แนะนำคณะเปิดสอนใน “ม.ขอนแก่น” มีอะไรบ้าง จบไปทำงานอะไร

สำนักข่าว: เด็กดี
URL: https://www.dek-d.com/tcas/55886/
วันที่เผยแพร่: 31 ก.ค. 2563

อีกหนึ่งมหาวิทยาลัยที่มีหลักสูตรเปิดสอนเยอะมากๆ ก็คงหนีไม่พ้น มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยดังในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นอกจากที่ตั้งที่ จ.ขอนแก่น แล้ว ก็ยังมีวิทยาเขตหนองคาย ที่เปิดรับคณะ/สาขา น่าสนใจไม่แพ้กัน จะมีคณะอะไรบ้าง มีที่เราอยากเรียนหรือเปล่า ไปดูกันค่ะ
                       ข้อมูลอ้างอิงจาก https://admissions.kku.ac.th/, https://registrar.kku.ac.th/home/kkuprogramdata/ และเว็บไซต์คณะต่างๆ
1. คณะวิทยาศาสตร์ (วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)) มี 14 สาขาวิชาคือ
– สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
– สาขาวิชาชีววิทยา
– สาขาวิชาเคมี
– สาขาวิชาคณิตศาสตร์
– สาขาวิชาฟิสิกส์
– สาขาวิชาสถิติ
– สาขาวิชาจุลชีววิทยา
– สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
– สาขาวิชาชีวเคมี
– สาขาวิชาคณิตศาสตร์ประยุกต์
– สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
– สาขาวิชาสารสนเทศสถิติ
– สาขาวิชาวัสดุศาสตร์และนาโนเทคโนโลยี
แนวทางประกอบอาชีพ : นักวิทยาศาสตร์, นักวิจัย, อาจารย์, ประกอบธุรกิจส่วนตัว, อาชีพอื่นๆ ตามสาขาที่เรียนมา เช่น โปรแกรมเมอร์, นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม

2.คณะทันตแพทยศาสตร์ (ทันตแพทยศาสตรบัณฑิต (ท.บ.))
แนวทางประกอบอาชีพ : ทันตแพทย์, ทันตแพทย์เฉพาะทาง, อาจารย์, ธุรกิจเกี่ยวกับอุปกรณ์ดูแลฟัน

3. คณะนิติศาสตร์ (นิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.))
แนวทางการประกอบอาชีพ : นิติกร, ทนายความ, อัยการ, ผู้พิพากษา, ที่ปรึกษากฎหมาย, งานด้านวิชาการ
4. คณะพยาบาลศาสตร์ (พยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.))
แนวทางการประกอบอาชีพ : พยาบาลวิชาชีพ, พยาบาลในคลินิก, พยาบาลพิเศษดูแลผูู้ป่วยตามบ้าน, นักวิชาการสาธารณสุข, พนักงานหรือทำธุรกิจด้านอุปกรณ์การแพทย์
5. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มี 3 หลักสูตร คือ
5.1 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต มี 6 สาขาวิชาคือ
– สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
– สาขาวิชาภาษาตะวันออก มี 2 วิชาเอก คือ วิชาเอกภาษาจีน และ วิชาเอกภาษาญี่ปุ่น
– สาขาวิชาสังคมศาสตร์ มี 2 วิชาเอก คือ วิชาเอกสังคมวิทยาและมานุษยา และ วิชาเอกพัฒนาสังคม
– สาขาวิชาภาษาไทย
– สาขาวิชาภาษาตะวันตก มี 3 วิชาเอก คือ วิชาเอกภาษาสเปน วิชาเอกภาษาฝรั่งเศส และวิชาเอกภาษาเยอรมัน
– สาขาวิชาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา
5.2 หลักสูตรสารสนเทศศาสตรบัณฑิต
5.3 หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
แนวทางประกอบอาชีพ : ล่าม, นักแปล, แอร์โฮสเตส, คอลัมนิสต์, อาจารย์, ผู้ประกาศข่าว, นักเขียน, นักประชาสัมพันธ์, ไกด์ หรือ อาชีพอื่นๆ ที่ใช้ทักษะด้านภาษา
6. คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มี 2 หลักสูตร คือ
6.1 หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต
– วิชาเอกการเงิน
– วิชาเอกการตลาด
– วิชาเอกการจัดการ การประกอบการพาณิชย์และนวัตกรรม
– วิชาเอกการจัดการธุรกิจบริการและการจัดงาน
– สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
แนวทางการประกอบอาชีพ : นักการตลาด, พนักงานธนาคาร, ที่ปรึกษาด้านการเงินการลงทุน, งานด้านธุรกิจอีเว้นท์, ธุรกิจด้านบริการ การนำเที่ยว
6.2 หลักสูตรบัญชีบัณฑิต
แนวทางประกอบอาชีพ : นักบัญชี, ผู้ตรวจสอบบัญชี, ผู้เชียวชาญด้านภาษี, พนักงานธนาคาร

7. คณะวิศวกรรมศาสตร์ (วิศวกรรมศาสตรบัณฑิต (วศ.บ.)) มี 14 สาขาวิชา คือ
– สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา
– สาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า
– สาขาวิชาวิศวกรรมเกษตร
– สาขาวิชาวิศวกรรมอุตสาหการ มี 2 แขนง คือ แขนงวิศวกรรมอุตสาหการ และ แขนงวิศวกรรมวัสดุและการผลิต
– สาขาวิชาวิศวกรรมเครื่องกล
– สาขาวิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
– สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี
– สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
– สาขาวิชาวิศวกรรมระบบอิเล็กทรอนิกส์
– สาขาวิชาวิศวกรรมโทรคมนาคม (หลักสูตรนานาชาติ)
– สาขาวิชาวิศวกรรมโลจิสติกส์ (หลักสูตรนานาชาติ)
– สาขาวิชาวิศวกรรมเคมี (หลักสูตรนานาชาติ)
– สาขาวิชาวิศวกรรมสื่อดิจิทัล (หลักสูตรนานาชาติ)
– สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา โครงการพิเศษ
แนวทางประกอบอาชีพ : วิศวกรในโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ ตามสาขาที่เรียนมา เช่น ยานยนต์, อิเล็กทรอนิกส์, ไฟฟ้า, เคมี, บริษัทด้านก่อสร้าง, วิศวกรปิโตรลียม, โปรแกรมเมอร์, ประกอบธุรกิจส่วนตัว

8. คณะศิลปกรรมศาสตร์ (ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ศป.บ.)) มี 4 สาขาคือ
– สาขาวิชาทัศนศิลป์
– สาขาวิชาดุริยางคศิลป์
– สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์
– สาขาวิชาศิลปะการแสดง
แนวทางประกอบอาชีพ : นักดนตรีอาชีพ, ธุรกิจดนตรี, นักแสดง, อาจารย์, นักออกแบบ, กราฟฟิกดีไซเนอร์, นักออกแบบเว็บไซต์, สไตล์ลิสต์
9. คณะศึกษาศาสตร์ (ศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.)) มี  สาขาวิชา คือ
– สาขาวิชาการสอนภาษาไทย
– สาขาวิชาภาษาจีน
– สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
– สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่น
– สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
– สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
– สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา
– สาขาวิชาสังคมศึกษา
– สาขาวิชาศิลปศึกษา
– สาขาวิชาพลศึกษา
แนวทางการประกอบอาชีพ : คุณครูตามสาขาที่เรียน, ติวเตอร์สถาบันกวดวิชา, พนักงานบริษัท, อาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา, อาชีพอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับสาขาที่เรียนมา
10. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ (สถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (สถ.บ.)) มี 2 สาขาวิชาคือ
– สาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์ (5 ปี)
– สาขาวิชาการออกแบบอุตสาหกรรม (4 ปี)
แนวทางประกอบอาชีพ : สถาปนิก, ออกแบบอาคาร, นักออกแบบ, นักออกแบบผลิตภัณฑ์, กราฟิกดีไซเนอร์, ธุรกิจส่วนตัว
11. คณะสัตวแพทยศาสตร์ (สัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (สพ.บ.))
แนวทางประกอบอาชีพ : สัตวแพทย์, อาจารย์, งานราชการในหน่วยงาน กรมปศุสัตว์ เป็นต้น, งานที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมสัตวเลี้ยง เช่น อาหาร ยา, ประกอบธุรกิจส่วนตัว
12. คณะสาธารณสุขศาสตร์ มี 2 หลักสูตร คือ
12.1 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (สาธารณสุขศาสตร์) มี 3 วิชาเอกคือ
– วิชาเอกวิทยาศาสตร์อนามัยสิ่งแวดล้อม
– วิชาเอกอาชีวอนามัยและความปลอดภัย
– สาขาวิชาเอกคู่ อนามัยสิ่งแวดล้อม อาชีวอนามัยและความปลอดภัย
12.2 หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรต่อเนื่อง)
แนวทางประกอบอาชีพ : นักวิชาการสิ่งแวดล้อม, นักสุขาภิบาล, นักสาธารณสุข, ผู้ควบคุมระบบที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม
13. คณะเกษตรศาสตร์ มี 2 หลักสูตร คือ
13.1 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต มี 2 สาขาวิชา คือ
– สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์เกษตร
– สาขาวิชาเกษตรศาสตร์ มี 7 สาขาวิชาเอก ได้แก่ กีฏวิทยา โรคพืชวิทยา ปฐพีศาสตร์และสิ่งแวดล้อม พืชสวน พืชไร่ การส่งเสริมและพัฒนาการเกษตร และ สัตวศาสตร์
– สาขาวิชาการประมง
13.2 หลักสูตรเกษตรศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเกษตรนวัตกรรม
แนวทางการประกอบอาชีพ : นักวิจัย, นักวิชาการเกษตร, นักวิทยาศาสตร์ด้านการเกษตร, เจ้าของกิจการฟาร์ม, เกษตรกร, งานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร
14. คณะเทคนิคการแพทย์ (วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)) มี 2 สาขา คือ
– สาขาวิชาเทคนิคการแพทย์
แนวทางการประกอบวิชาชีพ : นักเทคนิคการแพทย์, เจ้าหน้าที่ห้องปฏิบัติการ, นักวิจัย, ผู้ช่วยนักวิจัย, ผู้แทนฝ่ายขายเครื่องมือตรวจวิเคราะห์
– สาขาวิชากายภาพบำบัด
แนวทางการประกอบวิชาชีพ : นักกายภาพบำบัด, อาจารย์, เปิดคลินิกกายภาพบำบัด, ตัวแทนขายอุปกรณ์ด้านกายภาพบำบัด
15. คณะเทคโนโลยี (วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)) มี 4 สาขา คือ
– สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
– สาขาวิชาเทคโนโลยีธรณี
– สาขาวิชาเทคโนโลยีการอาหาร
– สาขาวิชาเทคโนโลยีการผลิต
แนวทางการประกอบวิชาชีพ : นักวิทยาศาสตร์, นักวิจัย, เจ้าหน้าที่ในโรงงานอุตสาหกรรมตามสาขาที่เรียนมา, ประกอบธุรกิจส่วนตัว
16. คณะเภสัชศาสตร์ (เภสัชศาสตรบัณฑิต ภ.บ.)) มี 2 หลักสูตร คือ
– หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต
– หลักสูตรเภสัชศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ)
แนวทางประกอบอาชีพ : เภสัชกร, นักพัฒนายา, นักควบคุมคุณภาพยา, เปิดร้านขายยา, ประกอบธุรกิจส่วนตัว, ผู้แทนยา
17. คณะแพทยศาสตร์ มี 2 หลักสูตรคือ
17.1 หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต (พ.บ.)
แนวทางประกอบอาชีพ : แพทย์, แพทย์เฉพาะทาง, อาจารย์
17.2 หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเวชนิทัศน์
แนวทางประกอบอาชีพ : นักผลิตสื่อด้านการแพทย์, นักผลิตสื่อด้านการศึกษา, ผู้ผลิตสื่อโฆษณา
18. วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มี 2 หลักสูตร คือ
18.1 หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต (รป.บ.) มี 2 สาขา คือ
– สาขาวิชาการปกครองท้องถิ่น
– สาขาวิชาการจัดการการคลัง
แนวทางประกอบอาชีพ : รับราชการในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, อาจารย์, เจ้าหน้าที่บริหารงานบุคคล, นักการเมือง, เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบาย
18.2 หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต (ทล.บ.) สาขาวิชาการจัดการงานช่างและผังเมือง
แนวทางประกอบอาชีพ : นักวิชาการด้านการช่างและผังเมือง, นักบริหารงานแผนเมือง, ช่างสำรวจ, ผู้รับเหมา
19. คณะเศรษฐศาสตร์ (เศรษฐศาสตรบัณฑิต) มี 2 หลักสูตรคือ
19.1 หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต
19.2 หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต หลักสูตรนานาชาติ

แนวทางประกอบอาชีพ : เจ้าของธุรกิจ, นักเศรษฐศาสตร์, พนักงานธนาคาร, นักวางแผนทางด้านการเงิน, นักวางแผนกลยุทธ์, เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ด้านการลงทุน
20. วิทยาลัยนานาชาติ มี 2 หลักสูตร คือ
20.1 หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) มี 3 วิชาเอกคือ
– วิชาเอกธุรกิจสากล
– วิชาเอกการตลาดระหว่างประเทศ
– วิชาเอกการเป็นผู้ประกอบการระหว่างประเทศ
แนวทางประกอบอาชีพ : ธุรกิจนำเข้า-ส่งออก, นักโฆษณา, นักวิเคราะห์การตลาด, นักวางแผนกลยุทธ์, ที่ปรึกษาด้านการประกอบการต่างประเทศ, ธุรกิจส่วนตัว
20.2 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรนานาชาติ) มี 3 สาขา คือ
– สาขาวิชาการจัดการท่องเที่ยว
แนวทางประกอบอาชีพ : ไกด์นำเที่ยว, พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน, ผู้จัดทัวร์, เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการท่องเที่ยว, เจ้าหน้าที่โรงแรม
– สาขาวิชาการระหว่างประเทศ
แนวทางประกอบอาชีพ : ทำงานราชการในหน่วยงานหรือองค์กรระหว่างประเทศ, อาจารย์, ธุรกิจส่วนตัว
– สาขาวิชานิเทศศาสตร์
แนวทางประกอบอาชีพ : สื่อสารมวลชน, นักการตลาด, ผู้ผลิตสื่อโฆษณา, ผู้กำกับด้านสื่อ, ครีเอทีฟ
วิทยาเขตหนองคาย
1. คณะบริหารธุรกิจ (บริหารธุรกิจบัณฑิต) มี 4 สาขา คือ
– สาขาวิชาการบัญชี
แนวทางประกอบอาชีพ : นักบัญชี, ผู้ตรวจสอบบัญชี, ผู้เชียวชาญด้านภาษี, พนักงานธนาคาร
– สาขาวิชาการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ
– สาขาวิชาการเงิน
– สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ
แนวทางประกอบอาชีพ : นักวางแผนการเงิน, พนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน, เจ้าหน้าที่ด้านธุรกิจระหว่างประเทศ, ธุรกิจส่วนตัว, เจ้าหน้าที่ด้านการท่องเที่ยว, นักวางแผนธุรกิจ
2. คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์และวิศวกรรมศาสตร์  (วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.)) มี 5 สาขา คือ
– สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
แนวทางประกอบอาชีพ : นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม, อาจารย์, นักวิจัยด้านสิ่งแวดล้อม, นักวิชาการ
– สาขาวิชาเทคโนโลยีและนวัตกรรมอาหาร
แนวทางประกอบอาชีพ : นักโภชนาการ, พนักงานในอุตสาหกรรมด้านอาหาร, นักวิจัยอาหาร, ฝ่ายควบคุมคุณภาพ, นักวิจัย, ธุรกิจด้านการแปรรูป
– สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การกีฬาและการออกกำลังกาย
แนวทางประกอบอาชีพ : นักวิทยาศาสตร์การกีฬา, โค้ช, เทรนเนอร์ฟิตเนส, นักกีฬาอาชีพ, อาจารย์พลศึกษา
– สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การประมง
แนวทางประกอบอาชีพ : งานด้านประมง, นักเพาะพันธุ์สัตว์น้ำ, นักวิจัย, นักวิชาการ, ธุรกิจด้านสัตว์น้ำหรืออาหารสัตว์น้ำ
– สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์และสารสนเทศ
แนวทางประกอบอาชีพ :  โปรแกรมเมอร์, เว็บดีไซน์เนอร์, กราฟิกดีไซน์เนอร์, นักออกแบบระบบสารสนเทศ, นักพัฒนาซอฟท์แวร์
3. คณะสังคมศาสตร์บูรณาการ มี 3 หลักสูตร คือ
3.1 หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) สาขาวิชานิติศาสตร์
แนวทางประกอบอาชีพ : นิติกร, ทนายความ, อัยการ, ผู้พิพากษา, ที่ปรึกษากฎหมาย, งานด้านวิชาการ
3.2 หลักสูตรรัฐประศาสตร์ (รป.บ.) สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
แนวทางประกอบอาชีพ : เจ้าหน้าที่บริหารทรัพยากรมนุษย์, นักวิเคราะห์นโยบายและแผนงาน, เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป, นักบริการด้านงบประมาณ, นักวิชาการ
3.3 หลักสูตรเศรษฐศาสตร์ (ศ.บ.) สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์
แนวทางประกอบอาชีพ : เจ้าของธุรกิจ, นักเศรษฐศาสตร์, พนักงานธนาคาร, นักวางแผนทางด้านการเงิน, นักวางแผนกลยุทธ์, เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ด้านการลงทุน
4. คณะศิลปศาสตร์ มี 2 หลักสูตร คือ
4.1 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศ.บ.) สาขาวิชาภาษาอังกฤษเพื่อการจัดการธุรกิจ
แนวทางประกอบอาชีพ : เจ้าหน้าที่ด้านการต่างประเทศ, ธุรกิจนำเข้า-ส่งออก,
4.2 หลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.) สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษในฐานะภาษาต่างประเทศ
แนวทางประกอบอาชีพ : อาจารย์, ติวเตอร์สอนพิเศษ, โรงเรียนสอนภาษา, ธุรกิจส่วนตัวอื่นๆ ที่เน้นใช้ภาษาอังกฤษ
     สนใจอยากเรียนคณะไหน อย่าลืมหาข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงแผนการรับของคณะนั้นๆ ด้วยนะคะ ว่าจะเปิดรับในรอบใดบ้าง คาดว่าในช่วงสิงหาคม – ตุลาคม ก็น่าจะได้ข้อมูลเรื่องการรับใน TCAS 64 มากขึ้นแล้วค่ะ ใครที่รอของมหาวิทยาลัยอื่นๆ อยู่ ก็ติดตามกันเรื่อยๆ นะคะ^^
Scroll to Top