เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2566 เวลา 09.00 น. ณ ห้องประชุมวิทยวิภาส๑ (ชั้น 1 อาคารหลังใหม่) คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการได้จัดโครงการ “Presentationfor International CWIE KKU ประจำภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2565” โดยรองศาสตราจารย์ ดร.วรรณวิภา แก้วประดิษฐ์ พลพินิจ รองผู้อำนวยการฝ่ายวิชาการ สำนักบริหารและพัฒนาวิชาการ กล่าวรายงาน โดยมีใจความว่า “โครงการ Presentation for International CWIE KKU ประจำภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2565” มีวัตถุประสงค์
- เพื่อให้นักศึกษาที่ได้รับทุนสนับสนุน CWIE นานาชาติ ประจำภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2565 ได้นำเสนอโครงงาน/วิจัย CWIE หลังออกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ ณ ต่างประเทศ
- เพื่อคัดเลือกผลงานของนักศึกษาเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยในการประกวดผลงาน CWIE นานาชาติ ในระดับเครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และระดับประเทศต่อไป
- เพื่อให้นักศึกษาที่เข้าร่วมรับฟังเกิดความรู้ความเข้าใจกระบวนการสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน นานาชาติ
ซึ่งกลไกในการพัฒนายกระดับคุณภาพอุดมศึกษาในการผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพสูง และมีคุณลักษณะตรงตามความต้องการขององค์กรผู้ใช้บัณฑิต และตลาดแรงงานทุกระดับ มีผู้เข้าโครงการประมาณ 120 คน ได้แก่ คณาจารย์ นักศึกษา บุคลากรและผู้ที่เกี่ยวข้องกับ CWIE รูปแบบการจัดโครงการเป็นการนำเสนอผลงาน Oral Presentation ของนักศึกษา CWIE ที่ได้ออกปฏิบัติงาน ณ ต่างประเทศ จำนวน 69 คน โดยแยกเป็นคณะ ดังต่อไปนี้
- คณะวิทยาศาสตร์ จำนวน 21 คน
- คณะวิทยาลัยนานาชาติ จำนวน 3 คน
- คณะสหวิทยาการ จำนวน 4 คน
- คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี จำนวน 6 คน
- คณะเศรษฐศาสตร์ จำนวน 5 คน
- คณะเกษตรศาสตร์ จำนวน 15 คน
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 1 คน
- วิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น จำนวน 14 คน
และแยกออกเป็นประเทศ ดังนี้
- ประเทศ สปป.ลาว จำนวน 2 คน
- ประเทศเวียดนาม จำนวน 36 คน
- ประเทศกัมพูชา จำนวน 5 คน
- ประเทศมาเลเซีย จำนวน 2 คน
- ประเทศอินโดนีเซีย จำนวน 6 คน
- ประเทศฟิลิปปินส์ จำนวน 10 คน
- ประเทศไต้หวัน จำนวน 3 คน
- ประเทศสิงคโปร์ จำนวน 5 คน
สำหรับการนำเสนอผลงานแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ กลุ่มมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และการจัดการ แยกเป็น 4 ห้องย่อย มีคณะกรรมการตัดสินผลงาน ห้องย่อยละ 2 คน และมีรางวัลสำหรับผู้ชนะการประกวด ดังนี้
รางวัลนำเสนอผลงาน ห้องละ 2 รางวัล รวมเป็น 8 รางวัล
– รางวัลดีเด่น พร้อมเกียรติบัตร และเงินรางวัล จำนวน 2,000 บาท
– รางวัลรองรองดีเด่น พร้อมเกียรติบัตร และเงินรางวัล จำนวน 1,000 บาท
หลังจากนั้นได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้เกียรติเป็นประธานในการเปิดงาน โดยมีใจความว่า “การดำเนินโครงการนี้ถือเป็นการดำเนินการตามนโยบายกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เป็นการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน (Cooperative and Work Integrated Education: CWIE) ตามแนวทาง CWIE Platform ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มุ่งเน้นสมรรถนะผู้เรียน ให้พร้อมสู่โลกแห่งการทำงานจริง ตามความต้องการของตลาดงาน ผ่านการร่วมผลิตระหว่างสถาบันอุดมศึกษาและหน่วยงานผู้ใช้บัณฑิตโครงการนี้ จะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยขับเคลื่อนกระบวนงานการจัดการศึกษาสหกิจศึกษาบูรณาการการทำงานแต่ละคณะ วิทยาลัย ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ช่วยพัฒนานักศึกษาให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การสร้างกำลังคน ยุทธศาสตร์และกลยุทธ์ของมหาวิทยาลัยขอนแก่นที่มุ่งหวังส่งเสริมการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง การพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะที่จำเป็นในศตวรรษที่ 21 ส่งเสริมให้นักศึกษาเกิดมุมมองและขีดความสามารถในการเป็นพลเมืองโลก และนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น มีความพร้อมในการเป็นพลเมืองโลก (Global citizen)”
ซึ่งในการตัดสินการนำเสนอผลงานได้รับเกียรติจากคณาจารย์ เจ้าของสถานประกอบการจำนวนทั้งหมด 8 ท่าน และผลการตัดสินการนำเสนอผลงานมีดังต่อไปนี้
1. กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นานาชาติ กลุ่มที่ 1
-
- รางวัลดีเด่น ได้แก่ นางสาวนภัสสร มะลัยทอง จากคณะวิทยาศาสตร์
- นำเสนอเรื่อง “การพัฒนาคลิปที่ใช้ในกระบวนการผลิตเส้นด้ายเพื่อยืดอายุการใช้งานและคุณสมบัติเชิงกลของเส้นด้ายที่ดี” (Development of clip used in yarn manufacturing process for a better)
- สถานประกอบการ Thien Phuoc Manufacturing & Trading Co.,Ltd
- ประเทศ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Vietnam)
- รางวัลรองดีเด่น ได้แก่ นางสาววิภากร หมู่บ้านม่วง จากคณะวิทยาศาสตร์
- นำเสนอเรื่อง “ผลกระทบของอุณหภูมิการเผาและอัตราการให้ความร้อนต่อคุณสมบัติทางเคมีไฟฟ้าของแคโทด LiNi0.8Co0.15Al0.05O2 สำหรับแบตเตอรี่ลิเธียมไอออน” (Effect of Calcination Temperature and heating rate on the Electrochemical Properties of Nickel- Rich LiNi0.8Co0.15Al0.05O2 Cathodes for Lithium-Ion Batteries.,)
- สถานประกอบการ Universitas Sebelas Maret (UNS)ฃ
- ประเทศ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Indonesia)
- รางวัลดีเด่น ได้แก่ นางสาวนภัสสร มะลัยทอง จากคณะวิทยาศาสตร์
2. กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นานาชาติ กลุ่มที่ 2
-
- รางวัลดีเด่น ได้แก่ นางสาวดุษฎี ดวงแก้ว จากคณะเกษตรศาสตร์
- นำเสนอเรื่อง “การศึกษาความหลายหลายของไส้เดือนฝอยบริเวณพื้นที่การปลูกกาแฟของประเทศเวียดนาม” (The diversity of nematode communities from coffee plantations in Central Highland, Vietnam)
- สถานประกอบการ Department of Nematology, Institute of Ecology and Biological Resources, Vietnam Academy of Science and Technology
- ประเทศ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Vietnam)
- รางวัลรองดีเด่น ได้แก่ นายธีระธรรม ประสานพันธ์ จากคณะเกษตรศาสตร์
- นำเสนอเรื่อง “การจัดการระยะแผงกั้นหลังแม่สุกรเพื่อลดการสูญเสียลูกสุกรจากการถูกแม่ทับหลังคลอด” (Management of phase back-barrier of sow to reduce the loss of piglets being crushed after farrowing.)
- สถานประกอบการ Hong Ha Nutrition Joint Stock Company
- ประเทศ สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม (Vietnam)
- รางวัลดีเด่น ได้แก่ นางสาวดุษฎี ดวงแก้ว จากคณะเกษตรศาสตร์
3. กลุ่มมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และการจัดการ นานาชาติ กลุ่มที่ 1
-
- รางวัลดีเด่น ได้แก่ นางสาวธีร์จุฑา จันทะไชยา จากคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี
- นำเสนอเรื่อง “ความสัมพันธ์ระหว่างผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศอินโดนีเซียและบริษัทที่จดทะเบียนในอุตสาหกรรม Consumer non-cyclical หมวด D311 Tobacco ในตลาดหลักทรัพย์อินโดนีเซีย Indonesia Stock Market (Bursa Efek Indonesia)” (The relationship between Gross Domestic Product and Listed Companies in Consumer non-cyclical Sector, D331 Tobacco Industry in Indonesia Stock Market (Bursa Efek Indonesia))
- สถานประกอบการ Bank Jateng Syariah Cab Magelang
- ประเทศ สาธารณรัฐอินโดนีเซีย (Indonesia)
- รางวัลรองดีเด่น ได้แก่ นางสาวชนิตปรียา ปวิวงศ์วริศ จากวิทยาลัยนานาชาติ
- นำเสนอเรื่อง Prostitution Abroad
- สถานประกอบการ Royal Thai Embassy, Singapore
- ประเทศ สาธารณรัฐสิงคโปร์ (Singapore)
- รางวัลดีเด่น ได้แก่ นางสาวธีร์จุฑา จันทะไชยา จากคณะบริหารธุรกิจและการบัญชี
4. กลุ่มมนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และการจัดการ นานาชาติ กลุ่มที่ 2
-
-
- รางวัลดีเด่น ได้แก่ นางสาวพรไพลิน พร้อมมูล จากวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น
- นำเสนอเรื่อง “ปัจจัยที่ส่งผลให้ระบบการดำเนินงานด้านเอกสารในสำนักทะเบียนเกิดความล่าช้า : กรณีศึกษาสำนักทะเบียน มหาวิทยาลัยบาเกียว ประเทศฟิลิปปินส์” (Factors which result in delays in the Admissons and Records Center’s document processing system : Case study of Admissons and Records Center, University of Baguio, Philippines)
- สถานประกอบการ University of Baguio
- ประเทศ สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ (Philippines)
- รางวัลรองดีเด่น ได้แก่ นางสาวกุญรัตน์ บุตรสา จากคณะสหวิทยาการ
- นำเสนอเรื่อง หนังสือคู่มือสําหรับการทํางานในแผนกการสํารองห้องพักโรงแรมคราวน์พลาซ่า เวียงจันทน์(Manual for the reservation department, Crowne Plaza Vientiane.)
- สถานประกอบการ Crowne Plaza Vientiane
- ประเทศ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (Laos)
- รางวัลดีเด่น ได้แก่ นางสาวพรไพลิน พร้อมมูล จากวิทยาลัยการปกครองท้องถิ่น
-
ซึ่งผลงานทั้งหมดนักศึกษาจะต้องเป็นตัวแทนของมหาวิทยาลัยในการประกวดผลงาน CWIE นานาชาติ ในระดับเครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และระดับประเทศต่อไป
ภาพ : หน่วยสารสนเทศและวิทยาการข้อมูล งานรับเข้าและการตลาด
ข่าว : หน่วยประชาสัมพันธ์และการตลาด งานบริหารและสารสนเทศ