มข. จัดอบรมบูรณาการพืชศึกษาในงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน สนองพระราชดำริ อพ.สธ.

ศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มหาวิทยาลัยขอนแก่น จัดกิจกรรมฝึกอบรมปฏิบัติการบูรณาการศึกษาพืชในงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2568 ณ ห้องประชุม ศรีสุมนตร์ และห้องปฏิบัติการ SC 8419 สาขาวิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น


รองศาสตราจารย์จุฑาพร แสวงแก้ว รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กล่าวว่า การอบรมครั้งนี้มุ่งเน้นการให้ความรู้และสร้างความเข้าใจในการใช้พืชศึกษาเป็นสื่อการเรียนรู้ พร้อมถ่ายทอดความรู้ด้านอนุกรมวิธานพืชเบื้องต้นและกายวิภาคศาสตร์ของพืช เพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถนำไปบูรณาการในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน
การอบรมครั้งนี้ เริ่มตั้งแต่ เวลา 09.00 – 16.30 น. มีผู้เข้าร่วม 30 คน จาก 3 โรงเรียน โดยแต่ละโรงเรียน มีความสนใจในการเรียนรู้ที่แตกต่างกัน ดังนี้

รองศาสตราจารย์จุฑาพร แสวงแก้ว รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ
รองศาสตราจารย์จุฑาพร แสวงแก้ว รองผู้อำนวยการศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

Khon Kaen School for the Deaf (มีเป้าหมายขอรับการประเมินมาตรฐาน อพ.สธ. ระดับเกียรติบัตร ขั้นที่ 2 ปี 2569) สนใจเรียนรู้เกี่ยวกับโครงสร้างภายในของพืช ความแตกต่างของโครงสร้างภายในพืชแต่ละชนิด รูปแบบการดำรงชีวิต และความสัมพันธ์ระหว่างรูปร่างกับคุณสมบัติที่แตกต่างกัน (มีอาจารย์แปลภาษามือตลอดการอบรม)

โรงเรียนโสตศึกษาจังหวัดขอนแก่น
Khon Kaen School for the Deaf

โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา จังหวัดขอนแก่น (มีเป้าหมายขอรับการประเมินมาตรฐาน อพ.สธ. ระดับเกียรติบัตร ขั้นที่ 2 ปี 2569) สนใจศึกษาโครงสร้างภายนอกและสัณฐานวิทยาของพืช รวมถึงการปรับตัวของพืชให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน

โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา จังหวัดขอนแก่น
โรงเรียนพิศาลปุณณวิทยา จังหวัดขอนแก่น

โรงเรียนโคกล่ามพิทยาคม จังหวัดร้อยเอ็ด (มีเป้าหมายขอรับการประเมินมาตรฐาน อพ.สธ. ระดับเกียรติบัตร ขั้นที่ 1 ปี 2568) มุ่งศึกษาลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ของพืชหมอน้อย ซึ่งเป็นพืชศึกษาของโรงเรียนและมีคุณค่าทางสมุนไพร โดยเฉพาะความเชื่อมโยงระหว่างลักษณะพิเศษทางกายวิภาคกับสรรพคุณทางสมุนไพร

โรงเรียนโคกล่ามพิทยาคม จังหวัดร้อยเอ็ด
โรงเรียนโคกล่ามพิทยาคม จังหวัดร้อยเอ็ด

กิจกรรมการอบรม ประกอบด้วยการบรรยายความรู้พื้นฐาน การปฏิบัติการศึกษาลักษณะภายนอก และภายในของพืช การเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์พืชของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ดำเนินการโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศกุลตลา นิลแก้ว ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ and Students เป็นวิทยากร

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศกุลตลา นิลแก้ว ภาควิชาชีววิทยา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ศกุลตลา นิลแก้ว ภาควิชาชีววิทยา


ผลที่คาดว่าจะได้รับจากการอบรม คือ ผู้เรียนจะได้รับประสบการณ์การเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติ สามารถเชื่อมโยงความรู้ทางพฤกษศาสตร์เข้ากับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นำไปสู่การพัฒนาโครงงานวิทยาศาสตร์และนวัตกรรมต้นแบบ เช่น การพัฒนาวัสดุชีวภาพ การออกแบบวัสดุเคลือบกันน้ำ หรือการพัฒนาวัสดุทดแทนพลาสติกจากเส้นใยพืช


In this case งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนเป็นส่วนหนึ่งของโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) by ศูนย์ประสานงานโครงการ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ มหาวิทยาลัยขอนแก่น มีบทบาทสำคัญในการสนับสนุนสถานศึกษา ผ่านการบริการวิชาการ เป็นพี่เลี้ยงและอบรมถ่ายทอดความรู้การดำเนินงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน เป็นการส่งเสริมความรู้ด้านพืชศึกษาและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติให้กับโรงเรียนและชุมชน ซึ่งช่วยสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อม และส่งเสริมบทบาทของมหาวิทยาลัยขอนแก่นในการให้บริการวิชาการที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม

 

News: Benjamaporn Mamook
ภาพ : เบญจมาภรณ์ มามุข / ศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มข.

ภาพการอบรม

https://storage.kku.ac.th/share.cgi?ssid=f1b9cf76f1274c1bafcd8b9ffcc063b4

https://storage.kku.ac.th/share.cgi?ssid=0bce2c3eb0b0432f8f1b8b4a12ff072c

https://storage.kku.ac.th/share.cgi?ssid=24a2c5cb9bcf4e9391018a08f4f376e7

Royal Vision Blooms: KKU Leads Innovative Botanical Education Program

https://www.kku.ac.th/19143