คณะเกษตรศาสตร์ มข. อบรมเชิงปฏิบัติการสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรด้วยการทำเบียร์ Beer Education รุ่น 3 และ รุ่น 4

การสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร สามารถกระทำได้หลายแนวทางทั้งในระดับต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำ เช่น การผลิตในระดับฟาร์มให้ได้มาตรฐานหรือคุณภาพ การนำผลผลิตมาแปรรูป ตลอดจนการสร้างบรรจุภัณฑ์และการตลาดที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการดำเนินการที่สนองกับความต้องการของผู้บริโภคมากเท่าใดยิ่งสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิตทางการเกษตรได้มากเช่นกัน

การทำผลผลิตทางการเกษตรมาทำเบียร์ ก็เป็นแนวทางหนึ่งในการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิตทางการเกษตรและสามารถสร้างความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นได้ และสามารถดำเนินการเป็นธุรกิจที่ถูกต้องตามกฎหมายได้ ซึ่งได้ดำเนินการอบรมการสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรด้วยการทำเบียร์ (Beer Education) โดยรุ่นที่ 1 ได้จัดขึ้นในช่วงงานวันเกษตรภาคอีสาน 2566 และรุ่นที่ 2 ได้ร่วมกับ Bounkerd Collage, Vientiane, Lao PDR. ในการฝึกอบรมให้กับชาวลาว ซึ่งการดำเนินการที่ผ่านมาได้รับความสนใจจากผู้สนใจจำนวนมาก จึงเกิดความคิดริเริ่มในการอบรมดังกล่าวต่อเนื่องอีกจำนวน 2 รุ่น คือ รุ่นที่ 3 (วันที่ 29-30 กรกฏาคม และ 9 สิงหาคม 2566) และรุ่น 4 (วันที่ 26-27 สิงหาคม และ 9 กันยายน 2566) รุ่นละ 21 คน รวม 42 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มของผลผลิตทางการเกษตรในท้องถิ่นด้วยการนำมาทำเบียร์ที่ถูกต้องตามหลักกฎหมาย (2) ถ่ายทอดเทคโนโลยีการทำเบียร์ Craft Beer Education ให้กับประชาชน เกษตรกร และผู้ที่สนใจ และ (3) ฝึกประสบการณ์นักศึกษาระดับปริญญาตรีในการเป็น organizer ในการจัดการฝึกอบรมและการจัดการเรียนรู้ด้านการเกษตรสู่เกษตรกรหรือผู้ประกอบการที่สนใจ

รองศาสตราจารย์ ดร. ยศ บริสุทธิ์ ประธานคณะจัดการฝึกอบรมครั้งนี้  กล่าวว่า การสร้างมูลค้าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรสามารถยกระดับได้หลายวิธีการ ซึ่งการทำเบียร์ก็เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่น่าสนใจยิ่ง ในปัจจุบันมีผู้ให้ความสนใจ Craft Beer เป็นอย่างมาก ทั้งทางด้านการเป็นผู้ผลิต และผู้บริโภค ตลอดจนการผลิตเพื่อการบริโภคเอง ซึ่งธุรกิจ Craft Beer ก็เป็นอีกหนึ่งอุตสาหกรรมทั้งในระดับ Home Brew, Pub Brew ที่มีแรงผลักดันต่อภาคการเกษตรค่อนข้างมาก อาทิ  ผู้ประกอบการที่นำผลผลิตทางการเกษตรจากเกษตรกรรายย่อยมาผลิต Craft Beer ของตนเอง เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจแบบ BCG คือ Bio Economy, Circular Economy และ Green Economy ซึ่งทางคณะเกษตรศาสตร์เอง ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ จึงเกิดความคิดริเริ่มในการขับเคลื่อ BCG ดังกล่าว รวมถึงการจัดอบรมปฏิบัติการ Beer Education การสร้างมูลค่าเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรด้วยการทำเบียร์   การจัดอบรมรุ่น 3 และรุ่น4 นี้คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมคณะสหวิทยาการ(นาย วิทยา หอมหวาน นักวิชาการวิทยาศาสตร์ชำนาญการ ) คณะเทคนิคการแพทย์ (นายศานิต บัวนิล นักงานวิทยาศาสตร์ ) ตลอดจน brewer ที่เป็นศิษย์เก่าคณะเกษตรศาสตร์ มข. (คุณสุพิชฌาย์ ภักดีพิพัฒน์ ) และ เครือข่าย brewer ในฐานะวิทยากรรับเชิญพิเศษ (คุณสุเมธ แซ่โค้ว  คุณต้นกล้า ตรุษะ และคุณภัคเนติ์ โสภิญนันท์)

 

ภาพและข่าว: นางสาวพจมาลย์ ธำรงยศวิทยากุล ,นางสาวชุตินันท์ ชมภูจันทร์ และนางสาวขวัญนภา หินคล้าย

 

Scroll to Top