มข. จับมือ ซินเจนทา “ผสานเทคโนโลยีซินเจนทา สู่เกษตรกรมืออาชีพ” หวังถ่ายทอดนวัตกรรม หนุนทำเกษตรอย่างยั่งยืน

มข. จับมือ ซินเจนทา “ผสานเทคโนโลยีซินเจนทา สู่เกษตรกรมืออาชีพ” หวังถ่ายทอดนวัตกรรม หนุนทำเกษตรอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างประโยชน์ด้านการเพาะปลูกต่อภาคการเกษตร

 


     คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับซินเจนทาจัดงาน “ผสานเทคโนโลยีซินเจนทา สู่เกษตรกรมืออาชีพ” เน้นการถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางชีวภาพ แก่ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ผัก เกษตรกรผู้เพาะปลูก และนิสิตนักศึกษา กว่า 500 คน เพื่อช่วยในการรับมือกับสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่งเสริมการทำเกษตรที่ปลอดภัยและยั่งยืน พร้อมโชว์แปลงสาธิตการปลูกพืชผักด้วยนวัตกรรม “สารกระตุ้นทางชีวภาพ” จากค่ายซินเจนทา ระหว่างวันที่ 27 – 29 กันยายน ที่ผ่านมา ณ หมวดพืชผัก คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รศ.ดร.ดรุณี โชติษฐยางกูล คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
รศ.ดร.ดรุณี โชติษฐยางกูล คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

     รศ.ดร.ดรุณี โชติษฐยางกูล คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า การจัดงานในครั้งนี้ สืบเนื่องมาจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นกับบริษัท ซินเจนทา มีการร่วมมือในด้านต่างๆ มานานแล้ว โดยเฉพาะการรับนักศึกษาจากคณะเกษตรฯ ไปฝึกงานมาตลอด ที่สำคัญการจัดงานในครั้งนี้ มีประโยชน์มากต่อภาคการเกษตร เนื่องจากมหาวิทยาลัยขอนแก่นมีงานวิจัยด้านการเกษตรมากมาย ในขณะที่บริษัท ซินเจนทา มีเทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสมัยในระดับโลก จึงมาผสมผสมผลานเข้าด้วยกันเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีการเกษตรให้มีผลผลิตมากขึ้นรองการการเปลี่ยนของสภาพภูมิอากาศและความต้องการอาหารที่มากขึ้นในอนาคตด้วย

     ขณะที่ นายดำรงศักดิ์ เดี่ยววาณิชย์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์อารักขาพืช บริษัท ซินเจนทา ครอป โปรเทคชั่น จำกัด กล่าวว่า ปัจจุบันแนวโน้มความต้องการอาหารที่เพิ่มมากขึ้น นับเป็นโอกาสอันดีที่เกษตรกรในประเทศสามารถเพิ่มรายได้ แต่ด้วยสภาพอากาศที่ผันผวน รวมถึงปรากฎการณ์เอลนีโญรอบใหม่ที่เริ่มส่งผลกระทบต่อพืชผลทางการเกษตรเป็นวงกว้าง เกษตรกรต้องเผชิญกับปัญหาไม่สามารถเพาะปลูกได้ เพราะฝนทิ้งช่วง แล้ง ไม่มีน้ำเพียงพอในการเพาะปลูก รายได้เกษตรกรลดลง


     ดังนั้น บริษัท ซินเจนทา ประเทศไทย จำกัด จึงได้ร่วมกับคณะเกษตรศาสตร์ มข. จัดงาน “ผสานเทคโนโลยีซินเจนทา สู่เกษตรกรมืออาชีพ” ขึ้นเพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางชีวภาพ แก่ผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ผัก เกษตรกรผู้เพาะปลูก และนิสิตนักศึกษา กว่า 500 คน เพื่อช่วยในการรับมือกับสภาวะอากาศที่เปลี่ยนแปลง โดยมีการถ่ายทอดนวัตกรรมใหม่ๆ ที่ช่วยในการเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร ปรับปรุงคุณภาพให้ดียิ่งขึ้น ลดต้นทุนการผลิต และเพิ่มรายได้ให้แก่เกษตรกรไทย

“เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าการจัดงานครั้งนี้จะสร้างความตระหนักเกี่ยวกับความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศต่อผลผลิตของพืช และเรามั่นใจว่านวัตกรรมในการผลิตผลิตภัณฑ์ของซินเจนทาจะช่วยเพิ่มผลผลิตให้กับแก่เกษตรกร แม้ในสถานการณ์ที่ต้องเผชิญกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและความสามารถตอบสนองความต้องการด้านความมั่นคงทางอาหาร  ซึ่งหัวใจหลักของซินเจนทาคือ ‘นำศักยภาพของพืชสู่ชีวิต’ เพื่อส่งเสริมการทำเกษตรอย่างปลอดภัยและมั่นคง นี่คือความมุ่งมั่นที่เรายึดมั่นเสมอมา”  ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์อารักขาพืช บริษัท ซินเจนทา ครอป โปรเทคชั่น กล่าว

     และรศ.ดร.สุภัทร์ อิศรางกูร ณ อยุธยา หัวหน้าสาขาวิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวว่า มีความยินดีและรู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ร่วมกับซินเจนทาในการส่งเสริม และสนับสนุนให้เกษตรกรสามารถรับมือกับสภาวะภัยแล้งโดยการปลูกพืชได้ปลอดภัยและอย่างยั่งยืนต่อไป นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสที่ดีที่จะให้นักศึกษาในมหาวิทยาลัยฯ ได้ศึกษาและทดลองใช้นวัตกรรมสารกระตุ้นทางชีวภาพของซินเจนทาในการปลูกพืชผัก และเรียนรู้เทคโนโลยีการเกษตรใหม่ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งมหาวิทยาลัยและภาคเกษตรของประเทศไทย

รวบรวม เรียบเรียง  : เบญจมาภรณ์  มามุข

ข้อมูล ภาพ  : บริษัท ซินเจนทา ประเทศไทย จำกัดDarunee Jothityangkoon

 

Scroll to Top