ฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ โดยกองบริหารงานวิจัย ร่วมกับฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัด การประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม-มหาวิทยาลัยขอนแก่น สร้างนวัตกรรมอุทิศต่อสังคม : “ชุดทดสอบโรคพยาธิใบไม้ตับ และ โรคพยาธิเส้นด้ายในคนแบบรวดเร็ว ช่วยผู้ป่วยให้รอดชีวิต” โดยมี ศ.นพ.สุทธิพันธ์ จิตพิมลมาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม พร้อมด้วย รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยลัยขอนแก่น ศ.ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ ศ.ดร.ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ ศาสตราจารย์ ดร. วันชัย มาลีวงษ์ ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ศาสตราจารย์ พญ. ผิวพรรณ มาลีวงษ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมพิธี ในการนี้มี ผู้แทนจากสำนักงานป้องกันควบคุมโรค ผู้แทนจากโรงพยาบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 22 โรงพยาบาล สื่อมวลชน เข้าร่วมเป็นจำนวนมาก ณ ห้องประชุมสารสิน ตึกสิริคุณากร ชั้น 2 มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2563
การประชุมวิชาการครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อถ่ายทอดผลงานวิจัย นำนวัตกรรมสร้างสรรค์และเผยแพร่ องค์ความรู้พื้นฐาน และ ประยุกต์ใช้ของปรสิตและเวกเตอร์สำหรับผลิตนวัตกรรมตันแบบ ที่นำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และ การใช้ประโยชน์ทางสังคม” ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากสกสว. ร่วมกับ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล รักษาการแทนอธิการบดีมหาวิทยลัยขอนแก่น กล่าวว่า ชุดทดสอบโรคพยาธิเส้นด้าย (สตรองจิลอยด์) ในคน (Strongyloidiasis ICT Kit) และ ชุดทดสอบโรคพยาธิใบไม้ตับในคน (Opisthorchiasis & Clonorchiasis ICT Kit) เป็นนวัตกรรมการผลิตชุดทดสอบที่ทันสมัย เพื่อวินิจฉัยโรคพยาธิใบไม้ตับและโรคพยาธิเส้นด้ายในคนแบบรวดเร็ว สามารถอ่านผลด้วยตาเปล่าอย่างรวดเร็วในเวลา 15 นาที ไม่ต้องอาศัยเครื่องมือราคาแพง และผู้เชี่ยวชาญในการทดสอบ ที่ผ่านมาไทยยังไม่สามารถผลิตชุดทดสอบสำเร็จรูปอย่างรวดเร็วในรูปแบบนี้ ซึ่ง ชุดทดสอบดังกล่าว เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างศักยภาพของบุคคลากรที่ทำงานด้านสาธารณสุข ได้ช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีอาการให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี และยังกระตุ้นให้เกิดความเข้มแข็งด้านงานวิจัยในคนและสัตว์สาขาปรสิตวิทยา ในกลุ่มนักวิจัยรุ่นใหม่ และ นักศึกษาระดับปริญญาเอก สาขาปรสิตวิทยา รวมถึงบุคคลากรที่ทำงานด้านการวิจัยที่เกี่ยวข้อง
ศาสตราจารย์ ดร. วันชัย มาลีวงษ์ ศาสตราจารย์วิจัยดีเด่น สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ในฐานะหัวหน้าโครงการ “ชุดทดสอบโรคพยาธิใบไม้ตับ และ โรคพยาธิเส้นด้ายในคนแบบรวดเร็ว เผยว่า Strongyloidiasis ICT Kit ใช้วินิจฉัยโรคพยาธิเส้นด้าย หรือโรคพยาธิสตรองจิลอยต์ในคน Opisthorchiasis & Clonorchiasis ICT Kit ใช้วินิจฉัยโรคพยาธิใบไม้ตับทั้งชนิดโอพิสกอร์ศิส วิเวอรินี่ opisthochis wvei; Ov ที่พบในคนไทย และชนิดคลอนอร์ดิสไซเนนสิส (Conorchs senensis:Cs) ที่พบในจีน เกาหลี และเวียดนาม โดยชุดทดสอบทั้งสองเป็นนวัตกรรมชุดทดสอบแบบรวดเร็วที่ทันสมัยชุดแรกของโลก ด้วยเทคนิค Lateral flow คล้ายตรวจการตั้งครรภ์ โดยใช้ตรวจหาแอนติบอดีในน้ำเลือดผู้ป่วย อ่านผลด้วยตาเปล่า ณ จุดทดสอบ ภายใน 15 นาที ซึ่งบุคลากรในห้องปฏิบัติการทั่วไปสามารถใช้ชุดทดสอบได้
เดิมทีวิธีการตรวจหาพยาธิเสันด้ายที่ดีที่สุด คือการนำอุจจาระมาตรวจใต้กล้องจุลทรรศน์หรือเพาะเลี้ยงในจานวุ้นอาหารนาน2-3 วัน แต่เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ ต้องอาศัยนักปรสิตวิทยาที่เชี่ยวชาญบางครั้งพยาธิไม่ออกมาในอุจจาระ การตรวจหาแอนติบอตีในซีรั่มตัวชุดทดสอบแบบรวดเร็ว จึงเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยชีวิตผู้ป่วย ซึ่งชุดทดสอบโรคพยาธิเส้นด้าย (สตรองจิลอยด์) ในคน Strongyloidiasis ICT Kit มีค่าความไว 93.3% และค่าความจำเพาะ83.7% ซึ่งผู้ที่ไต้รับสารสเตียรอยด์ในขนาดสูงเป็นเวลานาน เมื่อติดเชื้อพยาธิกลุ่มนี้จะทำให้มีการติดเชื้ออย่างรุนแรง เกิดการติดเชื้อแบคทีเรียในกระแสเลือด ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิต ฉะนั้นการวินิจฉัยโรคที่แน่ชัดจึงมีความสำคัญ ในผู้ป่วยที่จะเปลี่ยนถ่ายอวัยวะ หรือรักษาด้วยยากลุ่มสเตียรอยด์
โรคพยาธิใบไม้ตับในคนไทย เกิดจากตัวเต็มวัยของพยาธิใบไม้ตับชนิด Ov ที่อยู่ในท่อน้ำตี คนติดพยาธิจากการบริโกคปลาน้ำจืดที่มีเกล็ด เช่น ปลาขาว ปลากระสูด ปลาตะเพียน ฯลฯ ที่มีตัวอ่อนระยะติดต่อแบบดิบ ๆ ในอาหารจานโปรด เช่น ก้อยปลา ลาบปลา ตัวเต็มวัยพยาธิก่อให้เกิดท่อน้ำดีอักเสบเรื้อรัง บางรายกินยาฆ่าพยาธิทุกปี และยังบริโภคปลาดิบ ทำให้มีการติดพยาธิซ้ำ ๆ ท่อน้ำดีเกิดการอักเสบเรื้อรังและรุนแรงเร็วขึ้น การวินิจฉัยโรคที่น่าเชื่อถือที่สุด คือ ตรวจอุจจาระหาไข่พยาธิใบไม้ตับใต้กลัองจุลทรรศน์ และบางครั้งไข่พยาธิไม่ปนออกมาในอุจจาระ ทำให้วินิจฉัยโรคไม่ได้ การตรวจหาแอนติบอดีในซีรั่มด้วยชุดทดสอบ Opisthorchiasis & Clonorchiasis ICT Kit มีค่าความไว 94.6% ค่าความจำเพาะ 91.2%นี้ จึงเป็นแนวทางใหม่ในการตรวจคัดกรองหาผู้ติดเชื้อพยาธิใบไม้ตับ เพื่อป้องกันการเกิดมะเร็งท่อน้ำดี
โดยหลังจากการประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้ มอบชุดตรวจทั้ง 2 ชนิด ให้ผู้แทนจากสำนักงานป้องกันควบคุมโรค ผู้แทนจากโรงพยาบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 22 โรงพยาบาล และ อบรมการใช้งานเชิงปฏิบัติการตามลำดับ
ทั้งนี้ Opisthorchiasis & Clonorchiasis ICT Kit และ Strongyloidiasis ICT Kit ได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรม (สกสว) และมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมี ศาสตราจารย์วันชัย มาสีวงษ์ เป็นหัวหน้าโครงการวิจัยผู้รับทุน ผลิตด้วยมาตรฐาน ISO 13486 ในประเทศไทย โดยฝีมือทีมนักวิจัยจาก ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ บริษัทเคสเทรล ไบโอไซเอ๊นซ์ (ประเทศไทย) ได้รับสิทธิ์จาก สกสว. และมหาวิทยาลัยขอนแก่นในนการผลิตเชิงพาณิชย์เพื่อจำหน่ายทั้งในและต่างประเทศ