เมื่อวันที่ 29-30 ตุลาคม 2565 มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน ศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา และมูลนิธิการศึกษาเพื่อการพัฒนาทักษะการคิด สนับสนุนโดย กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) จัดกิจกรรมสัมมนาผู้บริหารโรงเรียนภายใต้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach) ณ สถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น อาคาร 2
เวลา 09.00 น. ได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวเปิดการประชุม รองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ และรักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันฯ กล่าวรายงานประวัติความเป็นมาของการจัดงานสัมมนาฯ รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อุปนายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น และ ดร.ภูมิพัทธ เรืองแหล่ ผู้ช่วยเลขาธิการสภาการศึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันวิจัยและพัฒนาวิขาชีพครูสำหรับอาเซียน กล่าวต้อนรับ อีกทั้งยังได้รับเกียรติจาก ดร.บุญญา หลีเหลด อดีตวุฒิสมาชิกวุฒิสภา และประธานอนุกรรมการด้านการศึกษาและวิทยาศาสตร์ ได้กล่าวทักทายผู้อำนวยการโรงเรียนและครูที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้
นอกจากนั้น ยังได้รับฟังปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “ทิศทางการใช้การวิจัยนวัตกรรมทางการศึกษาของประเทศ” โดย ศาสตราจารย์ ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา และ การบรรยายพิเศษให้กับผู้อำนวยการโรงเรียนและผู้เข้าร่วมกิจกรรม ในหัวข้อ “การศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะการคิด (Thinking Skills) : Thailand Lesson Study and Open Approach” โดย รองศาสตราจารย์ ดร. ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์
ศาสตราจารย์ ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา
รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์
รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ และรักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันฯ
ซึ่งกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นการสัมมนาผู้บริหารโรงเรียนภายใต้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียน (Lesson Study) และวิธีการแบบเปิด (Open Approach) โดยมีผู้อำนวยการโรงเรียนในโครงการฯ รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 รวมทั้งผู้อำนวยการโรงเรียนในพื้นที่นวัตกรรมภายใต้การดำเนินงานของมูลนิธิการศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะการคิด และผู้อำนวยการโรงเรียนภายใต้การดำเนินงานของศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา ประกอบด้วย ผู้บริหารและคณะครูโรงเรียนที่ใช้นวัตกรรมฯ จำนวนกว่า 114 โรงเรียน ครอบคลุม 19 จังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออก ภาคเหนือ ภาคกลาง และภาคใต้
และยังประกอบด้วยกิจกรรมต่าง ๆ เพื่อเป็นพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้นวัตกรรม การพัฒนาองค์ความรู้ การใช้นวัตกรรมผ่านการปฏิบัติจริง รวมถึงการถอดบทเรียนจากการดำเนินงานและรับฟังข้อเสนอแนะจากโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในเขตพื้นที่ เป็นแนวทางในการดำเนินงานให้กับผู้บริหารโรงเรียนในโครงการฯ ที่เข้ามาเป็นโรงเรียนเครือข่ายรุ่นใหม่ ให้สามารถทำงานร่วมกับสถาบันวิจัยและพัฒนาวิชาชีพครูสำหรับอาเซียนต่อไป อาทิ
- การเปิดชั้นเรียน (Open Class) วิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้กับนักเรียนโรงเรียนบ้านไผ่ เรื่อง การจัดการข้อมูล สอนโดย นายอนุชา โคยะทา จาก Global Innovation School
- การสะท้อนผลการเปิดชั้นเรียน นำโดย รองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ และอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญ
- การเสวนาผู้อำนวยการโรงเรียน ในประเด็น “ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากการใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด (Thailand Lesson Study and Open Approach) ในด้านต่าง ๆ และ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากการใช้ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด (Thailand Lesson Study and Open Approach)” โดย ตัวแทนผู้อำนวยการโรงเรียนที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด และตัวแทนกลุ่มผู้อำนวยการเกษียณอายุราชการ
- การประชุมชมรมผู้บริหารโรงเรียน
- งานแสดงมุทิตาจิตแด่ผู้อำนวยการโรงเรียนในเครือข่ายที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิด ที่ได้เกษียณอายุราชการในปีงบประมาณ 2565
และในวันที่ 30 ตุลาคม 2565 ได้จัดกิจกรรมคู่ขนาน 2 ส่วน ดังนี้
- การลงนามบันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ ด้านการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 52 โรงเรียน
- การอบรมเชิงปฏิบัติการการเขียนแผนการจัดการเรียนการสอนแบบเคียวไซเคงคิว (Kyozai Kenkyu) จำนวน 7 ห้องย่อย ประกอบด้วย
-
-
- ห้องที่ 1 การเขียนแผนการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษาตอนต้น
โดย อ.ดร.นิศากร บุญเสนา อาจารย์ประจำสาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มข. - ห้องที่ 2 การเขียนแผนการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษาตอนปลาย
โดย อ.ดร.จิตรลดา ใจกล้า อาจารย์ประจำสาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มข. - ห้องที่ 3 การเขียนแผนการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
โดย รองศาสตราจารย์ เอื้อจิตร พัฒนจักร ผู้ทรงคุณวุฒิประจำสถาบันฯ และอดีตอาจารย์ประจำสาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มข. และ อ.ณัฐธิดา นามบุดดี อาจารย์ประจำสาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มข. - ห้องที่ 4 การเขียนแผนการสอน Pattern Blocks
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นฤมล ช่างศรี ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยคณิตศาสตรศึกษา และผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันฯ ด้านงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม - ห้องที่ 5 การเขียนแผนการสอนรายวิชาวิทยาศาสตร์
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จิรดาวรรณ หันตุลา อาจารย์ประจำสาขาวิทยาศาสตร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มข. และผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันฯ ด้านงานพัฒนาวิชาชีพและบริการวิชาการ - ห้องที่ 6 การเขียนแผนการสอนรายวิชาศิลปะ และการงานอาชีพ (บูรณาการ)
โดย รองศาสตราจารย์จุมพล ราชวิจิตร ที่ปรึกษาด้านบริการและจัดฝึกอบรม สถาบันฯ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ปิยะศักดิ์ ปักโคทานัง อาจารย์ประจำสาขาศิลปศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มข. และผู้ช่วยศาสตราจารย์เขม เคนโคก อาจารย์ประจำสาขาศิลปศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มข. - ห้องที่ 7 การเขียนแผนการสอนรายวิชาภาษา
โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พงศ์ธนัช แซ่จู รักษาการแทนรองผู้อำนวยการสถาบันฯ และอาจารย์ประจำสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มข. ผู้ช่วยศาสตราจารย์นารีนารถ กลิ่นหอม ผู้ช่วยผู้อำนวยการสถาบันฯ ด้านงานบริหาร และอาจารย์ประจำวิชาการสอนภาษาจีนในฐานะภาษาต่างประเทศ คณะศึกษาศาสตร์ มข. อ.พวงทอง พูลเรือง ผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารงานบุคคล สถาบันฯ และนายอรรค อินทร์ประสิทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาวิชาชีพครูและบุคลากรทางการ สถาบันฯ
- ห้องที่ 1 การเขียนแผนการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษาตอนต้น
-
จากนั้น ผู้เชี่ยวชาญได้สะท้อนผลร่วมกับผู้เข้าร่วมอบรม และปิดกิจกรรม ซึ่งการประชุมสัมมนาผู้อำนวยการโรงเรียนที่ใช้นวัตกรรมการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดนี้ มีการดำเนินการต่อเนื่องมาเป็นปีที่ 8 มีผู้เข้าร่วมทั้งทาง Online และ On-site ประกอบด้วย ผู้อำนวยการ บุคลากรทางการศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครู อาจารย์เครือข่ายจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ คณะกรรมการบริหารสถาบันฯ ผู้ทรงคุณวุฒิประจำสถาบันฯ ผู้บริหารและบุคลากรมหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมกว่า 517 คน
ศาสตราจารย์ ดร.มนต์ชัย ดวงจินดา รองอธิการบดีฝ่ายวิจัยและบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ และรักษาการแทนผู้อำนวยการสถาบันฯ
รองศาสตราจารย์ ดร.กิตติชัย ไตรรัตนศิริชัย อุปนายกสภามหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา และอดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น
ดร.ภูมิพัทธ เรืองแหล่ ผู้ช่วยเลขาธิการสภาการศึกษาและผู้ทรงคุณวุฒิสถาบันวิจัยและพัฒนาวิขาชีพครูสำหรับอาเซียน
ดร.บุญญา หลีเหลด อดีตวุฒิสมาชิกวุฒิสภา และประธานอนุกรรมการด้านการศึกษาและวิทยาศาสตร์