มนุษย์-สังคม มข. ผนึกกำลังนิสิตนักศึกษา 6 สถาบัน สานสัมพันธ์เครือข่ายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ อุทิศตนเพื่อสังคม

เมื่อวันที่ 13-19 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดโครงการสานสัมพันธ์เครือข่ายมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 6 สถาบัน (ค่าย 6 สถาบัน) ครั้งที่ 7 ประจำปีการศึกษา 2565 ณ โรงเรียนชุมชนโพนพิทยาคม ตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ พิธีเปิดได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์เพียรศักดิ์  ภักดี รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นประธานกล่าวเปิดงาน โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มารศรี  สอทิพย์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นผู้กล่าวรายงานต่อประธานในพิธี และนายสุริยะ  ใจวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3 เป็นผู้กล่าวต้อนรับผู้บริหารและนิสิตนักศึกษา จากทุกสถาบัน นอกจากนี้ยังมีการแสดงพิธีเปิด “ฟ้อนละครผู้ไท” จากนักเรียนโรงเรียนชุมชนโพนพิทยาคม อีกทั้งยังได้รับเกียรติจาก รองศาสตราจารย์ ดร.อรทัย  เพียยุระ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มอบของที่ระลึกแก่ผู้บริหารสถาบันเครือข่าย ผู้นำชุมชน และแขกผู้มีเกียรติ และมอบทุนการศึกษาแก่นักเรียน ซึ่งสนับสนุนโดยสมาคมศิษย์เก่าคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

รองศาสตราจารย์เพียรศักดิ์  ภักดี รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์
รองศาสตราจารย์เพียรศักดิ์  ภักดี รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษาและศิษย์เก่าสัมพันธ์

 

 

 

 

 

 

 

 

รองศาสตราจารย์ ดร.อรทัย  เพียยุระ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
รองศาสตราจารย์ ดร.อรทัย  เพียยุระ คณบดีคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มารศรี  สอทิพย์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มารศรี  สอทิพย์ รองคณบดีฝ่ายบริหาร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
นายสุริยะ  ใจวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3
นายสุริยะ  ใจวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 3

สำหรับจุดมุ่งหมายหลักของค่ายคือ เพื่อให้นิสิตนักศึกษารู้จักอุทิศตนเพื่อสังคมและคำนึงถึงผลประโยชน์ของส่วนรวมมากกว่าส่วนตน เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ภายใต้ข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ของคณะวิชาด้านมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ โดยมีเครือข่ายความร่วมมือประกอบด้วยสถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษา จำนวน 6 สถาบัน ได้แก่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม และมหาวิทยาลัยบูรพา การจัดโครงการครั้งนี้ จัดขึ้นภายใต้แนวคิด “ผูกเสี่ยวฮักมั่น สานสัมพันธ์ชาวผู้ไท เชื่อมสายใยต่างวัฒนธรรม” ในรูปแบบของค่ายอาสาพัฒนาและบำเพ็ญประโยชน์ มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนานิสิตนักศึกษา เพื่อเปิดโอกาส ให้นิสิตนักศึกษาได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการทำกิจกรรม ควบคู่ไปกับการพัฒนาศักยภาพของตนเอง บนพื้นฐานของการใช้ความรู้ความสามารถในการช่วยเหลือผู้อื่น รวมทั้งเพื่อให้นิสิตนักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับชุมชนและมีประสบการณ์เพิ่มขึ้นจากการเรียนรู้ชุมชนเป็นฐาน อีกทั้งยังเปิดโลกทัศน์ให้กับนิสิตนักศึกษาได้ศึกษาเรียนรู้วัฒนธรรมในต่างภูมิภาค

กิจกรรมหนึ่งในโครงการคือ ฐานเรียนรู้วิถีชีวิตในชุมชน โดยนักศึกษาแต่ละกลุ่มจะได้ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียน ทำกิจกรรมในพื้นที่ “บ้านโพน” ซึ่งเป็นชุมชนที่เต็มไปด้วยของดีประจำถิ่น ไม่ว่าจะเป็นผ้าไหมแพรวาที่มีชื่อเสียงระดับประเทศและมีความงดงามจนได้ชื่อว่าเป็น “ราชินีแห่งไหม” พุทรานมสด ซึ่งปลูกโดยกรรมวิธีพิเศษ มีความหอม  และหวานกรอบ มีผลผลิตออกสู่ตลาดกว่าหมื่นตัน เครื่องจักสาน อันเป็นงานศิลปหัตถกรรมอย่างประณีต สร้างมูลค่าแก่ชุมชนเป็นจำนวนมาก การแสดงศิลปวัฒนธรรมชาวผู้ไท ได้แก่ การบรรเลงเครื่องดนตรีพื้นบ้าน การแต่งกายและการขับร้องด้วยภาษาผู้ไท  ทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่มีคุณภาพในระดับประเทศ และเคยเผยแพร่ออกสู่ต่างประเทศ ในหลายโอกาส ประกอบกับอัธยาศัยไมตรีของผู้คน ภาษาพูดซึ่งใช้ภาษาผู้ไทเป็นภาษาประจำถิ่น และการแต่งกายในแบบฉบับชาวผู้ไทบ้านโพน ล้วนเป็นเอกลักษณ์เด่นที่ชูให้ชุมชนแห่งนี้กลายเป็นอีกหนึ่งชุมชนเปี่ยมเสน่ห์ที่น่ามาเยือน

นอกจากนั้น ยังมีฐานอาสาพัฒนาและบำเพ็ญประโยชน์ภายในโรงเรียน หรือ BBL (Brain-based Learning) คือ การนำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับสมองมาออกแบบการเรียนรู้ เพื่อเพิ่มศักยภาพในการเรียนของเด็กแต่ละช่วงวัย สร้างสนามเด็กเล่นเพื่อออกกำลังกาย พัฒนา และจัดสมดุลการทำงานของสารสื่อประสาทของสมอง ซึ่งสามารถพัฒนาร่างกายได้ทุกส่วน เป็นการขยับกายขยายสมอง จะทำให้เด็กมีสมาธิ เกิดการเรียนรู้ และการจดจำสูงขึ้น อีกทั้งยังเป็นการสร้างบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียน จะมีส่วนช่วยให้สมองเพิ่มประสิทธิภาพ และสนองต่อการเรียนรู้มากยิ่งขึ้น สำหรับฐานสวัสดิการมีหน้าที่ในการประกอบอาหาร การจัดเตรียมอาหารว่างและเครื่องดื่ม โดยได้รับความอนุเคราะห์ จากอาจารย์ บุคลากร และนักศึกษาจากคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เป็นผู้ประกอบอาหารหลักในทุกมื้อ และมีนิสิตนักศึกษาจากทุกสถาบันเป็นผู้ช่วย

โดยในแต่ละวันยังจะมีกิจกรรมนันทนาการสลับหมุนเวียนจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกชาวค่ายได้ละลายพฤติกรรม สานสัมพันธ์กับเพื่อนต่างสถาบัน ฝึกความเป็นผู้นำและกล้าแสดงออก กิจกรรมการแข่งขันกีฬาสีของสมาชิกชาวค่าย เช่น กินวิบาก ชักเย่อ วอลเลย์ลูกโป่งน้ำ กิจกรรมทัศนศึกษา ณ วัดพุทธนิมิต (ภูค่าว)   ละพิพิธภัณฑ์สิรินธร เพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์ของนิสิตนักศึกษาและเรียนรู้ศิลปวัฒนธรรมของท้องถิ่น  สำหรับกิจกรรมในวันสุดท้ายยังมีการสานสัมพันธ์เครือข่ายในรูปแบบการแสดงแลกเปลี่ยนศิลปวัฒนธรรมของแต่ละภูมิภาค (รอบกองไฟ) ไม่ว่าจะเป็นภาคเหนือ ภาคใต้ ภาคอีสาน ภาคกลาง และภาคตะวันออก ซึ่งทำให้นิสิตนักศึกษาและชาวชุมชนบ้านโพน ได้เรียนรู้อย่างมีส่วนร่วมผ่านการแสดงความหลากหลายทางศิลปวัฒนธรรมวัฒนธรรมที่สนุกสนานและเป็นกันเอง

คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ขอขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างยิ่ง ทั้งผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากร เจ้าหน้าที่ นักเรียน นิสิตนักศึกษา รวมไปถึงโรงเรียนชุมชนโพนพิทยาคม ชุมชนบ้านโพน และเทศบาลตำบลโพน อำเภอคำม่วง จังหวัดกาฬสินธุ์ ผู้สนับสนุนและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องทุกท่านที่ทำให้ค่ายสานสัมพันธ์ในครั้งนี้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ทุกประการ

 

ข่าว: กิตติชัย  กองแก้ว และชัญญานุช  ชื่นชม

ภาพ: Facebook Fanpage ค่ายสานสัมพันธ์มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 6 สถาบัน

 

 

KKU HU-SO joins in the 6-institution of HU-SO student network to strengthen relationship and carry out social dedication projects

https://www.kku.ac.th/?p=16116&preview=true

 

Scroll to Top