หนึ่งเดียวในไทย ! อาจารย์-นักวิจัย คณะแพทยศาสตร์ มข. รับรางวัลระดับโลก 2022 CCF Research Fellowship จาก USA

หนึ่งเดียวในไทย ! อาจารย์ ดร. จุฑารพ เพชระบูรณิน อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ และนักวิจัยสังกัดสถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น  ได้รับรางวัลระดับโลก 2022 CCF Research Fellowship จากสหรัฐอเมริกา

…..เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2565 เวลา 15:30 น. (ตามเวลาท้องถิ่นรัฐยูทาห์) ณ งานประชุมวิชาการประจำปี 2022 ของมูลนิธิมะเร็งท่อน้ำดี สหรัฐอเมริกา      Dr. Katie Kelly ประธานคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิตัดสินรางวัล 2022 CCF Research Fellowship ได้ประกาศรายชื่อนักวิจัยทีได้รับรางวัล จำนวน 11 คน ประกอบด้วย

1.Marina Barcena-Varela จากสถาบัน Icahn School of Medicine at Mount Sinai ประเทศสหรัฐอเมริกา

2.Srinadh Choppara จากสถาบัน University of Michigan ประเทศสหรัฐอเมริกา

3. Michael Lidsky จากสถาบันDuke University ประเทศสหรัฐอเมริกา

4. Cecilia Monge จากสถาบันNIH/National Cancer Institute ประเทศสหรัฐอเมริกา

5. Evan O’Loughlin จากสถาบัน Massachusetts General Hospital Cancer Center/Harvard Medical School ประเทศสหรัฐอเมริกา

6. Jutarop Phetcharaburanin จากสถาบัน Khon Kaen University ประเทศไทย

7. Rutger-Jan Swijnenburg จากสถาบัน Amsterdam UMC ประเทศเนเธอร์แลนด์

8. Alessandro Gambella จากสถาบัน UPMC Montefiore ประเทศสหรัฐอเมริกา

9. Kishor Pant จากสถาบัน Regents of the University of Minnesota ประเทศสหรัฐอเมริกา

10. Vindhya Vijay จากสถาบัน Massachusetts General Hospital Cancer Center/Harvard Medical School ประเทศสหรัฐอเมริกา

11. DanielZabransky จากสถาบัน Johns Hopkins School of Medicine ประเทศสหรัฐอเมริกา

 

  1. หนึ่งเดียวในไทย! อาจารย์-นักวิจัย คณะแพทยศาสตร์ มข. รับรางวัลระดับโลก 2022 CCF Research Fellowship
    หนึ่งเดียวในไทย! อาจารย์-นักวิจัย คณะแพทยศาสตร์ มข. รับรางวัลระดับโลก 2022 CCF Research Fellowship

…..โดยหนึ่งในนักวิจัยที่ได้รับการคัดเลือกให้ได้รับรางวัลในปีนี้ คือ อาจารย์ ดร. จุฑารพ เพชระบูรณิน อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ และนักวิจัยสังกัดสถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ซึ่งเป็นนักวิจัยชาวไทยเพียงคนเดียวที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกให้ได้รับรางวัลนี้ในปี 2022

อาจารย์ ดร. จุฑารพ เพชระบูรณิน อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ และนักวิจัยสังกัดสถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
อาจารย์ ดร.จุฑารพ เพชระบูรณิน อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ และนักวิจัยสังกัดสถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

…..อาจารย์ ดร. จุฑารพ เพชระบูรณิน อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ และนักวิจัยสังกัดสถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้กล่าวถึง มูลนิธิมะเร็งท่อน้ำดี สหรัฐอเมริกา ว่า มูลนิธิมะเร็งท่อน้ำดี (The Cholangiocarcinoma Foundation: CCF) สหรัฐอเมริกา ก่อตั้งขึ้นโดยครอบครัวที่สูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักด้วยโรคมะเร็งท่อน้ำดี เมื่อปี ค.ศ. 2006 ที่เมืองซอลท์เลค (Salt Lake City) รัฐยูทาห์ (Utah State) ของสหรัฐอเมริกา จากนั้นมูลนิธิมะเร็งท่อน้ำดี สหรัฐอเมริกา ได้เติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่องจนกลายเป็นองค์กรชั้นนำระดับโลกด้านการวิจัย การศึกษา และการสร้างความตระหนักรู้ในสังคมเกี่ยวกับโรคมะเร็งท่อน้ำดี และมีพันธกิจเพื่อที่จะค้นหาแนวทางการรักษา และพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยมะเร็งท่อน้ำดีการดำเนินงานหลักของมูลนิธิมะเร็งท่อน้ำดี สหรัฐอเมริกา มุ่งเน้นไปยังการค้นหาวิธีการตรวจวินิจฉัย และแนวทางการรักษาโรคมะเร็งท่อน้ำดีใหม่ๆ ซึ่งทางมูลนิธิฯ มีปรัชญาว่าแนวทางการรักษาและดูแลคนไข้มะเร็งท่อน้ำดีที่มีประสิทธิภาพนั้นต้องมาจาก 1) การศึกษาวิจัยขั้นพื้นฐาน (Basic Research) อย่างเข้มข้น ที่จะนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมะเร็งท่อน้ำดีอย่างลึกซึ้ง และ 2) การศึกษาวิจัยเชิงนวัตกรรม (Innovative Research) ที่นำไปสู่การพัฒนาการวิธีการตรวจวินิจฉัยรูปแบบใหม่ รวมถึงการค้นพบยาสำหรับรักษาโรคมะเร็งท่อน้ำดีได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2015 เป็นต้นมา มูลนิธิฯ ได้มอบรางวัลการวิจัยไปแล้วกว่า 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ 64 ล้านบาท) เพื่อสนับสนุนการวิจัยเชิงนวัตกรรมที่มีคุณภาพสูง และเพื่อส่งเสริมการทำงานร่วมกันของนักวิจัยด้านมะเร็งท่อน้ำดี ในปีนี้มีนักวิจัยด้านมะเร็งท่อน้ำดีจาก 12 ประเทศทั่วโลก (ออสเตรเลีย แคนาดา ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี เกาหลีใต้ เนเธอร์แลนด์ สเปน ตุรกี สหราชอาณาจักรฯ สหรัฐอเมริกา และไทย) จำนวน 47 คนได้ส่ง Letter of Intent (LOI) เข้าร่วมการแข่งขันเพื่อรับรางวัล 2022 CCF Research Fellowship และมีเพียง 24 โครงการ ที่ผ่านเข้าสู่รอบที่สองของการคัดเลือก โดยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิทั้งสิ้น 17 ท่าน ประกอบด้วยแพทย์ และนักวิทยาศาสตร์ที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญด้านมะเร็งท่อน้ำดี รวมถึงผู้สนับสนุนงานวิจัยด้านมะเร็งท่อน้ำดี ได้ทำการประเมินข้อเสนอโครงการวิจัยและคัดเลือกโครงการวิจัยที่มีคุณภาพสูงที่สุดจำนวน 11 โครงการ เพื่อรับรางวัลในปีนี้ ซึ่งมูลนิธิมะเร็งท่อน้ำดี สหรัฐอเมริกา ได้มีการประกาศรายชื่อนักวิจัยที่ผ่านการคัดเลือกเพื่อรับรางวัล 2022 Cholangiocarcinoma Foundation Research Fellowship ในงานประชุมวิชาการประจำปี 2022 ของมูลนิธิมะเร็งท่อน้ำดี สหรัฐอเมริกา (The 2022 CCF Annual Conference) ระหว่างวันที่ 23 – 25 กุมภาพันธ์ 2565

หนึ่งเดียวในไทย! อาจารย์-นักวิจัย คณะแพทยศาสตร์ มข. รับรางวัลระดับโลก 2022 CCF Research Fellowship
หนึ่งเดียวในไทย ! อาจารย์-นักวิจัย คณะแพทยศาสตร์ มข. รับรางวัลระดับโลก 2022 CCF Research Fellowship

…..อาจารย์ ดร.จุฑารพ เพชระบูรณิน กล่าวเพิ่มเติมถึงความรู้สึกหลังจากได้รับการประกาศรางวัลครั้งนี้ ว่า ตอนที่ได้ยินประกาศว่าเป็นชื่อตัวเองนั้นมีความดีใจมาก แต่พอ Dr. Katie Kelly ประกาศต่อว่า “from Khon Kaen University in Thailand” มันกลับทำให้ตนเองนั้นมีความดีใจยิ่งกว่า และน้ำตาก็ไหลพรากออกมาโดยไม่รู้ตัว มันทำให้รู้สึกว่า เราทำได้แล้ว เรานำพาชื่อ “Thailand” และ “Khon Kaen University” ขึ้นเวทีนี้ให้คนได้รู้จักประเทศไทยของเรา และมหาวิทยาลัยขอนแก่นของเราได้มากยิ่งขึ้นไปอีก เป็นความรู้สึกที่บรรยายได้ไม่หมดจริง ๆ  นอกจากนั้น อาจารย์ ดร.จุฑารพ ยังได้ขอฝากถึงนักวิจัยรุ่นใหม่ ๆ ที่ใกล้เคียงกันกับตน หรือรุ่นน้อง ว่า ผมขอฝากถึงนักวิจัยรุ่นใหม่ที่เป็นรุ่นตั้งแต่ตนเองไปจนถึงรุ่นน้องต่อ ๆ ไปในการทำงานวิจัย อาจจะเป็นการแชร์จากประสบการณ์ของตนเองด้วยก็น่าจะใช่นะครับ ว่า ในการทำงานวิจัยซักเรื่องหนึ่ง เราจะต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้เชี่ยวชาญในหลาย ๆ สหสาขาวิชาเนื่องจากว่าการวิจัยที่เป็นเครื่องมือในการแก้ปัญหาหรือโจทย์คำถามวิจัยต่างๆหรือเป็นปัญหาที่เป็นปัญหาทางสุขภาพปัญหาทางสิ่งแวดล้อมทางสังคมที่เราเผชิญกันอยู่นั้น ซึ่งการทำงานวิจัยถือว่าเป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะนำไปใช้แก้ปัญหา การที่เรามีทีมวิจัยที่มีความหลากหลาย มีนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านในแต่ละสาขาที่เข้ามาร่วมดำเนินการวิจัยด้วยกันก็จะเป็นหนึ่ง Key Success Factor หรือปัจจัยที่นําไปสู่ความสำเร็จ ในงานวิจัยเรื่องนั้นได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นทุกวันนี้งานวิจัยที่เป็นวันแมนโชว์หรือว่าเป็นนักวิจัยทำคนเดียวได้ก็จะน้อยลงไปเรื่อย ๆ เพราะปัญหาที่เราพบทุกวันนี้ไม่ว่าจะปัญหาทางสุขภาพ ปัญหาทางสิ่งแวดล้อมในค่อนข้างใหญ่ เราต้องการคนเข้ามาช่วยกันร่วมทำงานวิจัยด้วยกัน หลายๆมือและความคิดเห็นหลายๆความเชี่ยวชาญงานวิจัยด้วยก็จะประสบความสำเร็จได้ เพราะฉะนั้นวิธีการหนึ่งที่ทำให้งานวิจัยสำเร็จลุล่วงได้ก็คือการที่เราจะต้องมีการสร้างเครือข่ายด้วย แบบที่เขาเรียกว่าแฟร์ ๆ หรือ วินวิน ก็คือเราให้เกียรติกันแล้วเราก็ทำงานร่วมกันด้วยความเชื่อความไว้วางใจกันครับ สุดท้ายผลงานที่ออกมาเราก็จะสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นได้ และผลกระทบสุดท้ายจริง ๆ ก็จะตกอยู่กับคนในสังคมที่ได้รับประโยชน์จากผลงานวิจัยของเราเอง ถ้าในทางวิทยาศาสตร์สุขภาพก็จะเป็นคนไข้ ถ้าในทางสิ่งแวดล้อมก็จะเป็นประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้น ๆ ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆนั่นเอง

…..สุดท้ายนี้ ขอขอบคุณ คณะแพทยศาสตร์ และสถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น เป็นอย่างสูงที่สนับสนุนการทำงานวิจัยเป็นอย่างดี ขอบคุณทีมอาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา กลุ่มวิจัย Computational and Precision Medicine Research (CPMR) และห้องปฏิบัติการฟีโนมนานาชาติแห่งมหาวิทยาลัยขอนแก่น (Khon Kaen University International Phenome Laboratory: KKUIPL) สำหรับการขับเคลื่อนงานวิจัยด้าน Omics Science ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น และประเทศไทยของเราครับ ขอบคุณครับ

อาจารย์ ดร. จุฑารพ เพชระบูรณิน
อาจารย์ ดร. จุฑารพ เพชระบูรณิน

…..สำหรับอาจารย์ ดร.จุฑารพ เพชระบูรณิน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกสาขาวิชา Clinical Medicine Research (Computational and Systems Medicine) จากสถาบัน Imperial College London ประเทศอังกฤษ ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาที่ติดอันดับ QS World University Ranking อันดับ 7 ของโลก (ข้อมูลปี 2022) อาจารย์มีความเชี่ยวชาญด้านการใช้ระเบียบวิธีวิจัยทาง Computational and Systems Medicine ในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างแบคทีในเรียลำไส้กับร่างกายมนุษย์ในการรับ-ส่งสัญญาณระดับโมเลกุลระหว่างกันในโรคมะเร็งท่อน้ำดีด้วยศาสตร์โอมิกส์ (Omics Science)

ข้อมูล  : อาจารย์ ดร. จุฑารพ เพชระบูรณิน

ข่าว : เบญจมาภรณ์  มามุข

อาจารย์ ดร. จุฑารพ เพชระบูรณิน

อาจารย์ ดร. จุฑารพ เพชระบูรณิน

อาจารย์ ดร. จุฑารพ เพชระบูรณิน อาจารย์ประจำภาควิชาชีวเคมี คณะแพทยศาสตร์ และนักวิจัยสังกัดสถาบันวิจัยมะเร็งท่อน้ำดี มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Scroll to Top