สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ บริการวิชาการความรู้สู่ชุมชน ออกค่าย “ที่นั่งเรียน Online WI-FI Free เพื่อน้อง”

นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน  20 คน เข้าร่วมกิจกรรม HPE Aruba Networking together with Partner  โครงการที่นั่งเรียน Online “WI-FI Free เพื่อน้อง” ผู้ร่วมดำเนินกิจกรรม ประกอบด้วย ทีม HPE Aruba Networking ทีมบริษัท บริษัท ไอทีกรีน จำกัด (มหาชน) ทีมบริษัท บริษัทเน็ทเวอร์คส์เอ็กซ์พลัส จำกัด และนักศึกษาสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ในวันที่ 18 – 19 พฤศจิกายน 2566 ณ โรงเรียนบ้านถนนถั่ว (กองทัพบกประชาสามัคคี) และโรงเรียนบ้านหนองหว้า (ประชาสรรค์) อ.โนนสูง จ.นครราชสีมา

รศ.ดร.ชัชชัย คุณบัว อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการ เผยว่า ขอบคุณทีม HPE Aruba Networking ทีมบริษัท ไอทีกรีน จำกัด (มหาชน) และทีมบริษัทเน็ทเวอร์คส์เอ็กซ์พลัส จำกัด และนักศึกษาจำนวน 20 คนจาก สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ในการร่วมออกค่ายในครั้งนี้ ที่ได้ติดตั้งระบบไวไฟในโรงเรียนเพื่อให้น้องๆ สามารถเข้าถึงการเรียนการสอนแบบออนไลน์ได้ โดยมีสัญญาณไวไฟครอบคลุมพื้นที่ต่างๆ ภายในโรงเรียน ทำให้มีระบบอินเตอร์เน็ตที่ทันสมัยและสามารถใช้สำหรับการเรียนการสอนได้จริง การติดตั้งระบบไวไฟสามารถตรวจสอบ และ Monitor อุปกรณ์ไวไฟทุกจุด พร้อมตรวจสอบสถานะการพร้อมใช้งานของอุปกรณ์ไวไฟได้ผ่านระบบ Cloud บน Mobile application อย่างสะดวกและรวดเร็ว นอกจากนี้ ระบบยังมี Features ต่างๆ ที่มีประโยชน์มากมาย เช่น การ Block application หรือ Website ที่ไม่เหมาะสมต่อการเข้าถึง ทำให้โครงการนี้เป็นการสร้างสภาพแวดล้อมการเรียนการสอนที่ปลอดภัย และเพื่อส่งเสริมการค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตให้ครูและนักเรียนได้ใช้งานอย่างมีประสิทธิภาพ โครงการ “ที่นั่งเรียน Online WI-FI Free เพื่อน้อง” ถือเป็นตัวอย่างของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสร้างสรรค์ประสบการณ์การเรียนการสอนที่ทันสมัยให้กับเด็กนักเรียนและเป็นการเข้าถึงสถานการณ์การศึกษาในปัจจุบัน

นางสาวพรปวีณ์ สุริรักษ์ กล่าวว่า  ค่ายฯ ทำให้ได้เปิดมุมมองต่อการทำงานภาคปฏิบัติจริง   ว่ามีความแตกต่างมากกับการทำ Lab หรือเรียนรู้ในชั้นเรียน มีปัจจัยหลายอย่างให้คำนึงถึง เพื่อลดการเกิดปัญหา เช่น การอ่านคู่มืออย่างละเอียด การวางแผนการทำงานก่อน และความรู้ที่อาศัยประสบการณ์ถึงจะช่วยแก้ปัญหาได้ สิ่งเหล่านี้หากไม่ได้เข้าร่วมกิจกรรมจริง ลงมือปฏิบัติจริง ก็อาจจะไม่ตระหนักถึงเรื่องเหล่านี้เลย

นายภูธเนศ วงศ์ศิริธรรมโชติ กล่าวว่า  ภูมิใจที่ได้นำความรู้ที่ศึกษามา สร้างประโยชน์ให้แก่สังคม การได้ลงมือปฏิบัติงานจริงช่วยให้ได้นำความรู้ที่ศึกษามาใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ เมื่อเกิดปัญหา ทำให้ต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อแก้ไขปัญหานั้น และมีพี่ ๆ คอยให้คำแนะนำที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ทำให้ได้รับความรู้ และประสบการณ์ที่ไม่สามารถหาได้จากในชั้นเรียน

นางสาวเพชรศิริ ขันติโชติ กล่าวว่า  รู้สึกเหมือนได้ฝึกงานทำจริงที่การสื่อสารภายในทีมเป็นสิ่งที่สำคัญมาก ทั้งเรื่องการะประสานงาน และการตามดูความคืบหน้าของงานภายในทีม การตกลงให้เข้าใจตรงกัน

 

 

เฮ็ดให้สุด ขุดให้เถิง!! บทบาทของนักวิชาการและนักวิจัย COLA ชวนคุยเรื่องเศรษฐกิจสร้างสรรค์ แรงงานสร้างสรรค์ ท่ามกลางกระแสซอฟพาวเวอร์ของประเทศ ผ่านรายการ “คุณเล่า เราขยาย” ที่ Thai PBS

Scroll to Top