23-24 มกราคม 2568 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “การปรับปรุงหลักสูตรให้เป็นไปตามแนวทางของ Outcome-Based Education (OBE)” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเตรียมความพร้อมในการปรับปรุงหลักสูตรในรอบปี พ.ศ. 2569 ทั้งหมด 13 หลักสูตร และเสนอขอรับรองปริญญาทั้งหมด 8 หลักสูตร โดยมี รศ.ดร.จารุณี ซามาตย์ รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม
โดยได้รับเกียรติจาก ผศ.ดร.ภาวดี ภักดี วิทยากร ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตรที่มุ่งเน้นผลลัพธ์การเรียนรู้ โดยได้ถ่ายทอดความรู้และทักษะที่สำคัญในการออกแบบหลักสูตรที่มีมาตรฐานสากล การอบรมในครั้งนี้เน้นการวางแผนพัฒนาหลักสูตรตามหลักการของ OBE โดยมีวัตถุประสงค์หลักในการกำหนดแนวทางการบริหารจัดการหลักสูตรให้สอดคล้องกับ OBE รวมถึงการปรับปรุงหลักสูตรให้มุ่งเน้นการบรรลุผลลัพธ์ที่ผู้เรียนจะได้รับหลังจากจบการศึกษา นอกจากนี้ยังได้เน้นการสร้าง PLOs (Program Learning Outcomes) ของหลักสูตร และ CLOs (Course Learning Outcomes) ของรายวิชา เพื่อให้แน่ใจว่าการออกแบบหลักสูตรตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนในระดับสูง
อีกทั้งยังมีการออกแบบการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลการเรียนที่สอดคล้องกับ CLOs เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของคณะศึกษาศาสตร์ให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากลตามเกณฑ์ AUN-QA (Asean University Network Quality Assurance) และยกระดับความเชื่อมั่นในหลักสูตรของคณะฯ ทั้งในระดับประเทศและสากล
รศ.ดร.จารุณี ซามาตย์ รองคณบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ ได้กล่าวในพิธีเปิดว่า “การอบรมในวันนี้ถือเป็นการเตรียมความพร้อมด้านความรู้ ทักษะ และเปิดโอกาสให้คณาจารย์ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ซึ่งกันและกัน โดยมั่นใจว่าการอบรมครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาหลักสูตรของคณะฯ และยกระดับคุณภาพการศึกษาของเราให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด”การอบรมครั้งนี้ได้รับความสนใจจากคณาจารย์และผู้สนใจในการพัฒนาหลักสูตรอย่างมาก และคาดหวังว่าจะช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาและหลักสูตรของคณะศึกษาศาสตร์ให้มีมาตรฐานสากลต่อไปในอนาคต
การอบรมครั้งนี้ได้รับความสนใจจากคณาจารย์ ในการพัฒนาหลักสูตรอย่างมาก และคาดหวังว่าจะช่วยยกระดับคุณภาพการศึกษาและหลักสูตรของคณะศึกษาศาสตร์ให้มีมาตรฐานสากลต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ ยังเป็นการเปิดโอกาสให้คณาจารย์ได้พัฒนาทักษะในการออกแบบและปรับปรุงหลักสูตรที่ตอบสนองต่อความต้องการของผู้เรียนและสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในภาพรวม