มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน (LTIC KKU) จัดโครงการสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การผลิตสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน และ การปฏิบัติงานในยุคดิจิทัล รวมถึงการนำเสนอนิทรรศการผลงานด้านการผลิตสื่อการเรียนรู้ดิจิทัล ครั้งที่ 3 โดยมี ผศ.ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและดิจิทัล เป็นประธานกล่าวเปิดงาน พร้อมด้วย ผศ.ดร.อนุชา โสมาบุตร ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการศึกษา ผู้บริหาร คณบดี และบุคลากร ร่วมกิจกรรม กว่า 200 ณ ห้องประชุมพีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์ วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 ที่ผ่านมา
สัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้การผลิตสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ด้านวิธีการจัดการเรียนการสอนและการปฏิบัติงานในยุคดิจิทัล และ นิทรรศการผลงานการผลิตสื่อนวัตกรรมเรียนรู้นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นและส่งเสริมอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษา ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นได้พัฒนาปรับปรุงด้านการจัดการเรียนการสอน กระบวนการทำงาน และการเรียนรู้ของนักศึกษา อันจะนำไปสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ
ผศ.ดร.อนุชา โสมาบุตร ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า กิจกรรมครั้งนี้ เปิดให้ผู้ปฏิบัติงานในมหาวิทยาลัยได้เสนอผลงานที่เกิดจากการพัฒนาด้านการเรียนการสอน งานประจำ และ มีการพัฒนาจนเกิดเป็นวิธี แนวทางการปฏิบัติงานที่ดี เพื่อสร้างเครือข่ายการดำเนินงานด้านการจัดการความรู้ภายในหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยผลงานแบ่งเป็น 1.นวัตกรรมด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน เช่น การเรียนรู้แบบ PBL, Gamification, การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน 2. นวัตกรรมด้านการปฏิบัติงาน เช่น ระบบสนับสนุนการทำงานต่างๆ ระบบห้องเรียน Smart Classroom ระบบห้องสตูดิโอ การผลิตสื่อวิดีทัศน์ แพลตฟอร์มที่แสดงถึงงานที่สำเร็จ ซึ่งกิจกรรมครั้งนี้ มีบุคลากร และนักศึกษา ให้ความสนใจในการเข้าร่วมนำเสนอผลงาน จำนวน 60 ผลงาน
“ฝ่ายการศึกษาและดิจิทัลได้มีการผลักดัน Digital Transformation เพื่อเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัล และผลิตบัณฑิตแห่งอนาคต มีการพัฒนาหน่วยงาน หรือกลไกในการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว เพื่อพัฒนากระบวนการทำงาน และการสร้างผลงานผ่านระบบดิจิทัลขับเคลื่อนขนานไปกับพันธกิจหลักของมหาวิทยาลัย มีการพัฒนาระบบการทำงานและการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล โดยมีศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอนส่งเสริมผลักดันและติดตาม Platform ต่าง ๆ ให้เกิดการเรียนรู้แบบออนไลน์ อีกทั้งมีการขับเคลื่อน Production House ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยให้ความสำคัญกับการสร้างและแบ่งปันเครื่องมือการเรียนรู้ที่ใช้งานง่ายและมีคุณภาพ เพื่อส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ตลอดชีวิต Life Long Learning และสร้างเครือข่ายผลิตสื่อและ E-learning ที่เข้มแข็ง”
ผศ. ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและดิจิทัล มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า ศูนย์นวัตกรรมการเรียนการสอน ฝ่ายการศึกษาและดิจิทัล มีการขับเคลื่อนให้เกิด Education Transformation การสนับสนุนและรองรับการเปลี่ยนแปลงของการพัฒนาสื่อการเรียนรู้ ซึ่งต้องเป็นสื่อที่มีคุณภาพ และตอบสนองต่อ Learning Style ของผู้เรียน เชื่อว่าการสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันนี้จะเป็นโอกาสที่ดีที่ทุกฝ่ายได้มาร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ความสำเร็จของการทำงานร่วมกัน อีกทั้งยังเป็นการผลักดันและส่งเสริมการพัฒนาตามยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นสู่การเป็นมหาวิทยาลัยดิจิทัลต่อไป”
ภายหลังพิธีเปิด เป็นการบรรยายพิเศษ Current Development of Generative AI โดยผศ.ดร.เด่นพงษ์ สุดภักดี ต่อจากนั้นเป็นการ มอบสัมฤทธิบัตร และรางวัลสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ดิจิทัล ให้หน่วยงานต่างๆ ต่อจากนั้นเป็นการมอบรางวัลสำหรับผลงานการประกวด นิทรรศการการผลิตสื่อนวัตกรรมการเรียนรู้ดิจิทัล โดยมีรายละเอียด ดังนี้
ประเภท นวัตกรรมการด้านวิธีการจัดการเรียนการสอน
รางวัลที่ 1 Good Practice
ชื่อผลงาน : การจัดการเรียนการสอนบน LMS ที่สอดคล้องกับแนวทาง AUN-QA ด้วยแนวคิด Gamafication โดย รศ.ดร.วัฒนา พัฒนากูล คณะวิทยาศาสตร์
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1
ชื่อผลงาน : การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการ flipped classroom บนระบบ KKU e-learning รายวิชา IN553050
กฎหมายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
โดย อ.อุมาพร กาฬแสน จาก คณะสหวิทยาการ
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2
ชื่อผลงาน : ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมVR-Canis Lupus familiaris (Ultrasound Simulation)
โดย ผศ.นสพ.สราวุธ ศรีงาม สพ.ญ.นิตยา บุญบาล คณะสัตวแพทยศาสตร์
ประเภทนวัตกรรมด้านความสำเร็จของการปฏิบัติงาน
รางวัลที่ 1 Good Practice
ชื่อผลงาน ระบบการบันทึกรายการครุภัณฑ์ Online
โดย คุณจิรวัฒน์ ศรีสว่างวงศ์ สถาบันการสอนวิชาศึกษาทั่วไป
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 1
ชื่อผลงาน : KKU STOCK PHOTO การให้บริการคลังภาพถ่ายมหาวิทยาลัยขอนแก่น
โดย คุณบริพัตร ทาสี กองสื่อสารองค์กร
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2
ชื่อผลงาน : StudyMate: แพลตฟอร์มการเรียนรู้แบบบูรณาการด้วยปัญญาประดิษฐ์ (AI)
โดย คุณธฤต วรรณเสน คณะศึกษาศาสตร์
นายบริพัตร ทาสี งานกิจกรรมสัมพันธ์ กองสื่อสารองค์กร ผู้ได้รับรางวัลรองชนะเลิศ อันดับที่ 2 จากผลงาน KKU STOCK PHOTO ได้เปิดเผยถึงความสำเร็จครั้งนี้ว่า ตนเอง มีภาระงานด้านการถ่ายภาพ และ ได้ให้บริการ KKU STOCK PHOTO ซึ่งบริการดังกล่าว จัดทำขึ้นเพื่อศึกษาการสร้างสรรค์ภาพถ่ายเพื่อการสื่อสารภาพลักษณ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีประชากรและกลุ่มเป้าหมายประชากรในการศึกษา คือ นักศึกษา อาจารย์ บุคลากร มหาวิทยาลัยขอนแก่นที่เข้าใช้บริการผ่าน https://cad.kku.ac.th/?page_id=12
“จากการให้บริการ KKU Stock Photo พบว่า ภาพถ่ายที่มีจำนวนผู้ขอใช้บริการมากที่สุด 3 อันดับได้แก่ ภาพที่เกี่ยวข้องกับพิธีพระราชทานปริญญาบัตรและรัฐพิธีสำคัญ ภาพการเรียนการสอน ภาพวิวและพื้นที่ส่วนกลาง ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อการขอใช้บริการ คือ การลดขั้นตอนขอรับบริการ ที่สามารถ login แล้วดาวน์โหลดภาพใช้ได้ทันที สะดวกต่อการเข้าถึงผู้รับบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้บริการได้ดียิ่งขึ้น และ เพิ่มความพึงพอใจการใช้บริการคลังภาพถ่าย KKU Stock photo ในอนาคต”