คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมมือกับ โรงพยาบาลกรุงเทพขอนแก่น ภายใต้โครงการ “Upcycling ชีวิตที่สองของขยะจากโรงพยาบาล” มุ่งเน้นการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่จากผ้า Nonwoven เหลือใช้ ผ่านกระบวนการ Upcycling นำทีมโดย อาจารย์ ดร.ขวัญหทัย ธาดา อาจารย์ ดร.เกศินี ศรีสองเมือง และ อาจารย์ มนธิดา เลิศนิมานรดี จากสาขาวิชาการออกแบบ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นทีมพัฒนาพลิกโฉมขยะผ้า Nonwoven เหลือใช้จากโรงพยาบาล สู่ผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีประโยชน์
อาจารย์ ดร.ขวัญหทัย ธาดา อธิบายว่า ผ้า Nonwoven ว่า ผ้า Nonwoven เป็นวัสดุเหลือใช้จากการเตรียมหีบห่อเครื่องมือแพทย์ใช้ห่อวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือทางการรักษา แผนก orthopedic ที่ผ่านกระบวนการทำให้ปราศจากเชื้อแล้ว
เป็นวัสดุเหลือใช้จากการเตรียมหีบห่อเครื่องมือแพทย์ “กระบวนการ Upcycling ที่เราทำก็คือ คือ การนำวัสดุเหลือใช้มาปรับปรุงหรือประยุกต์ใช้ให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีคุณภาพหรือมูลค่าสูงขึ้น โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการแยกส่วนหรือย่อยสลายเหมือนการ Recycle” อาจารย์ ดร.ขวัญหทัย กล่าว “ซึ่งสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการที่มุ่งเน้นการช่วยยืดอายุวัสดุผ้า Nonwoven ประเภท
สปันบอนด์ที่ผ่านการใช้งานแล้วจากทางโรงพยาบาล”
ตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่พัฒนาจากผ้า Nonwoven เหลือใช้ ได้แก่ ผ้าสำหรับการออกแบบผลิตภัณฑ์ , ผ้าสำหรับทดลองการขึ้นต้นแบบ 3 มิติ , ผลิตภัณฑ์จากผ้าเสื้อผ้า , กระเป๋า ,ของตกแต่งบ้าน
ประโยชน์ของผ้า Nonwoven คือ กันน้ำ , น้ำหนักเบา , ป้องกันไฟฟ้าสถิต , ระบายอากาศได้ดี, ทนทาน , ใช้งานได้หลากหลาย
ซึ่งโครงการนี้มุ่งหวังลดปริมาณขยะ ส่งเสริมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและยั่งยืน ทางคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ขอขอบคุณ คุณกรรณิกา กลิ่นหอม คุณสุชิรา แพงบุบผา และทีมผู้จัดทำโครงการ ฯ ฝ่ายศูนย์คุณภาพ โรงพยาบาลกรุงเทพขอนแก่น ที่มอบผ้า Nonwoven เหลือใช้ สนับสนุนให้เป็นวัสดุเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้การออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จากวัสดุเหลือใช้เกิดผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีประโยชน์ในการเรียนการสอนใน สาขาวิชาการออกแบบ สายวิชาสิ่งทอและแฟชั่น ซึ่งหวังว่าโครงการนี้จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้กับองค์กรอื่นๆ ในการนำวัสดุเหลือใช้มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่
ข้อมูล/ภาพจาก : อาจารย์ ดร.เกศินี ศรีสองเมือง
เรียบเรียง/เผยแพร่ : กรรณภัสส์ สิริเกียรติ