เมื่อวันที่ 11 กันยายน 2565 คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดอบรมเชิงบรรยาย เกี่ยวกับ “การตลาดและช่องทางการจัดจำหน่าย” เพื่อให้คนในชุมชนสามารถวางแผนการผลิตและสร้างช่องทางการจัดจำหน่ายที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ผ้าไหมและกล้วยฉาบ ภายใต้การดำเนินโครงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมฐานรากหลังโควิดด้วยเศรษฐกิจหมุนเวียน BCG (U2T for BCG) ในพื้นที่ ต.ป่ามะนาว อ.บ้านฝาง จ.ขอนแก่น
ซึ่งทางโครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการด้าน BCG ในการนำสินค้าและบริการในชุมชนมาพัฒนาและต่อยอดโดยการใช้องค์ความรู้ทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาเพื่มมูลค่าของสินค้าในชุมชนอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
การจัดงานอบรมครั้งนี้ มีเนื้อหาบรรยายเกี่ยวกับ (1) การวางแผนการผลิตภายในชุมชน (2) การตลาดสมัยใหม่ (3) การตั้งคำถามต่อสินค้าและบริการของตัวเองและคู่แข่ง เช่น ลูกค้าคือใคร ทำไมลูกค้าถึงซื้อของเรา เป็นต้น (4) ตั้งกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน (5) การตั้งราคาขายที่ถูกต้อง (6) หลักการทำการตลาดออนไลน์ และมีการทำกิจกรรมกลุ่มโดยให้คนในกลุ่มผ้าไหมทอมือและกล้วยฉาบช่วยกัน (1) วางแผนการตลาดตามหลักการ 4P (Marketing mix) หรือหลักการในการทำการตลาดโดยคำนึงถึง ราคา ช่องทางการจัดจำหน่าย และ การส่งเสริมการตลาดที่เหมาะกับผลิตภัณฑ์นั้นๆ (2) การตั้งกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนกับผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สามารถทำการตลาดให้สอดคล้องกันได้
โดยมี รศ.ดร. ภาณุพล หงษ์ภักดี และ ผศ.ดร. ศุภัชญา นามพิลา อาจารย์จากสาขาวิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นผู้รับผิดชอบดูแลโครงการในครั้งนี้ และได้รับเกียรติจาก ผศ.หยาดรุ้ง มะวงศ์ไว อาจารย์จากสาขาวิชาเศรษฐศาสตร์การเกษตร มาเป็นวิทยากรการอบรมในครั้งนี้
ทางโครงการหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการอบรมในครั้งนี้จะสามารถทำให้คนในชุมชนป่ามะนาวได้เรียนรู้ถึงแนวทางการวางแผนการผลิตและจัดการรูปแบบการทำการตลาดแบบต่างๆ รวมถึงช่องทางการจัดจำหน่วยผลิตภันฑ์ผ้าไหมและกล้วยฉาบได้ย่างเพลหมาะสม
ข่าว : นางสาววิยดี ธัญยาธีรพงษ์