นักศึกษาและนักวิจัยหลังปริญญาเอกจาก ม.ขอนแก่น คว้ารางวัล WIIPA Grand Prize และ Commercial Potential Award

นักศึกษาและนักวิจัยหลังปริญญาเอกจาก มข.ทำผลงานยอดเยี่ยม คว้ารางวัล WIIPA Grand Prize และ Commercial Potential Award จากเวที 2022 Kaohsiung International Invention & Design Expo (KIDE 2022) ณ เมืองเกาสง ไต้หวัน

นักศึกษาและนักวิจัยหลังปริญญาเอกจาก ม.ขอนแก่น ทำผลงานยอดเยี่ยม คว้ารางวัล WIIPA Grand Prize และ รางวัลผลงานที่มีศักยภาพสู่เชิงพาณิชย์ Commercial Potential Award ซึ่งทีม มข. เป็นทีมจากประเทศไทยทีมเดียวที่ได้รับรางวัลนี้ จากเวที 2022 Kaohsiung International Invention & Design Expo (KIDE 2022) ณ เมืองเกาสง ไต้หวัน ภายใต้การนำทีมโดย สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

นักศึกษาและนักวิจัยหลังปริญญาเอกจาก มข.ทำผลงานยอดเยี่ยม คว้ารางวัล WIIPA Grand Prize และ Commercial Potential Award จากเวที 2022 Kaohsiung International Invention & Design Expo (KIDE 2022) ณ เมืองเกาสง ไต้หวัน
นักศึกษาและนักวิจัยหลังปริญญาเอกจาก มข.ทำผลงานยอดเยี่ยม คว้ารางวัล WIIPA Grand Prize และ Commercial Potential Award จากเวที 2022 Kaohsiung International Invention & Design Expo (KIDE 2022) ณ เมืองเกาสง ไต้หวัน

      เมื่อวันที่ 1 – 3 ธันวาคม  2565 สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ(วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ได้นำคณะนักประดิษฐ์และนักวิจัยจากประเทศไทยมากกว่า 100 คน ร่วมนำเสนอผลงานการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ ในเวที 2022 Kaohsiung International Invention & Design Expo (KIDE 2022) เมื่อวันที่ 1 – 3 ธันวาคม 2565 ณ International Convention Center Kaohsiung (ICCK) เมืองเกาสง ไต้หวัน โดยมีนักประดิษฐ์และนักวิจัย ซึ่งเป็นนักศึกษาและนักวิจัยหลังปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ประกอบด้วย 1.นายยุทธนากร คณะพันธุ์  2.นางสาวจิราพรรณ ใจกาวัง  และ 3. ดร.ทรงยุทธ แก้วมาลา สาขาวัสดุศาสตร์และนาโนเทคโนโลยี สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ ใช้ชื่อทีมว่า RenewSi โรงงานแบตเตอรี่และพลังงานยุคใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยมี รศ.ดร. นงลักษณ์ มีทอง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาทำผลงานได้ยอดเยี่ยม สร้างความภาคภูมิใจให้กับประเทศไทยและมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการคว้ารางวัล WIIPA Grand Prize ซึ่งเป็นรางวัลสูงสุดของงานจากการประกวดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมระดับนานาชาติ ในเวที 2022 Kaohsiung International Invention & Design Expo (KIDE 2022) จากผลงานเรื่อง “แหล่งวัตถุดิบหมุนเวียนสำหรับการผลิตวัสดุซิลิกอนเป็นขั้วไฟฟ้าเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ที่สามารถอัดและคายประจุเร็ว” ซึ่งนวัตกรรมดังกล่าวเป็นการนำวัสดุซิลิกอนที่อยู่ในขยะอิเล็กทรอนิกส์ และวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาผ่านกระบวนการและขึ้นรูปให้เกิดมูลค่าสูงขึ้น โดยนำไปปรับใช้กับรถพลังงานไฟฟ้า และยังคว้ารางวัลผลงานที่มีศักยภาพสู่เชิงพาณิชย์ Commercial Potential Award ซึ่งทีมจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นทีมจากประเทศไทยทีมเดียวที่ได้รับรางวัลนี้

นักศึกษาและนักวิจัยหลังปริญญาเอกจาก มข.ทำผลงานยอดเยี่ยม คว้ารางวัล WIIPA Grand Prize และ Commercial Potential Award จากเวที 2022 Kaohsiung International Invention & Design Expo (KIDE 2022) ณ เมืองเกาสง ไต้หวัน
นักศึกษาและนักวิจัยหลังปริญญาเอกจาก มข.ทำผลงานยอดเยี่ยม คว้ารางวัล WIIPA Grand Prize และ Commercial Potential Award จากเวที 2022 Kaohsiung International Invention & Design Expo (KIDE 2022) ณ เมืองเกาสง ไต้หวัน

   

รศ.ดร.นงลักษณ์ มีทอง อ.ที่ปรึกษาโครงการ ฯ
รศ.ดร.นงลักษณ์ มีทอง อ.ที่ปรึกษาโครงการ ฯ

     จากการสร้างผลงานอันยอดเยี่ยมของนักประดิษฐ์และนักวิจัย ซึ่งเป็นนักศึกษาและนักวิจัยหลังปริญญาเอก จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น และนักประดิษฐ์และนักวิจัยจากสถาบันต่าง ๆ ที่เดินทางไปร่วมประกวดในครั้งนี้  ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้กล่าวชื่นชมและแสดงความยินดีกับนักประดิษฐ์นักวิจัยไทยที่ได้รับรางวัลจากเวที KIDE 2022 ที่ได้สร้างชื่อเสียงและสร้างการยอมรับในมาตรฐานของผลงานสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมของประเทศไทยในเวทีนานาชาติครั้งนี้ รวมทั้ง วช.จะมีกลไกในการส่งเสริมและต่อยอดสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรมที่ได้รับรางวัล เพื่อให้เกิดมาตรฐานและใช้ประโยชน์ในการพัฒนาประเทศต่อไป

ดร.วิภารัตน์-ดีอ่อง-ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ
ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

     ทั้งนี้นอกจากผลงานที่ได้รับรางวัล WIIPA Grand Prize ได้แก่ ผลงานเรื่อง “แหล่งวัตถุดิบหมุนเวียนสำหรับการผลิตวัสดุซิลิกอนเป็นขั้วไฟฟ้าเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ที่สามารถอัดและคายประจุเร็ว” ซึ่งนวัตกรรมดังกล่าวเป็นการนำวัสดุซิลิกอนที่อยู่ในขยะอิเล็กทรอนิกส์ และวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรมาผ่านกระบวนการและขึ้นรูปให้เกิดมูลค่าสูงขึ้น โดยนำไปปรับใช้กับรถพลังงานไฟฟ้า จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย นายยุทธนากร คณะพันธุ์  นางสาวจิราพรรณ ใจกาวัง  และ ดร.ทรงยุทธ แก้วมาลา สาขาวัสดุศาสตร์และนาโนเทคโนโลยี สาขาวิชาฟิสิกส์ คณะวิทยาศาสตร์ ซึ่งมี รศ.ดร. นงลักษณ์ มีทอง เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาแล้ว ยังมีผลงานของนักประดิษฐ์นักวิจัยไทยที่คว้าเหรียญรางวัลจากเวที KIDE 2022 ในประเภทต่างๆ ดังนี้

-รางวัลGold Medal 15 ผลงาน ได้แก่

1.ผลงานเรื่อง “ของเล่น Doll House เพื่อบ่มเพาะความเข้าอกเข้าใจสำหรับเด็กปกติกับผู้มีความต้องการพิเศษ”จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

2.ผลงานเรื่อง”ผลิตภัณฑ์จากก้านบัวหลวงเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของชุมชน”จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

3.ผลงานเรื่อง”การทดแทนไขมันในเค้กไข่ด้วยเจลวุ้นผลสำรอง” จาก มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

4.ผลงานเรื่อง “ผลิตภัณฑ์พาสตาข้าวกล้องเพื่อสุขภาพเสริมผักใบเขียวแคลเซียมสูง” จาก มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

5.ผลงานเรื่อง “กระถางต้นไม้ดักยุง” จาก โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ตรัง

6.ผลงานเรื่อง “ชุดอุปกรณ์เสริมสมรรถภาพการบริหารข้อต่อหลังผ่าตัด” จาก โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย

7.ผลงานเรื่อง “เอ็ม ซี อาร์ ยานสำรวจใต้น้ำ” จาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

8.ผลงานเรื่อง “ชุดเครื่องมือติดตั้ง Nut Set ของ U-Bolt Suspension Clamp” จาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

9.ผลงานเรื่อง “รถกระเช้าขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้าเพื่องานบำรุงรักษาสายส่ง” จาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

10.ผลงานเรื่อง “รอกไฟฟ้านำสายสะพานเพื่อพาดสายกรณีสายขาด” จาก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

11.ผลงานเรื่อง “ระบบสำรวจเส้นทางด้วยแอปพลิเคชัน” จาก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

12.ผลงานเรื่อง “โมดูลขยายฟังก์ชันตรวจจับสายขาดสำหรับรีเลย์ในระบบ 22kV” จาก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

13.ผลงานเรื่อง “แหล่งวัตถุดิบหมุนเวียนสำหรับการผลิตวัสดุซิลิกอนเป็นขั้วไฟฟ้าเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมแบตเตอรี่ที่สามารถอัดและคายประจุเร็ว” จาก มหาวิทยาลัยขอนแก่น

14.ผลงานเรื่อง “แจกันหัตถศิลป์ลายทอง” จาก วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช

15.ผลงานเรื่อง “การยกระดับกิจกรรมท่องเที่ยวเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ ด้วยนวัตกรรมการผลิตและอนุรักษ์หัตถกรรมเครื่องเงินตะเกาว์ลายโบราณ อำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์” จาก โรงเรียนจอมพระประชาสรรค์

-รางวัลSilver Medal 9 ผลงาน ได้แก่

1.ผลงานเรื่อง “ชาหมักจากเปลือกกล้วย” จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

2.ผลงานเรื่อง “นวัตกรรมผ้าใยกล้วยพิมพ์ลายพฤกษชาติ” จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

3.ผลงานเรื่อง “ผักแผ่นกรอบเสริมแคลเซียมผสมข้าวไรซ์เบอร์รี่” จาก มหาวิทยาลัยสวนดุสิต

4.ผลงานเรื่อง “ถุงมือเพิ่มประสิทธิภาพการกายภาพบำบัดในผู้ป่วยหลอดเลือดสมองระยะฟื้นฟู”                    จาก โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย

5.ผลงานเรื่อง “Medisync: อุปกรณ์บำบัดการสื่อสารสำหรับผู้ป่วยหลอดเลือดสมอง” จาก โรงเรียนกรุงเทพ คริสเตียนวิทยาลัย

6.ผลงานเรื่อง “การขนส่งข้าวเปลือกอัจฉริยะด้วยระบบฟลูอิไดเซชัน” จาก โรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย

7.ผลงานเรื่อง “Gas Heater ครอบจักรวาล” จาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

8.ผลงานเรื่อง “ระบบควบคุมตู้อบไล่ความชื้นผ่านสมาร์ทโฟนในงานซ่อมหม้อแปลงเครื่องมือวัด” จาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

9.ผลงานเรื่อง “เครื่องมือปอกสายติดตั้งมิเตอร์” จาก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

-รางวัลBronze Medal 5 ผลงาน ได้แก่

1.ผลงานเรื่อง “บรรจุภัณฑ์อาหารกระป๋องและอาหารแช่เยือกแข็งพร้อมอุ่นรับประทานที่เป็นมิตร

กับสิ่งแวดล้อมที่สามารถย่อยสลายได้เชิงชีวภาพได้”จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

2.ผลงานเรื่อง “การสร้างสรรค์นวัตกรรมศิลป์: ศรัทธา” จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี

3.ผลงานเรื่อง “การพัฒนาเซ็นเซอร์แบบกระดาษเพื่อใช้ในการตรวจจับเหล็ก 2+ในน้ำ” จาก โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย มุกดาหาร

4.ผลงานเรื่อง “หุ่นยนต์ทำความสะอาดรางน้ำใส” จาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

5.ผลงานเรื่อง “หัวเจาะพิฆาต” จาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

นอกจากนี้ สิ่งประดิษฐ์และและนวัตกรรมจากประเทศไทยอีก 3 ผลงาน ได้รับ Special Prize on Stage จากองค์กรนานาชาติ ดังนี้

  • Korea University Invention Association มอบรางวัลให้แก่ผลงานเรื่อง “ผลิตภัณฑ์พาสตาข้าวกล้องเพื่อสุขภาพเสริมผักใบเขียวแคลเซียมสูง” โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปัญญภัสก์ ปิ่นแก้วและคณะ จาก มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
  • Eurobusiness-Haller มอบรางวัลให้แก่ผลงานเรื่อง “ของเล่น Doll House เพื่อบ่มเพาะความเข้าอกเข้าใจสำหรับเด็กปกติกับผู้มีความต้องการพิเศษ” โดย ผศ.พรเทพ เลิศเทวศิริ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • Toronto International Society of Innovation & Advanced Skills มอบรางวัลให้แก่ผลงานเรื่อง “ระบบสำรวจเส้นทางด้วยแอปพลิเคชัน” โดย นายภานิสินธุ์ เฟื่องฟุ้ง นายฉัตรชัย วิชาตรง และคณะ จาก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พร้อมด้วย Special Prize จากประเทศต่างๆ อีกหลายผลงาน

 

รวบรวม เรียบเรียง ข่าว : เบญจมาภรณ์  มามุข

ข้อมูล ภาพ  :  เฟซบุ๊ก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

KKU’s post-doctoral students and researchers win WIIPA Grand Prize and Commercial Potential Award from 2022 Kaohsiung International Invention & Design Expo (KIDE 2022) in Kaohsiung, Taiwan

https://www.kku.ac.th/15733

https://www.facebook.com/photo/?fbid=466249655696472&set=pcb.466249742363130

 

 

 

   

Scroll to Top