มข.เปิดรายวิชา พร้อมบ่มเพาะนศ.ให้เป็นผู้ประกอบการ Startup จาก Innovation โชว์ผลงาน เปิด Innovation playground:ตลาดนวัตกรรม Startup ไม่ใช่เรื่องยากไกลเกินตัว มีนศ.เปิดบริษัทสำเร็จสร้างรายได้หลักแสน
เมื่อวันที่ 16-17 ตุลาคม 2562 ณ อาคารแก่นมอดินแดง มหาวิทยาลัยขอนแก่น กลุ่ม Startup club KKU ร่วมกับ Innovation hub KKU กลุ่มเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Creative Economy) คณะเศรษฐศาสตร์ โดยได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ โดย ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล รองอธิการบดีฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ ซึ่งมี ผศ.ประเสริฐ วิจิตรนพรัตน์ รองคณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ฝ่ายวิชาการและแผน เป็นประธานคณะทำงาน ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจ จัดทำ Innovation market KKU 2019 ตลาดนวัตกรรมมหาวิทยาลัยขอนแก่น 2019 ภายใต้ชื่องาน “Innovation Playground 2019” เป็นพื้นที่แสดงผลงานและแลกเปลี่ยนความคิด แรงบันดาลใจ และการซื้อขายของ Startup และ Innovation ภายใต้หัวข้อ “New sight and New taste”
ผศ.ประเสริฐ วิจิตรนพรัตน์ กล่าวว่า “งาน “Innovation Playground 2019” เป็นจกรรมในรูปแบบชุมชน ให้ผู้เข้าร่วมงานจะมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกับบูธ startup และ Innovation ให้เห็นว่า Startup และ Innovation ไม่ใช่เรื่องยาก และไกลเกินตัว ใช้การซื้อขายในงานผ่านระบบ finance technology ร่วมกับ mana app และระบบพร้อมเพย์ แม้กิจกรรมนี้จัดขึ้นเป็นปีแรก แต่มีผู้สนใจเข้าร่วมงานทั้งนักศึกษา บุคคลากร และบุคคลภายนอกทั้งสองวัน กว่า 1,300 คน ในงานมีบูธกิจกรรม 25 บูธ แบ่งเป็นบูธ Startup 14 บูธ และบูธอาหารที่มีความเป็นนวัตกรรมและ creative 11 บูธ ในส่วนของบูธ Startup มีผลงานของนักศึกษาจากรายวิชา GE363 879 Innovative Entrepreneurs เช่น บูธ ปลูกไรดี ระบบ IOT วิเคราะห์การปลูกพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ บู้ธ Happy pet Application ที่รวบรวมร้านตัดขน รับฝากเลี้ยง หรือขายอาหารให้กับสัตว์เลี้ยง พร้อมบริการ รับ-ส่งถึงที่ บูธ Qupid เป็นแอปพลิเคชั่นสำหรับหาคู่แชร์ค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการ เช่น Netflix บูธ Villa เป็นระบบดูแลรักษาความปลอดภัยแบบครบวงจร โดยประมวลผลผ่าน AI อัจฉริยะ และมีแอปพลิเคชั่นสำหรับลูกบ้านเพื่ออำนวยความสะดวกต่าง ๆ บู้ธ Coe เป็นแอปพลิเคชั่นเกมส์ conqueror of Eternity เพื่อความบันเทิง มีตัวละครของตนเองมาต่อสู้กับผู้เล่นคนอื่นโดยการพบกันในชีวิตจริงผ่านการสร้างห้องในระบบ บู้ธ Blood refill เป็นแพตฟอร์ม social enterprise ตัวกลางในการประสานความร่วมมือ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการบริจาคเลือด ให้เพียงพอสำหรับผู้ป่วยในปัจจุบัน บู้ธ Thai maxi เป็นแอปพลิเคชั่นสำหรับจับคู่ไกด์นำเที่ยวและนักท่องเที่ยว แอปพลิเคชั่นนี้จะเปิดโลกและมุมมองใหม่ให้แก่นักท่องเที่ยวได้สัมผัสประสบการณ์และเสน่ห์วิถีไทยแท้มากขึ้น บู้ธ FX เป็นเว็บที่รวบรวมร้านขาย Sneaker ของแท้ อุปกรณ์รองเท้าต่าง ๆ อีกทั้งยังช่วยให้ลูกค้าต่างจังหวัดสามารถเข้าถึง sneaker ได้มากขึ้น และมีบู้ธ Wash easy คือนวัตกรรมกล่องอุปกรณ์ IOT ควบคุมเครื่องซักผ้าหรือเครื่องอบ โดยสั่งการผ่านแอปพลิเคชั่น WASH EASY ซึ่งจะทำให้ไม่เสียเวลากับการซักผ้า ที่ประกอบอาชีพธุรกิจ Startup หลังจดทะเบียนบริษัทเพียง 3 เดิอน มีรายได้เข้าบริษัทหลักแสนบาทต่อเดือน อีกทั้งยังได้รับความร่วมมือจาก Micro brain academy, KKU Library ที่ได้นำนวัตกรรม หุ่นยนต์ มาออกบูธ และ MDI KKU ที่ได้นำผลงานการศึกษาของนักศึกษาเวชนิทัศน์มาแสดงในงานครั้งนี้ด้วย”
ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล กล่าวว่า นโยบายของมหาวิทยาลัยขอนแก่น จะมีการสร้างผู้ประกอบการใหม่จากเทคโนโลยีหรือองค์ความรู้ โดยสร้างนักศึกษา ให้เป็นสร้างธุรกิจสตาร์ทอัพ โดยมีเป้าหมายให้มหาลัยขอนแก่นเป็นมหาวิทยาลัยที่จะสร้างสตาร์อัพใหม่ๆ ให้กับประเทศไทย จึงได้เปิดรายวิชา Innovative Entrepreneurs ขึ้น และมีหน่วยงานอุทยานวิทยาศาสตร์ ที่ช่วยในการบ่มเพาะนักศึกษา ทั้งยังมี innovation Hub ในตารางรายวิชา Innovative Entrepreneurs ที่นักศึกษามาเรียนเพื่อเป็นผู้ประกอบการ startup โดยมีการเรียนด้วยวิธีการหลากหลาย และแตกต่าง คือเรียนเป็นโมดูล เรียนออนไลน์ โดยมีผู้สอนเป็น startup ที่ประสบความสำเร็จจากทั่วประเทศ ซึ่งนักศึกษาที่เรียนวิชาจะต้องมีผลิตภัณฑ์ต้นแบบ และต้องนำเสนอผลงานก่อนจบอีกด้วย รายวิชาได้เปิดสอนมาได้ 2 ปีแล้ว และนักศึกษาที่เรียนรายวิชานี้ก็ได้ก่อตั้งชมรม Start Up Club ขึ้น จากผลงานที่มีจำนวนมากขึ้น และนักศึกษามีกิจกรรมหลายอย่าง จึงได้มีแนวคิดที่จะทำเป็น Innomarket ขึ้น เพื่อนำเสนอผลงาน innovation ที่คิดค้นขึ้นมาแสดงเป็นจุดเริ่มต้นของงานครั้งนี้ ฝ่ายนวัตกรรมและวิสาหกิจจึงสนับสนุนให้นักศึกษาทำโครงการโชว์ผลงาน แต่เนื่องจากมีผลิตภัณฑ์ไม่มากพอ จึงเปลี่ยนแนวมาทำเป็น innovation Playground หรือสนามเด็กเล่นสำหรับ innovation โดยจัดแบ่งงานออกเป็น 2 ส่วนใหญ่ๆ คือ ส่วนของธุรกิจ startup ของนักศึกษา อาทิเช่น บู้ธ ปลูกไรดี ที่สร้างเป็นเครื่องมือเช็คสภาพดินและส่งต่อไปยังแอพพลิเคชั่นแสดงผลว่าดินสภาพนี้สามารถปลูกพืชชนิดใดได้บ้าง บู้ธ Lomado ซึ่งเป็นเว็บไซต์ค้นหาหอพักที่ภายนอกและภายในมหาวิทยาลัยขอนแก่น บู้ธ Wash easy เป็นธุรกิจร้านซักผ้าที่มีการใช้แอพพลิเคชั่นในการสแกนจ่ายเงินและควบคุมการทำงานของเครื่อง บู้ธ CoE เป็นเกมการแข่งขันผ่านโทรศัพท์มือถือ ที่ให้ประโยชน์มากกว่าความสนุก และอีกหลายๆ บู้ธ ที่สามารถนำนวัตกรรมไปต่อยอดเป็นธุรกิจได้ อีกส่วนหนึ่งเป็นบู้ธขายอาหารที่เป็น innovative Food งานครั้งนี้เป็นกิจกรรมที่หวังสร้างแรงบันดาลใจ และกระตุ้นให้นักศึกษาในมข.เห็นว่าเราเข้าสู่สังคมของการเป็นนวัตกรรม และการนักศึกษาทุกคนมีโอกาสที่จะเป็น Start up จากนวัตกรรมได้ และได้รับการตอบรับที่ดีมาก จึงมีแนวคิดที่จะจัดงานขยายให้ใหญ่ขึ้น และนำเอาเรื่องอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องเพื่อสร้างให้นักศึกษามีบรรยากาศของความเป็นนวัตกรรมของมหาวิทยาลัย บรรยากาศของนักศึกษาสร้างธุรกิจจากองค์ความรู้ของตัวเอง”
“การทำงานวิจัยนวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อออกไปใช้ประโยชน์ทั้งเชิงพาณิชย์ และทางด้านสังคม นั้น มีอยู่หลายวิธี แต่ละวิธีหนึ่งที่เป็นประโยชน์มากที่สุดก็คือ การสร้างธุรกิจจากนวัตกรรมของนักศึกษา ซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่ และสามารถที่จะตอบยุทธศาสตร์ของมหาวิทยาลัยได้เป็นอย่างดี” ศ.ดร.ศุภชัย ปทุมนากุล กล่าวในที่สุด
“เจ็ท” อัชเชวินท์ นิยมพันธุ์ กล่าวว่า “ “ปลูกไรดี” คืออุปกรณ์ให้คำแนะนำในการปลูกพืชในพื้นที่ต่างๆ เป็นระบบ IOT วิเคราะห์การปลูกพืชวัดค่าphความชื้นในดินและแสงให้ทราบถึงเหมาะสมการปลูกพืชกับพื้นที่ แสดงผลในรูปแอปพลิเคชั่น เป็นเครื่องมือเช็คสภาพดินและส่งต่อไปยังแอปพลิเคชั่นแสดงผลว่าดินสภาพนี้สามารถปลูกพืชชนิดใดได้บ้าง ราคาเครื่อง 6,000 บาท หรือให้เช่าเดือนละ 590 บาท ผลการทดลองใช้กับสหกรณ์การเกษตรอ.ซำสูง และสวนสลัดพันดาวที่ส่งผลิตผลขายในท้อปซุปเปอร์มาเก็ต เราไม่เพียงแต่เป็นแอพพลิเคชั่น แต่เราคือการวิเคราะห์อัจฉริยะเกษตรกรไทยสู่ระดับสากล ขอเชิญชวนชาวเกษตรกร และกลุ่มยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ เข้ามาติดต่อผ่านเพจ Facebook : ปลูกไรดี
“อาร์ต” พิเชษฐ์ ดาผา กล่าวว่า “Bloodrefill” เป็นแพตฟอร์ม social enterprise ในฐานะเป็นตัวกลางในการประสานความร่วมมือ เพื่อสนับสนุนกิจกรรมการบริจาคเลือด ให้เพียงพอสำหรับผู้ป่วยในปัจจุบัน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดเลือดและมีการประกาศรับบริจาคเลือดทางโซเชียล โดยรายได้ที่เข้ามาจะถูกนำไปขยายแพตฟอร์มเพื่ออิมแพคตอบแทนสังคมเป็นหลัก การบริจาคเลือดเป็นความดีที่ทุกคนรู้ อยากเชิญชวนให้บริจาคเลือดทุก 3 เดือน เลือดของคุณจะช่วยได้อีกหลายชีวิตเลยครับ”
“เจ” ธนาวุฒิ นาบรรดิฐ ตัวแทนผลงาน “Villa เป็นระบบดูแลรักษาความปลอดภัยหมู่บ้านจัดสรร คอนโดมีเนี่ยม หรืออพาร์ทเม้นท์ แบบครบวงจร โดยประมวลผลผ่าน AI อัจฉริยะ และแอปพลิเคชั่นสำหรับลูกบ้านเพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆ โดยประมวลผลป้ายทะเบียนรถลูกบ้านได้อย่างแม่นยำ อยู่ในรูปทรงกล่องที่สามารถเชื่อมต่อกับระบบรักษาความปลอดภัยเดิมได้ ในราคา 30,000 บาท สอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร.061 053 1556”
ผู้สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Innovationn Hub KKU ศูนย์อาหารและบริการ 1 (คอมเพล็คซ์) ชั้น 3 หมายเลขโทรศัพท์ 043-306907 หรือ e-mail : innovationhubkku@gmail.com
ข่าว/ภาพ : วัชรา น้อยชมภู