บุคลากร คณะแพทยศาสตร์ มข. รับ 2 รางวัลการนำเสนอผลงานวิจัย ระดับชาติ ประจำปี 2567

บุคลากร คณะแพทยศาสตร์ มข. รับ 2 รางวัลการนำเสนอผลงานวิจัย ระดับชาติ ในงานมหกรรมการแสดงผลงานระดับชาติของบุคลากรสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษา ครั้งที่ 7 ประจำปี 2567 ซึ่งเป็นเวทีแสดงผลงานของบุคลากรสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษา ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ จัดโดย ที่ประชุมสภาข้าราชการ พนักงานและลูกจ้างมหาวิทยาลัย แห่งประเทศไทย (ปขมท.) เมื่อวันที่ 6 – 7 ธันวาคม 2567 ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กิจกรรมภายในงาน มีการปาฐกถาพิเศษ การบรรยายพิเศษ และเวทีแสดงผลงานของบุคลากรสายสนับสนุนในสถาบันอุดมศึกษา ซึ่งการแสดงผลงาน เป็นการนำเสนอผลงานการพัฒนางานประจำ สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม และคู่มือปฏิบัติการฯ ทั้งแบบ Poster และ Oral Presentation ของบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งมีผู้ส่งงานเข้าร่วมกว่า 200 ผลงาน

การนำเสนอผลงานครั้งนี้ บุคลากร คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับ 2 รางวัล Poster และ Oral Presentation ดังนี้

ทนพญ.แพรววลี วินทะไชย นักเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ รางวัลชนะเลิศ ประเภทการนำเสนอแบบโปสเตอร์
ทนพญ.แพรววลี วินทะไชย นักเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ รางวัลชนะเลิศ ประเภทการนำเสนอแบบโปสเตอร์

ทนพญ.แพรววลี วินทะไชย นักเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รางวัลชนะเลิศ ประเภทการนำเสนอแบบโปสเตอร์ ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์สุขภาพ จากเรื่อง “การพัฒนาการตรวจยืนยันตำแหน่งการกลายพันธุ์ที่พบบนยีน BRCA1 และ BRCA2 ในผู้ป่วยโรคมะเร็งทางพันธุกรรมด้วยวิธี Sanger Sequencing”

ดร.ทนพ.นพพร สวัสดิ์จุ้ย นักเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ประเภทการนำเสนอแบบบรรยาย
ดร.ทนพ.นพพร สวัสดิ์จุ้ย นักเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ประเภทการนำเสนอแบบบรรยาย

ดร.ทนพ.นพพร สวัสดิ์จุ้ย นักเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1 ประเภทการนำเสนอแบบบรรยาย ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์สุขภาพ เรื่อง “การพัฒนาต้นแบบชุดตรวจหาการกลายพันธุ์ของยีน SPTA และ SPTB เพื่อวินิจฉัยโรคผนังเซลล์เม็ดเลือดแดงผิดปกติ”


ทนพญ.แพรววลี กล่าวถึงการเข้าร่วมเสนอผลงานฯ จนได้รับรางวัลชนะเลิศครั้งนี้ ว่า “รู้สึกภูมิใจมากที่ได้รับรางวัลนี้ และขอขอบคุณทีมสนับสนุนทางโรงพยาบาลศรีนครินทร์ รวมทั้งทีมงานที่มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดผลงานชิ้นนี้ขึ้นมาค่ะ” สำหรับผลงาน “การพัฒนาต้นแบบชุดตรวจหาการกลายพันธุ์ของยีน SPTA และ SPTB เพื่อวินิจฉัยโรคผนังเซลล์เม็ดเลือดแดงผิดปกติ” สามารถนำมาใช้ในงานประจำวันทางด้าน Precision medicine ในการตรวจยืนยันผล การพบการกลายพันธุ์ในยีน BRCA1 และ BRCA2 และใช้ในการตรวจหาการกลายพันธุ์แบบระบุตำแหน่งในกลุ่มญาติสายตรง ซึ่งสามารถลดระยะเวลารอคอยผล จาก 10 – 14 วัน เหลือเพียง 3 วัน เท่านั้น


ด้าน ดร.ทนพ.นพพร รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 กล่าวถึงความรู้สึก ว่า “รู้สึกดีใจและเป็นเกียรติมาก เนื่องจากเป็นรางวัลที่อันทรงเกียรติจากงานประชุมวิชาการระดับชาติ ของบุคลากรสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ ซึ่งมีผู้ส่งงานเข้าร่วมกว่า 200 ผลงาน”สำหรับงานวิจัยนี้เป็นการตรวจหาการกลายพันธุ์ของยีนที่ทำให้เกิดโรคซีด ผลจากงานวิจัยนี้ได้นำมาเปิดให้บริการในงานประจำวันแล้ว โดยมีการพัฒนาวิธีการทำให้ตรวจได้ง่ายขึ้น ลดต้นทุนค่าน้ำยา และลดค่าบริการลง ทำให้คนไข้เข้าถึงบริการมากขึ้น แพทย์ผู้ใช้ผลมีความพึงพอใจ นอกจากนั้นแล้วยังเป็นการเปลี่ยนฉากทัศน์จากเดิมเป็นการตรวจเพื่อวินิจฉัยสู่การตรวจเพื่อป้องกันทารก ในครรภ์ให้ปลอดภัย

ดร.ทนพ.นพพร กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอขอบคุณท่านคณบดีคณะแพทยศาสตร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีนครินทร์ รองผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ หัวหน้างานห้องปฏิบัติการเวชศาสตร์ชันสูตร หัวหน้าหน่วยจีโนมิกส์ทางการแพทย์ และคณะผู้วิจัยทุกท่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่าน ผศ.นพ.กุณฑล วิชาจารย์ กุมารแพทย์เวชพันธุศาสตร์ สาขากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ริเริ่มงานวิจัยนี้ โดยหน่วยจีโนมิกส์ทางการแพทย์ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ มีความมุ่งมั่นในการนำงานวิจัยนี้ไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนางานด้านจีโนมิกส์และการแพทย์แม่นยำ ตามนโยบายคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

 

ข่าว : เบญจมาภรณ์ มามุข
ภาพ : ดร.ทนพ.นพพร สวัสดิ์จุ้ย

Scroll to Top