สำนักข่าว: ผู้จัดการออนไลน์
URL: https://mgronline.com/onlinesection/detail/9630000097872
วันที่เผยแพร่: 24 ก.ย. 2563
สวทช. ลงนามร่วม MOU กับพันธมิตรภายใต้ภาคีเครือข่าย TESTA มหาวิทยาลัยขอนแก่น มจธ. มจพ. และสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย เพื่อผลักดันการพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทย เพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านด้านพลังงานสู่ความยั่งยืนในยุคดิจิทัล
วันนี้ (24 ก.ย.) ที่ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค (BITEC) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดย สํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวท มหาวิทยาลัยขอนแก่น (มข.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (มจธ.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระ จอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ ) ร่วมกับ สมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ 2 เครอข่ายเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทย (Thailand Energy Storage Technology Alliance: TESTA เพื่อสร้างเครือข่ายการดําเนินงานในการพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทยตลอดทั้งห่วงโซ่มูลค่า โดยมี นายกิตติกร โล่ห์สุนทร ประธานคณะกรรมาธิการการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร ให้เกียรติเป็นประธานและสักที พยานในการลงนาม พร้อมด้วย ผู้บริหารจาก 5 หน่วยงานภาค
นายกิตติกร โล่ห์สุนทร ประธานคณะกรรมาธิการการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร กล่าวว่า การลงนาม บันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ภาคีเครือข่ายเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทย ระหว่าง 5 หน่วยงาน จะมีส่วนช่วย เสริมสร้างความเข้มแข็ง และผลักดันให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานในประเทศ ทั้งในระดับงานวิจัย จนถึงอุตสาหกรรม เพื่อรองรับเทคโนโลยี ระบบกักเก็บพลังงานที่จะเข้ามามีบทบาทในการขับเคลื่อนประเทศสู่การ เปลี่ยนผ่านด้านพลังงานและด้านอุตสาหกรรม โดยเฉพาะอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ที่รัฐบาลต้องการผลักดัน โดยมีเป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางการผลิตยานยนต์ไฟฟ้าในภูมิภาคภายในปี 2568 และปริมาณผลิตยานยนต์ไฟฟ้า 750,000 คันภายในปี 2573 โดยกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน และกระทรวงคมนาคม ได้ร่วมเป็นผู้นําใน การดําเนินการตามยุทธศาสตร์ร่วมกับผู้เกี่ยวข้องผ่านนโยบายยานยนต์ไฟฟ้าแห่งชาติ ผ่านแผนงานด้านการให้สิทธิ พิเศษส่งเสริมการขาย และการผลิตให้กับบริษัทรถยนต์และชิ้นส่วนจากทั้งในและต่างประเทศ รวมถึงมีแผนการ ส่งเสริมให้เกิดสถานีชาร์จอย่างกว้างขวาง โดยคาดหวังว่าการเกิดภาคีเครือข่ายระบบข่ายเทคโนโลยีระบบกักเก็บ พลังงานไทยจะเป็นจุดเริ่มต้นของความร่วมมือและใกล้ชิดระหว่างภาคอุตสาหกรรมและหน่วยวิจัยทั้งในประเทศไทย และต่างประเทศ เพื่อสร้างระบบนิเวศของอุตสาหกรรมพลังงานสะอาด และยานยนต์ไฟฟ้าที่สมบูรณ์ ตอบสนอง เป้าหมายของสังคมแห่งพลังงานสะอาดที่เข้าถึงได้
ดร. ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า สวทช. มีนโยบายและให้ความสําคัญในการดําเนินงานด้านพลังงานและสร้างความเป็นเลิศในการเป็นผู้นํา ด้านเทคโนโลยีพลังงาน พร้อมทั้งเชื่อมโยงงานวิจัยและพัฒนากับกระทรวงพลังงานและภาคส่วนต่างๆ ในการ ขับเคลื่อนแผนพลังงานไปสู่การใช้งานจริง สําหรับการลงนามความร่วมมือในวันนี้ ถือเป็นก้าวสําคัญของศูนย์ เทคโนโลยีพลังงานแห่งชาติ (National Energy Technology Center: ENTEC) ที่เพิ่งได้รับการจัดตั้งโดยมติ คณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2563 เพื่อเป็นศูนย์รวมในการบูรณาการความร่วมมือการวิจัยและพัฒนา
เทคโนโลยีพลังงานของประเทศและนานาชาติ รวมทั้งเชื่อมโยงงานวิจัยและพัฒนาที่มุ่งเน้นการต่อยอดไปสู่การมีส่วนร่วมของภาคส่วนต่างๆ โดยการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงาน เป็นหนึ่งในเทคโนโว ถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ รวมถึงการให้คําปรึกษากับภาคเอกชน ไปสู่เป้าหมา จากต่างประเทศ แก้ปัญหาในอุตสาหกรรมพลังงานของประเทศ รวมถึงการยกระดับมาตรฐานทั้งด้านการทดสอบ การควบคุมคุณภาพให้เกิดขึ้นในประเทศอย่างเป็นระบบร่วมกัน เพื่อให้เกิดห่วงโซ่คุณค่าด้านระบบกักเก็บ สมบูรณ์ สามารถส่งเสริมคุณภาพชีวิต สร้างงาน สร้างรายได้สร้างความมั่นคงให้กับประเทศอย่างยั่งยืน
ศ.ดร. ธิดารัตน์ บุญมาศ รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า มหาวิทยาลัยมีการวิจัยพัฒนาด้านวัสดุสําหรับแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน และโรงงานต้นแบบแบตเตอรี่ลิเทียมไอออน แห่งแรกในประเทศไทย รวมถึงการผลิตบุคลากรเข้าสู่อุตสาหกรรม และการถ่ายทอดองค์ความรู้ต่างๆ ใน ภาคอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่นจึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เข้าร่วมขับเคลื่อน และส่งเสริมการดําเนินการ ต่างๆ ให้มุ่งสู่ความก้าวหน้าของอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน และยานยนต์ไฟฟ้าของไทย
รศ.ดร.สมนึก วิสุทธิแพทย์ รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนางานบริการวิชาการและอุตสาหกรรมสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ กล่าวว่า มจพ. เล็งเห็นความสําคัญในอนาคตของเทคโนโลยี ระบบกักเก็บพลังงาน จึงได้มุ่งมั่นสนับสนุนการพัฒนาบัณฑิต บุคลากร และองค์ความรู้ในสาขาเทคโนโลยีแบตเตอรี่มา อย่างต่อเนื่อง และมีบัณฑิตวิทยาลัยฯ สิรินธร ไทย-เยอรมัน (TGGS) เป็นคณะทํางานหลักที่ทุ่มเทพัฒนางานวิจัยใน เทคโนโลยีแบตเตอรี่มายาวนานและเป็นที่ประจักษ์ TGGS มีการพัฒนาศักยภาพผ่านความร่วมมือกับกลุ่มองค์กร พันธมิตรในประเทศและระดับสากล โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้เชี่ยวชาญระดับสากลจาก RWTH Aachen University การ ลงนามนี้ถือเป็นต่อยอดความร่วมมือกับองค์กรพันธมิตรที่ได้ดําเนินการมาก่อนหน้านี้ และจะเป็นประโยชน์อย่างสูงต่อ การสร้างความเข้มแข็งของอุตสาหกรรมระบบกักเก็บพลังงานในประเทศ
ศ.ดร.สุวิทย์ เตีย อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวว่า มหาวิทยาลัยส่งเสริม การวิจัยพัฒนาด้านพลังงานในหลายรูปแบบ อาทิ โครงการบัณฑิตวิทยาลัยร่วมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม (JGSEE) ซึ่งเป็นหลักสูตรนานาชาติระดับปริญญาโทและเอก เพื่อพัฒนาบุคลากรเข้าสู่อุตสาหกรรม ศูนย์วิจัย Mobility & Vehicle Technology Research Center (MOVE) ที่มุ่งเน้นการทํางานร่วมกันแบบบูรณาการระหว่างอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา จากหน่วยงานต่างๆ เพื่อสร้างสรรค์ผลงานวิจัยด้านเทคโนโลยียานยนต์สมัยใหม่ที่สามารถต่อ ยอดเชิงพาณิชย์ได้ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังมีส่วนสําคัญในการร่วมก่อตั้งสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย และหวังเป็น อย่างยิ่งว่าความร่วมมือในครั้งนี้จะนําไปสู่การพัฒนาและส่งเสริมการใช้งานระบบกักเก็บพลังงานอย่างเป็นรูปธรรม ต่อไป
นายกฤษฎา อุตตโมทย์ นายกสมาคมยานยนต์ไฟฟ้าไทย (EVAT) กล่าวว่า สมาคมฯ เห็นความสำคัญของระบบกักเก็บพลังงานว่าเป็นหัวใจสําคัญของยานยนต์ไฟฟ้า ที่ประเทศไทยจําเป็นต้องผลักดันใน เทคโนโลยีการผลิต และพัฒนาระบบการจัดการแบตเตอรี่ที่สิ้นอายุการใช้งานที่เหมาะสม ทั้งนี้สมาคมไทย เป็นการรวมกลุ่มของทั้งภาครัฐ ภาคการศึกษา และภาคเอกชน ที่เน้นส่งเสริมการผลิตและการขยายการใช้งานของยานยนต์ไฟฟ้าในประเทศโดยเชื่อว่าจะเป็นปัจจัยสําคัญในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีและยั่งยืน จากการดําเนินที่ผ่านมาของสมาคม จะเห็นได้ว่า ระบบกักเก็บพลังงานและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องต้องการความร่วมมือจากหลายภาคส่วนเพื่อให้เกิดการดําเนินการที่นําไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม
โดยในช่วงลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ภาคีเครือข่ายเทคโนโลยีระบบกักเก็บพลังงานไทย ได้รับเกียรติจาก Dr. M. Stanley Whittingham 1 ใน 3 นักวิทยาศาสตร์ผู้คิดค้น “แบตเตอรี่ ลิเทียม–ไอออน” นวัตกรรมเปลี่ยนโลกยุคใหม่ ชนะรางวัลโนเบลสาขาเคมีประจำปี 2019 มาบรรยายให้ความรู้อีกด้วย ผ่าน VDO Call
ทั้งหมดนี้ สวทช. และภาคีเครือข่าย TESTA พร้อมที่จะร่วมมือกัน เพื่อผลักดันการพัฒนาเทคโนโลยีระบบกัก เก็บพลังงานไทย โดยใช้ศักยภาพของวิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม ขับเคลื่อนทุกภาคส่วนเพื่อสร้างผลกระทบเชิง เศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม และเพื่อให้ภาคพลังงานมีความพร้อมรับมือสู่ยุคเทคโนโลยีที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่าง รวดเร็วตอบสนองความต้องการของสังคมอย่างยั่งยืน