วันพฤหัสบดีที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2566 มหาวิทยาลัยขอนแก่นจัดโครงการ “Education Transformation” เพื่อขับเคลื่อนการปรับเปลี่ยนการจัดการศึกษา (Education Transformation) ทันต่อความต้องการของสังคม โดยมี ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี นายกสภามหาวิทยาลัย รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กรรมการสภามหาวิทยาลัย คณะผู้บริหาร คณบดี รองคณบดี คณาจารย์มหาวิทยาลัยขอนแก่นเข้าร่วม ณ โรงแรม The Salil Hotel Riverside กรุงเทพมหานคร
รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า เนื่องในโอกาสพิเศษกับการเฉลิมฉลองครบรอบ 60 ปี มหาวิทยาลัยขอนแก่นมีความมุ่งมั่นที่จะปฏิวัติการศึกษาเพื่อผลิตบัณฑิตคุณภาพให้มีทักษะแห่งอนาคต นับเป็นโอกาสอันดีที่มหาวิทยาลัยขอนแก่นได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิจากสหรัฐอเมริกา สิงคโปร์ และฟินแลนด์ที่มาร่วมแบ่งปันประสบการณ์ ความคิดสร้างสรรค์เป็นสะพานไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่นในด้านต่าง ๆ ทั้งวิทยาศาสตร์สุขภาพ, วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ตลอดจนมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ต่อไปในอนาคต
ในการนี้ ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี นายกสภามหาวิทยาลั
ต่อมา ภายในงานยังมีการเสวนาในหัวข้อ Education Transformation: challenges and opportunities is a rapidly changing world โดยได้รับเกียรติจากวิทยากรชั้นนำระดับโลก ทั้ง Dr. Edward Hundert, Dean for Medical Education, Harvard Medical School ประเทศสหรัฐอเมริกา, Dr. Preman Rajalingam, Director, Centre for Teaching, Learning and Pedagogy (CTLP), Institute of Pedagogical Innovation, Research and Excellence (InsPIRE), Nanyang Technological University ประเทศสิงคโปร์ และ Dr. Hannele Niemi, Research Director, University of Helsinki ประเทศฟินแลนด์
ขณะเดียวกัน วิทยากรแต่ละท่านยังให้เกียรติบรรยายในหัวข้อต่าง ๆ โดย Dr. Edward Hundert บรรยายในหัวข้อ “New Paradigms in Health Sciences Education” ตามด้วย Dr. Preman Rajalingam บรรยายในหัวข้อ “Introducing and Sustaining Collaborative Learning on a Large-Scale” และปิดท้ายด้วย Dr. Hannele Niemi บรรยายในหัวข้อ Active and meaningful learning for the future global world – The mission of Humanities and Social Sciences
ภายหลังจบการบรรยายในวันแรก รศ.ดร.อิศรา ก้านจักร คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หนึ่งในผู้เข้าร่วมโครงการ กล่าวว่า วันนี้ได้เรียนรู้จากผู้เชี่ยวชาญถึง 3 ทวีป ซึ่งแต่ละที่ต่างก็มีบริบทที่ทำให้เห็นว่าจะสามารถ Transform และจัดการการศึกษาอย่างไร ตั้งแต่ด้านปรัญชาและทักษะแห่งอนาคต รวมถึงการเชื่อมโยงระหว่างวิทยาศาสตร์และสังคมศาสตร์ ซึ่งสอดคล้องกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น
“คณะศึกษาศาสตร์เรา ในฐานะที่มีบทบาทสนับสนุนการศึกษาของประเทศ พร้อมที่จะขับเคลื่อน Education Transformation ตอนนี้เราต้องกระโดดไปเลย เพราะเราอุ่นเครื่องมานานแล้ว จากสิ่งที่เราได้เรียนรู้ เราก็มีของของ และที่ผ่านมาเราได้เปิดหลักสูตรใหม่เพื่อเตรียมครูในอนาคต เรียกว่า Future of teacher ที่จะทำให้ครูมีจิตวิญญาณ ควบคู่กับการสนับสนุนให้ใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะเอไอ รวมถึงการเดินหน้าบูรณาการการศึกษาร่วมกับคณะอื่น ๆ โดยมองคนเป็นตัวตั้ง เพื่อให้ครูของมหาวิทยาลัยขอนแก่นตอบโจทย์กับโลกของอนาคตได้”
นอกจากนี้ ในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2566 ยังได้มีกิจกรรม Brain storming เพื่อระดมสมองในการปรับเปลี่ยนการจัดการศึกษา แนวทางการแก้ไขปัญหาแบบ How to โดยแบ่งการกลุ่มออกเป็นกลุ่มวิทยาศาสตร์สุขภาพ กลุ่มวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และกลุ่มมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ พร้อมกับการแลกเปลี่ยนและรับฟังคำแนะนำจากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ