สืบเนื่องจากโครงการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประเพณี มข.-มอ.-มช “3 พลังเพื่อแผ่นดิน” ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน 2565 – 1 ธันวาคม 2565 ณ โรงแรม พูลแมนขอนแก่น ราชา ออคิด อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น ฝ่ายวิชาการของทั้ง 3 สถาบันได้เห็นชอบให้มีการขับเคลื่อนการจัดรายวิชาออนไลน์ร่วมกันระหว่าง 3 สถาบัน รวมทั้งให้มีการศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระบบการจัดการศึกษาเพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต ณ วิทยาลัยการศึกษาตลอดชีวิต และศูนย์นวัตกรรมการสอนและการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในวันที่ 24 เมษายน 2566
มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย รศ.ดร.วรรณวิภา แก้วประดิษฐ์ รองผู้อำนวยฝ่ายวิขาการ สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ และรศ.นสพ.ดร.สุวิทย์ อุปสัย รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สำนักบริการวิชาการ ได้นำบุคลากรงานหลักสูตรและสหกิจศึกษา สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ และบุคลากร สังกัดสำนักบริการวิชาการ รวม 9 ท่าน ร่วมศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในวันดังกล่าว ซึ่งในภาคเช้าจะเป็นการศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการจัดการศึกษาตลอดชีวิต โดย ผศ.ดร.รสริน โอสถานันต์กุล รองผู้อำนวยการวิทยาลัยการจัดการศึกษาตลอดชีวิต ได้กล่าวถึงบทบาทของวิทยาลัยการจัดการศึกษาชีวิตในด้านการจัดการศึกษาที่ยืดหยุ่นตามความต้องการของผู้เรียน เปิดโอกาให้ผู้เรียนทุกช่วงวัย ทั้งกลุ่มวัยเรียน วันทำงาน ผู้สูงอายุ และศิษย์เก่าสามารถพัฒนาตนเอง พัฒนาอาชีพและนำผลการเรียนรู้มาสะสมไว้ในระบบคลังหน่วยกิตเพื่อเทียบโอนในระดับปริญญาตรีและบัณฑิตศึกษาในอนาคต ซึ่งหัวใจสำคัญในการดำเนินงานคือ การวาง Positioning กลุ่มผู้เรียน นอกจากนี้ผู้เรียนยังได้รับสิทธิ์ต่าง ๆ เทียบเท่านิสิตปัจจุบันของมหาวิทยาลัย การดำเนินงานของวิทยาลัยการจัดการศึกษาตลอดชีวิตต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายหน่วยงานในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เช่น ITSC CMU Library REG CMU TLIC
ด้านระบบคลังหน่วยกิตเมื่อผู้เรียนเข้ามาเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่แล้ว จะสามารถเทียบโอนหน่วยกิตเข้าสู่การศึกษาระบบปกติได้ ในการจัดการเรียนการสอนนั้นจะจำแนกได้ 2 ประเภท คือ การเรียนร่วม Advance @CMU และหลักสูตรอบรมระยะสั้นที่สะสมหน่วยกิต (Reskill/Upskill) ในการดำเนินงานด้านการจัดการศึกษาตลอดชีวิตให้สำเร็จลุล่วงนั้น ต้องประกอบด้วยปัจจัยหลายประการ เช่น การจูงใจคณะให้มีการดำเนินการสร้างและนำเข้าวิชาในระบบ การเปิดรายวิชาในหลักสูตรช่วงแรก ๆ ควรเปิดรายวิชา GE เพื่อเปิดโอกาสให้ทุกคนมาเรียนได้ การสร้างเครือข่ายความร่วมือทางวิชาการและสารสนเทศที่ชัดเจน ผู้ประสานระดับคณะต้องชัดเจน ในการเปิดหลักสูตรระยะสั้นที่ต้องการเก็บสะสมหน่วยกิตที่มีสมรรถนะต้องเปิดรับผ่านวิทยาลัยเท่านั้น การขอเปิดหลักสูตรผ่านวิทยาลัยได้ต้องผ่านการพจารณาจากคณะอนุกรรมการมาตรฐานวิชาการ แต่ในการลงทะเบียนเรียนจะมีข้อจำกัดคือผู้เรียนจะไม่สามารถลงทะเบียนเรียนในส่วนขอกลุ่มรายวิชาเรียนร่วมที่อยู่ในสถานะเดียวกันได้
ในภาคบ่ายเป็นการศึกษาดูงานและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านนวัตกรรมการเรียนการสอนและการเรียนเรียนรู้ (TLIC) โดย อ.ดร.อานันท์ สีห์พิทักษ์เกียรติ ผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมการสอนและการเรียนรู้ได้กล่าวถึง บทบาทหน้าที่ของศูนย์ฯ คือ เป็นหน่วยงานที่ดูแล ให้คำแนะนำให้ความช่วยเหลือและสนับสนุนอาจารย์เป็นหลัก เพื่อให้บรรลุพันธกิจทั้ง 4 พันธกิจ ดังนี้ 1.การผลักดันการจัดการเรียนรู้ดิจิทัล ด้านการพัฒนาระบบบริหารจัดการเรียนรู้ มช.(CMU LMS) การพัฒนาเครื่องมือดิจิทัลอย่างง่ายส่งเสริมการเรียนรู้ 2.การพัฒนาอาจารย์ด้านการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 โดยการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับศตวรรษที่ 21 และให้การสนับสนุนอาจารย์ โครงการอบรมอาจารย์ด้านการพัฒนาการสอน 3.การสร้างดิจิทัลแพลตฟอร์มเพื่อบริหารการจัดการเรียนรู้ โดยการพัฒนาระบบตัดเกรดออนไลน์เพื่อช่วยสนับสนุนและอำนวยความสะดวกในการจัดการคะแนนและส่งเกรด การพัฒนาระบบ Outcome-Based Education (OBE) เพื่อการวัดผลในหลายมิติ 4.การสนับสนุนการวิจัยและสร้างนวัตกรรมการเรียนรู้ ด้านทุนวิจัยนวัตกรรมการเรียนรู้ Covid-19 Research วิจัยถอดบทเรียนการเรียนการสอนออนไลน์ในช่วงสถานการณ์ Covid-19จากการศึกษาดูงานดังกล่าวสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการบูรณาการด้านการจัดการศึกษาตลอดชีวิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น รวมถึงการออกแบบระบบผลลัพธ์การเรียนรู้รายบุคคล และSkill Transcript
ภาพ/ข่าว : งานหลักสูตรและสหกิจศึกษา