____เมื่อวันจันทร์ที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ.2567 คณะเทคโนโลยี มข. นำโดย ผศ.ดร.อัมพร แซเอียว รองคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและนวัตกรรมเพื่อสังคม พร้อมด้วย ดร.พงษ์วิภา หล่อสมบูรณ์ ประธานอนุกรรมการแผนงานกลุ่มเศรษฐกิจหมุนเวียน หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ในกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) นำทีมเจ้าหน้าที่เข้าตรวจเยี่ยมโครงการวิจัย “การเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจในห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมน้ำปลาร้า ด้วยเทคโนโลยีสร้างมูลค่ากากปลาร้า (ระยะที่ 2)”
___โดยโครงการนี้ได้มุ่งเน้นการใช้ประโยชน์จากกากปลาร้าซึ่งเป็นเศษเหลือในกระบวนการผลิตน้ำปลาร้าปรุงรสบรรจุขวด โดยปัจจุบันไทยมีปริมาณกากปลาร้าเหลือทิ้งอย่างน้อย 680 ตัน/ปี ซึ่งถูกกำจัดโดยการต้องฝังกลบ จึงอาจส่งผลให้กากปลาร้าที่มีความเค็มและมีกลิ่นรุนแรงนี้ รั่วไหลสู่ดินและสิ่งแวดล้อม ทำให้เกิดปัญหาหาสิ่งแวดล้อมตามมาได้ ดังนั้นทีมวิจัยของมหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงได้มีการวิจัยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับของเสียในกระบวนการผลิต โดยสร้างเป็นไลน์ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีการเพิ่มแคลเซียมจากผงกระดูกปลาที่ได้จากการนำกากปลาร้ามาปรับปรุงคุณภาพด้วยเทคโนโลยีที่นักวิจัยคิดค้น พร้อมทั้งได้มีการต่อยอดไปสู่การจัดทำข้อกำหนดด้านมาตรฐาน เพื่อให้น้ำปลามีแคลเซียมเพิ่มขึ้น มีคุณค่าทางโภชนาการสูงกว่าน้ำปลาร้าทั่วไปในท้องตลาด ทำให้ผู้ประกอบการสามารถกล่าวอ้างคุณสมบัติน้ำปลาร้าเสริมผงกระดูกปลาเป็นผลิตภัณฑ์ แคลเซียมสูงได้ รวมถึงมีการวิจัยเพิ่มเพื่อป้องกันไม่ให้ผงกระดูกปลาตกตะกอนที่ก้นขวด ซึ่งทำให้ผู้บริโภคใช้ผลิตภัณฑ์ได้สะดวก ไม่จำเป็นต้องเขย่าขวดทุกครั้งก่อนใช้ ซึ่งจะช่วยสร้างความได้เปรียบทางการตลาดให้กับผู้ประกอบการ
.
___ซึ่งดำเนินการวิจัยโดย ผศ.ดร. สมสมร แก้วบริสุทธิ์ อาจารย์คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น หัวหน้าโครงการ ภายใต้การการสนับสนุนทุนจาก บพข. ร่วมกับ บริษัท เพชรดำฟู๊ดส์ จำกัด ซึ่งเป็นผู้ประกอบการที่ผลิตน้ำปลาร้าปรุงรสบรรจุขวดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย
___โครงการวิจัยย่อยที่ 2 นำโดย ผศ.ดร. อัมพร แซ่เอียว ในการนำการปลาร้ามาสร้างเป็นซอสน้ำปลาร้าอเนกประสงค์จากกากข้าวคั่วที่เป็นเศษเหลือจากกระบวนการผลิต ทำให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ สามารถใช้ประกอบอาหารได้หลากหลายมากยิ่งขึ้น โดยได้มีการทดสอบรสชาติและการยอมรับจากผู้บริโภค มีการศึกษาวิธียืดอายุน้ำปลาร้าอเนกประสงค์ให้สามารเก็บได้ยาวนานขึ้น รวมถึงการฆ่าเชื้อ และการปรับสภาวะความเป็นกรด-ด่างของผลิตภัณฑ์ เพื่อให้สามารถตอบรับกับความต้องการของผู้ประกอบการและผู้บริโภคได้
___และมีโครงการย่อยที่ 3 นำโดย รศ.ดร. สุภาภรณ์ พวงชมพู ในการนำกากปลาร้ามาผลิตน้ำหมักชีวภาพเพื่อใช้ในการปลูกพืชเศรษฐกิจ โดยได้เริ่มทดลองศึกษากับพืชไร่จำพวก ข้าวโพด และมันสำปะหลัง ซึ่งเป็นพืชระยะสั้น และที่มีการปลูกมากที่สุดในจังหวัดกาฬสิน โดยทีมวิจัยได้มีการพัฒนาสูตรน้ำหมักจากชีวภาพจากกากปลาร้า ทำให้ได้น้ำหมักชีวภาพที่มีคุณภาพสูงขึ้น มีค่าธาตุอาหารหลักเทียบเคียงหรือสูงกว่ามาตรฐานปุ๋ยอินทรีย์เหลว และให้ผลผลิตที่ดีกว่าเมื่อกับการใช้ปุ๋ยเคมีเพียงอย่างเดียว
.
ข้อมูลข่าว /ภาพ : จาก https://www.facebook.com/pmuc.researchfunding