คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคายปรับปรุงหลักสูตรใหม่เข้มข้นผสมผสานแนวคิดที่ทันสมัย เพื่อร่วมพัฒนาเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน

คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ปรับปรุงหลักสูตรหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศนวัตกรรม และความยั่งยืนปีการศึกษา 2565 ใหม่ เน้นนําความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์ ไปประยุกต์ใช้กับแนวคิดสมัยใหม่  การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และมีทักษะด้านเทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรม สอดคล้องกับทิศทางการเปลี่ยนแปลงทั้งในยุคปัจจุบันและในอนาคต

  

 

รศ.ดร.ธเนศ วัฒนกูล หัวหน้าสาขาวิชาสังคมศาสตร์ คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
                 รศ.ดร.ธเนศ วัฒนกูล หัวหน้าสาขาวิชาสังคมศาสตร์               คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

         รศ.ดร.ธเนศ วัฒนกูล หัวหน้าสาขาวิชาสังคมศาสตร์ คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น     ได้ให้ข้อมูลการปรับปรุงหลักสูตรใหม่ว่า หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ นวัตกรรม และความยั่งยืน ปีการศึกษา 2565 (หลักสูตรปรับปรุง) มีชื่อหลักสูตรภาษาไทย ว่า เศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ นวัตกรรม และความยั่งยืน และมีชื่อหลักสูตรเป็นภาษาอังกฤษ ว่า Bachelor of Economics Program in International Economics, Innovation and Sustainability โดยใช้ชื่อปริญญาและสาขาวิชาภาษาไทย ชื่อเต็มคือ เศรษฐศาสตรบัณฑิต (เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ นวัตกรรม และความยั่งยืน) ชื่อย่อ ศ.บ. (เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ นวัตกรรม และความยั่งยืน) ส่วน ภาษาอังกฤษ ชื่อเต็ม Bachelor of Economics (International Economics, Innovation and Sustainability) ชื่อย่อ B.Econ.(International Economics, Innovation and Sustainability: IEIS)  หลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ นวัตกรรม และความยั่งยืน ปีการศึกษา 2565 (หลักสูตรปรับปรุง) มีจุดเด่นคือ เน้นนําความรู้ทางด้านเศรษฐศาสตร์ ไปประยุกต์ใช้กับแนวคิดสมัยใหม่ การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน และมีทักษะ ด้านเทคโนโลยีดิจิทัล นวัตกรรม โดยเฉพาะภูมิภาคอาเซียน สาขาวิชานี้ได้รับความร่วมมือระหว่างคณาจารย์และ หน่วยงานต่าง ๆ ได้แก่ ศูนย์เศรษฐกิจระหว่างประเทศ คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ด่านศุลากรหนองคาย เป็นต้น

นอกจากนั้น ในปัจจุบันประเทศไทยต้องมีการปรับตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศในทุก ๆ ระดับ และทุก ๆ มิติ ไม่ว่าจะเป็นระดับทวิภาคี อนุภูมิภาค ภูมิภาค และพหุภาคี เพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจประเทศไทยกับเศรษฐกิจโลก รวมทั้งเพื่อเพิ่มความสามารถในการแข่งขันอย่างยั่งยืน และได้รับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจร่วมกัน กับประเทศต่างๆ ที่เกิดจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ อีกทั้งจังหวัดหนองคาย เป็นจังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีอาณาเขตและชายแดนติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง คือ สปป.ลาว และมีสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 มีด่านศุลกากรหนองคาย และ ด่านตรวจคนเข้าเมือง โดยในอนาคตอันใกล้ จะมีความก้าวหน้าเกี่ยวกับการพัฒนาเส้นทางคมนาคมขนส่ง ทั้งทางถนน และทางราง เช่น รถไฟความเร็วสูง เชื่อมต่อระหว่างหนองคาย นครหลวงเวียงจันทน์ และคุนหมิง ประเทศจีน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สนับสนุน และส่งเสริม ให้ผู้ที่เรียนในหลักศุตรนี้ มีความได้เปรียบ ที่เกิดจากการนำความรู้ที่เรียน มาใช้กับสถานการ์จริง

บัณฑิตที่สําเร็จการศึกษาสามารถประกอบ อาชีพที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานในภาครัฐ เช่น เศรษฐกร นักวิจัย นักวิชาการ ครูและอาจารย์ นักวิชาการงบประมาณ เจ้าหน้าที่ วิเคราะห์งบประมาณ          เจ้าหน้าที่วิเคราะห์นโยบายและแผน นักวิชาการภาษี นักวิชาการสรรพากร เจ้าหน้าที่วิเคราะห์ภาษี นักวิชาการคลัง นักวิชาการพาณิชย์ นักการทูต เจ้าหน้าที่ศุลกากร เจ้าหน้าที่สรรพสามิต นักวิชาการท่องเที่ยว นักวิชาการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นต้น ส่วนการทำงานในภาคเอกชน เช่น ตัวแทนออกสินค้า พนักงานสินเชื่อ  เจ้าหน้าที่ส่งเสริมการขาย เจ้าหน้าที่การเงินและ พัสดุ ผู้สื่อข่าว นักวิเคราะห์ข่าวเศรษฐกิจ และบรรณาธิการข่าวเศรษฐกิจ นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ ผู้ประกอบการธุรกิจส่วนตัว เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป นักการตลาดดิจิทัล เกษตรกรอัจฉริยะ นักออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ และอื่นๆ โดยเปิดรับสมัครผู้สนใจเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรดังกล่าว ดังนี้

รอบที่ 1 Porfolio รับสมัคร 1-15 ธันวาคม 2564 จำนวนรับ 15 คน

รอบที่ 2 #Quota รับสมัคร 4-8 เมษายน 2565 จำนวนรับ 20 คน

รอบที่ 3 #Admission รับสมัคร 2-10 พฤษภาคม 2565 จำนวนรับ 5 คน

สมัครได้ที่ https://admissions.kku.ac.th/ หรือสอบถามข้อมูลได้ที่โทรศัพท์ หมายเลข 043-451600 ต่อ 49202 อีเมล: nkcecon@gmail.com Line official account: @nkcecon  หรือคลิกที่   https://lin.ee/eYX9Lp7  Instagram: nkcecon หรือ https://www.instagram.com/nkcecon/

     รศ.ดร.ธเนศ วัฒนกูล หัวหน้าสาขาวิชาสังคมศาสตร์ คณะสหวิทยาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ยังได้กล่าวทิ้งท้ายด้วยว่า การปรับปรุงหลักสูตรหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต สาขาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศนวัตกรรม และความยั่งยืนปีการศึกษา 2565 ในครั้งนี้ จะทําให้ผู้เรียนได้รับความรู้ และพัฒนาทักษะที่จําเป็นในอนาคต โดยเน้นใช้รูปแบบการเรียนการสอนมุ่งตอบสนองความต้องการของผู้เรียน ส่งเสริมการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง เพื่อนําความรู้ไปประยุกต์ใช้กับการประกอบอาชีพที่สนใจ ในอนาคตได้อย่างแน่นอน   

 

รศ.ดร.ธเนศ วัฒนกูล  : ข้อมูล

เบญจมาภรณ์  มามุข  : เรียบเรียง  

 

Scroll to Top