สถาบันวิจัยฯ ครูอาเซียน ร่วมวิจัยและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ Colouring Book เน้นพัฒนาการคิดเชิงคำนวณแก่นักเรียนไทย และนำใช้ในโรงเรียนกลุ่มประเทศสมาชิก APEC

สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน จัดอบรมเชิงปฏิบัติการ Unplugged Computational Thinking Using Colouring Book หรือ การพัฒนาทักษะการคิดเชิงคำนวณผ่านสื่อจากหนังสือ “Colouring Book” โดยไม่ใช้คอมพิวเตอร์ เป็นตัวเน้นการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ให้กับผู้เรียน ในวันที่ 27 กรกฎาคม 2566 ณ ห้องประชุม 2302 อาคารสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน หลังที่ 2

โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้ร่วมมือกับ SEAMEO STEM-Ed และ University of Tsukuba, Japan และ Centro de Investigacion Avanzada en Educacion, Universidad Chile, Chile อีกทั้งยังมีหน่วยงาน SEAMEO RECSAM และ SEAMEO Qitep in Mathematics (SEAQIM) และ SEAMOLEC ร่วมด้วย ในการจัดทำโครงการพัฒนา Guidebook of Computational Thinking ซึ่งความร่วมมือนี้ เกิดจากทางทีมได้เห็นว่าในยุคที่กำลังขับเคลื่อนด้วยดิจิทัล การพัฒนาการคิดเชิงคำนวณบนปัญญาประดิษฐ์ (AI) และ Big Data มีความสำคัญอย่างมาก และในการพยายามส่งเสริมการปฏิรูปการศึกษาระดับภูมิภาค จะต้องเน้นไปที่การคิดเชิงคำนวณ (computational thinking) จึงได้ร่วมกันวิจัยและพัฒนาเกี่ยวกับการคิดเชิงคำนวณมาโดยตลอด  และในครั้งนี้ได้มีการนำสื่อในการเรียนรู้ “Colouring Book เพื่อนำมาเป็นแนวทางในการพัฒนาด้านการคิดเชิงคำนวณและการคิดเชิงสถิติ เน้นสร้างผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ดีกับนักเรียน นอกเหนือจากเรื่องวิชาการเฉพาะ และการปฏิรูปหลักสูตรระดับโรงเรียนจะสามารถเข้าถึงได้ง่ายมากขึ้น

ผู้ร่วมจัดงานในครั้งนี้

“ 1.University of Tsukuba, Japan

2.University of Chile, Chile

3.SEAMEO RECSAM, Malaysia

4.SEAMEO QITEP in Mathematics, Indonesia

5.SEAMEO SEAMOLEC, Indonesia

6.SEAMEO STEM-ED, Thailand

7.IRDTP – KKU, Thailand “

และสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ยังได้รับเกียรติในการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ Unplugged Computational Thinking Using Colouring Book : Classroom Observation ให้กับหน่วยงานความร่วมมือจากประเทศต่าง ๆ ซึ่งการจัดงานครั้งนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมในงานประชุม SEAMEO Centre Directors Meeting (CDM) 2023 เมื่อวันที่ 25-26 กรกฎาคม 2566 ที่ผ่านมา โดยทีมได้เดินทางมารับชมชั้นเรียนของนักเรียนไทย นำโดย Prof. Masami Isoda Director, Centre for Research on International Cooperation in Educational Development (CRICED) University of Tsukuba, Japan , Prof. Roberto Araya Professor University of Chile ,ทีมจากศูนย์ SEAMEO Dr. Shah Jahan bin Assanarkutty Centre Director SEAMEO RECSAM Malaysia , Dr. Sumardyono Centre Director SEAMEO QITEP in Mathematics, Indonesia , Dr. Wahyudi Centre Director SEAMEO SEAMOLEC, Indonesia พร้อมคณะ รวมจำนวน 13 ท่าน

โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ และรักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันฯ กล่าวต้อนรับ และ ดร.กฤษฎ์ชัย สมสมาน ผู้อำนวยการศูนย์ SEAMEO STEM-ED กล่าวเปิดงาน

ในการรับชมการเปิดชั้นเรียน รวมถึงร่วมสังเกตชั้นเรียนของสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียนนี้ เป็นชั้นเรียนที่ได้รับการพัฒนาทักษะการคิดด้านคณิตศาสตร์มาระยะหนึ่ง จำนวน 2 ชั้นเรียน ประกอบด้วย 1.ชั้นเรียน Colouring Books ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านหนองกุงวิทยาคาร สอนโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤมล ช่างศรี และ 2.ชั้นเรียนหุ่นยนต์ ของนักศึกษาระดับปริญญาโท คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สอนโดย Prof. Masami Isoda อีกทั้งยังได้เชิญผู้เข้าร่วมการประชุม CDM เข้าร่วมกิจกรรมด้วย

จากการเปิดชั้นเรียนและการสังเกตชั้นเรียนผ่านการใช้ Colouring Book จะสามารถนำผลลัพธ์การใช้หนังสือเรียนในบริบทของนักเรียนไทย พัฒนาต่อยอดเพื่อนำไปใช้ในระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และมัธยมศึกษาตอนปลายต่อไป รวมถึงการนำไปใช้ในโรงเรียนของประเทศอื่น ๆ ต่อไป ซึ่งจะมีการเริ่มนำไปใช้ในกลุ่มประเทศสมาชิกเขตเศรษฐกิจ APEC และในการดำเนินต่าง ๆ นี้ ได้รับคำแนะนำและการสนับสนุนจากโครงการ APEC InMside I ตลอดกระบวนการพัฒนาอีกด้วย

ซึ่งการอบรมเชิงปฏิบัติการและความร่วมมือในครั้งนี้ จะทำให้มั่นใจได้ว่าสื่อการเรียนรู้จะสามารถสร้างผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ดีกับนักเรียน รวมถึงการสร้างเครือข่ายด้านการวิจัยและส่งเสริมโอกาสในการทำงานร่วมกันระหว่างประเทศสำหรับผู้เข้าร่วมทุกกลุ่ม อีกทั้งการดำเนินงานยังสนับสนุนยุทธศาสตร์สถาบันฯ ในการสร้างความร่วมมือเพื่อความเข้มแข็งทางวิชาการ และสนับสนุนเรื่องการสร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต (SDG4) และสร้างความร่วมมือระดับสากลต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG17)

 

ข่าว  พีรณัฐ เอี่ยมทอง

ดร.กฤษฎ์ชัย สมสมาน ผู้อำนวยการศูนย์ SEAMEO STEM-ED

Scroll to Top