วิศวฯคอมพิวเตอร์ ทีม U2T กุดเค้า Telemedicine สุขภาพอัจฉริยะ คว้ารางวัลชนะเลิศ สุดยอด 5 ทีมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในการแข่งขันแฮกกาธอน (U2T Hackathon 2021)

U2T กุดเค้า telemedicine สุขภาพอัจฉริยะ จากสาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คว้ารางวัลชนะเลิศ สุดยอด 5 ทีมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในการแข่งขันแฮกกาธอน (U2T Hackathon 2021) คัดเลือกสุดยอดระดับภูมิภาคเครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภายใต้โครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ) ระดับภูมิภาค เครือข่ายภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน  เมื่อวันที่ 14-15 กรกฎาคม 2564 ณ.ห้องประชุมสัมมนา อาคาร 50 พรรษามหาวชิราลงกรณ มหาวิทยาลัยราชภัฎเลย  เพื่อเลือกจำนวน 5 ทีมเป็นตัวแทนเครือข่ายของสถาบันอุดมศึกษา

          โดยทีม U2T กุดเค้า telemedicine สุขภาพอัจฉริยะตำบลกุดเค้า อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น  คือ 1 ใน 2 ทีมชนะเลิศในพื้นที่ความรับผิดชอบของมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย สำนักบริการวิชาการ สมาชิกประกอบด้วย นางสาวจิตราภรณ์  พันชาติ หัวหน้าทีม  นางสาวกิตติมาธร  มณีศรี นางสาวเฉิดโฉม คำงาม นางสาวเจนจิรา  กันยาโม้ นายกฤษฎากรณ์  มาศรีนางสาวกาญจนา เคนานัน  นางสาวประภาวดี  เชื้อหมอดู และ นายกษิณัฐ เกื้อกูล  ที่ร่วมกันบูรณาการในการทำงานร่วมกันของ สำนักบริการวิชาการ  องค์การบริหารส่วนตำบลกุดเค้า  อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และโรงพยาบาลมัญจาคีรี ได้นำเสนอการดำเนินการตรวจสุขภาพเพื่อคัดกรองผ่านข้อมูลมือ 2 จาก โรงพยาบาลมัญจาคีรี นำมาวิเคราะห์ และลงพื้นที่ เพื่อประชุมสร้างความร่วมมือ ความเข้าใจกับผู้นำชุมชน ประชาชน หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เป็นองค์ความรู้ไปช่วยบริการชุมชน โดยนำนวัตกรรมด้านสุขภาพเกี่ยวกับการตรวจ โรค  NCDs ( non-communicable diseases) ซึ่งเป็นกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง แต่เป็นโรคที่เกิดจากนิสัยหรือพฤติกรรมการดำเนินชีวิต  ในพื้นที่เป้าหมาย ตำบลกุดเค้า อำเภอมัญจาคีรี จังหวัดขอนแก่น  ด้วยเครื่องตรวจสุขภาพอัจฉริยะ “เทเลเมดดิซีน” telemedicine อันเป็นนวัตกรรมใหม่ที่สามารถตรวจสุขภาพได้หลากหลาย คือ ตรวจน้ำตาลในเลือด ความดัน น้ำหนัก ส่วนสูง ค่าออกสิเจนในเลือด  ได้อย่างครบถ้วน และกำลังพัฒนาที่จะตรวจไต ซึ่งจะไม่เจาะเลือด แต่จะตรวจจากปัสสาวะ โดยเครื่อง telemedicine   เป็นนวัตกรรมจาก อ.ดร.ชวิศ ศรีจันทร์ สาขาวิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์  บูรณาการงานวิจัยร่วมกับคณะแพทยศาสตร์ คณะพยาบาลศาสตร์  คณะเภสัชศาสตร์  และบริษัท ทีโรโบติกส์ จำกัด  ทั้งนี้ทีม U2T กุดเค้า telemedicine  ได้นำผลมาเปรียบเทียบเรื่องความคุ้มค่าระหว่างการพบหมอโดยตรง กับการตรวจด้วยเครื่อง “เทเลเมดดิซีน” และต้นทุนค่าใช้จ่าย ดังนี้คือ แพทย์ 1 คน ตรวจคนไข้ได้ประมาณ 10 คน ต่อวัน ในขณะที่เครื่องเทเลเมดดิซีน จะสามารถตรวจได้ถึง 50 คน เมื่อเปรียบเทียบในเชิงความคุ้มค่าด้านค่าใช้จ่าย ค่าตรวจ 1 คน 350 บาท (รวมค่าหัตถการ) ตรวจคนไข้ประมาณ 10 คน ต่อวัน คิดเป็นเงิน 3,500 บาท หากเป็นการใช้เครื่อง “เทเลเมดดิซีน” ค่าเช่าเครื่อง วันละ 200 บาท ใน 1 วัน เครื่องสามารถตรวจร่างกายคนไข้ได้ประมาณ 50 คน ต่อวัน คิดเป็นเงินเฉลี่ย คนละ 4 บาท  หลังจากมีการตรวจเก็บข้อมูลพบกลุ่มตัวอย่างแล้ว จึงได้มีการรณรงค์ปรับพฤติกรรมการกินที่เหมาะสมให้กับชุมชน






อุดมชัย สุพรรณวงศ์ :ข่าว
อ.ดร.ชวิศ ศรีจันทร์ : ข้อมูล
จารุณี นวลบุญมา : รายงาน

Scroll to Top