงบ่ายของวันที่26 เมษายน 2567 เป็นการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการทิศทางการขับเคลื่อนในการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ 4 ภาค โดยกลไกเชิงพื้นที่ของระบบวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (ววน.) ด้วย
ข่าว : เบญจมาภรณ์ มามุข
ข้อมูล ภาพ : คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น KKBS