KKBS จัดแคมป์ฟักฝันธุรกิจสตาร์ทอัพ นักศึกษา มข. ปีที่ 3

เมื่อเร็วๆนี้ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น โดย ภารกิจด้านวิจัยและบริการวิชาการ จัดโครงการ KKBS Startup Camp 2024 กิจกรรมเพื่อเปิดโอกาสให้นักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้ามาเรียนรู้เกี่ยวกับธุรกิจสตาร์ทอัพ ตั้งแต่ความรู้พื้นฐานด้านธุรกิจ แนวคิดการออกแบบผลิตภัณฑ์ หลักการประเมินความเป็นไปได้โครงการ การทำงานเป็นทีม   ทั้งนี้กิจกรรมดังกล่าว ได้รับการสนับสนุนการดำเนินงานเพื่อพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจใหม่ (Startup) ภายใต้ความร่วมมือทางวิชาการระหว่างมหาวิทยาลัยขอนแก่น และกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรมสำนักงานปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม โดยคณะฯ ได้รับจัดตั้งให้เป็นเครือข่ายร่วมพัฒนาผู้ประกอบการ (TED Fellow)
สำหรับกิจกรรมในปีนี้เริ่มต้นด้วยการเวิร์กช้อปเจาะลึกการเขียนแผนธุรกิจ ในหัวข้อ “How to write a Bussiness Plan for winning startup fund” เพื่อขอทุนสนับสนุนจากกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) ในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567 โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ก่อศักดิ์ โตวรรธกวณิชย์  ผู้จัดการพัฒนานวัตกรรมและบ่มเพาะธุรกิจใหม่  บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคัล จำกัด (มหาชน) ต่อด้วยการเปิดค่าย “KKBS Startup Camp 2024 ” ซึ่งจัดต่อเนื่อเป็นปีที่ 3 ในวันที่ 2-6 มีนาคม 2567 โดยมีทีมนักศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่น เข้าร่วมโครงการเพื่อบ่มเพาะ ระดมสมอง เขียนแผนธุรกิจสตาร์ทจากวิทยากรชั้นนำ ประกอบด้วย คุณวาที วิเชียรนิตย์ CEO & Founder บริษัท VING Inter Trade (รองเท้า Ving) คุณแสงตะวัน อ่อนน่วม CEO & Founder บริษัท ชิบะรูม จำกัด  นายสัตวแพทย์ปัณณวัชร์ พงศ์กิตติรักษ์  CEO & Founder บริษัทเพทที่นี่ คอร์ปอเรชั่น จำกัด คุณกษิดิ์เดช นาเจริญวุฒิกุล CEO and Co-founder บริษัท VELLO 24  และคุณกฤษฎิ์ติเดช ต้นกันยา CEO บริษัท ไทยบิวตี้คอมเพล็กซ์ จำกัด”

ปิดท้ายด้วยการระดมสมองทำกิจกรรมกลุ่ม และการนำเสนอไอเดียต้นแบบและแผนธุรกิจสตาร์ตอัพของผู้เข้าร่วมแคมป์ซึ่งเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น จำนวน 9 ทีม  โดยผลการตัดสินการนำเสนอแผนธุรกิจสตาร์ตอัพ เพื่อรับทุนสนับสนุนในการต่อยอดธุรกิจเชิงพาณิชย์ มีดังนี้

1. รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ทีม BU’R ทุนการศึกษาจำนวน 8000 บาท โดยแผนธุรกิจผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอได้แก่ bu’r: Click Acne patch แผ่นแปะสิว WHAP แบบละลายน้ำได้ และนำเทคโนโลยีแท่งกดแผ่นแปะสิวมาใช้เพื่อแปะสิวได้ตรงจุด สมาชิกในกลุ่มประกอบด้วย นางสาวคณิศร วรเนตรสุดาทิพย์ นางสาวพัชรินทร์ ชาลีไทย์สงค์ นางสาวกุลปริยา เขตคาม นางสาวจริญญาลักษ์ อ่อนคำ และ นางสาวปวิชญา ชื่มชมกิจ นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (สาขาวิชาผู้ประกอบการดิจิทัล) คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี

2. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ทีม Prylné ทุนการศึกษา จำนวน 6000 บาท โดยแผนธุรกิจผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอได้แก่ Prylné Platform : แพลตฟอร์มผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์จาขยะพลาสติก เป็นแนวคิดการสร้างนวัตกรรม e-tailer platform ที่ให้ผู้ใช้เป็นผู้ออกแบบผลิตภัณฑ์ได้เองจาก Prylné Platform สมาชิกในกลุ่มประกอบด้วย นางสาวสุปรียา ภัทรชนน นางสาวณัฐพัชร์ จันทรสิงหาญกิจ นางสาวรวิภา ปุริวัฒน์นักศึกษาหลักสูตรบัญชีบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี

3. รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ทุนการศึกษา จำนวน 5000 บาท ได้แก่ทีม OD-DO (ออด-โด้) โดยแผนธุรกิจผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอได้แก่ แผ่นปิดตาหลับปุ๋ย โดยนำคุณสมบัติขอสีดำสนิทและนำมันหอมระเหยมาช่วยในการผ่อนคลายและหลับลึก สมาชิกในกลุ่มประกอบด้วย นายสิทธิพงศ์ คำแสน นายวิษณุกรณ์ บุญนาวา นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (สาขาวิชาผู้ประกอบการดิจิทัล) คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี
4. รางวัลชมเชย จำนวน 5 รางวัล ทุนการศึกษาจำนวน 3000 บาท ได้แก่
4.1 ทีม On Another Planet แผนธุรกิจผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอได้แก่ Plusty: Plastic reducing solution เครื่องบีบอัดขวดพลาสติก สมาชิกในทีมประกอบด้วย นายชัยชนะ สมีดี นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต (การสอนภาษาอังกฤษให้ผู้มีพื้นฐานภาษาอื่นนอกจากภาษาอังกฤษ)  คณะศึกษาศาสตร์ นางสาวอนัญญา ศรุตญานนท์ นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต วิชาเอกการตลาด  นางสาวณัฐณิชา พนมเทียน นักศึกษาหลักสูตรเศรษฐศาสตรบัณฑิต คณะเศรษฐศาสตร์ และ นางสาวธนพร ดีบุรี นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต วิชาเอกการเงิน  คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี
4.2 ทีม ME แผนธุรกิจผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอได้แก่ แพลตฟอร์มรวบรวมอู่ซ่อมรถ โดยแพลตฟอร์มนี้จะ รวบรวมอู่ซ่อมรถจังหวัดขอนแก่นในเบื้องต้น สมาชิกในทีมประกอบด้วย นางสาวอลิศรา วรรณกี้ นางสาวกนกวรรณ ศิลารักษ์ นายณัฐนนท์ มาลัย นางสาวรมิตา ทองสิงห์ และนางสาวศุจินธรา ศรีชา  นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (สาขาวิชาผู้ประกอบการดิจิทัล) คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี
4.3 ทีม Recycally แผนธุรกิจผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอได้แก่ ตู้รับคืนบรรจุภัณฑ์อัตโนมัติ แนวคิดเพื่อลดจำนวนขยะพลาสติกและนำไปรีไซเคิลได้ง่าย สมาชิกในทีมประกอบด้วย นางสาวประภัสศร ม่วงผุย นางสาวจิรภัทร เหมือนสมัย นายรชต ระเบียบโพธิ์ และนางสาววิสสุตา อดทน นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (สาขาวิชาผู้ประกอบการดิจิทัล) คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี
4.4 ทีม Smart Swap แผนธุรกิจผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอได้แก่ Smart Swap เปลี่ยนกันไหม (ให้เธอเป็นคนถูกทิ้ง) การเริ่มต้นแนวคิดเพื่อลดจำนวนขยะพลาสติกและนำไปรีไซเคิลได้ง่าย เริ่มจากโรงอาหารของโรงเรียน มหาวิทยาลัย และชุมชน สมาชิกในทีมได้แก่ นางสาวอรปรียา ชมมอญ นักศึกษาหลักสูตรศึกษาศาสตรบัณฑิต วิชาเอกวิทยาศาสตร์ศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์  นางสาวปิ่นมณี แซมบอน และนางสาวสุธาสินี ผานาค นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (การจัดการอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว) กลุ่มเรียนภาษาอังกฤษ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี
4.5 ทีม Dronurian แผนธุรกิจผลิตภัณฑ์ที่นำเสนอได้แก่ แพลตฟอร์มช่วยเหลือชาวสวนทุเรียนในการตรวจสอบความเหมาะสมในการเก็บทุเรียน ลดปริณมาณคน สมาชิกในทีมได้แก่ นางสาวณิชกุล บุญล้น นักศึกษาหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต (สาขาวิชาผู้ประกอบการดิจิทัล) คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี
วรัญญู  ดอนเหนือ : ภาพ/ข่าว
Scroll to Top