อธิการบดีนําทีมศึกษาดูงานด้านการจัดการศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล

เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2564 รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วย รศ. ดร.ไมตรี อินทร์ประสิทธิ์ รองอธิการบดีฝ่ายการศึกษาและบริการวิชาการ คณบดี รองคณบดีด้านวิชาการ และบุคลากร เข้าศึกษาดูงานด้านการจัดการศึกษาวิทยาลัยนานาชาติ ณ อาคารอทิตยาทร มหาวิทยาลัยมหิดล โดยมี รศ.พญ.จุฬธิดา โฉมฉาย คณบดีวิทยาลัยนานาชาติ ดร.ชมพูนุท ผ่องจิตร์ รองคณบดีฝ่ายการศึกษา และทีมงานให้การต้อนรับ วิทยาลัยนานาชาติกําหนดพันธกิจขององค์กรเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เกิดนวัตกรรม ส่งเสริมศักยภาพของมนุษย์ และสร้างองค์ ความรู้ใหม่ผ่านการผสมผสานระหว่างศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ในสภาพแวดล้อมที่เป็นนานาชาติซึ่งท้ายที่สุดจะส่งผล ให้เกิดการศึกษา การวิจัย และการบริการที่ตอบสนองความต้องการของสังคมและเป็นประโยชน์ต่อมนุษยชาติ โดยมีเป้าหมาย เพื่อมุ่งสู่การเป็นสถาบันการศึกษาด้านศิลปวิทยาศาสตร์ที่ได้รับการยกย่องในระดับโลก

วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นมหาวิทยาลัยรัฐแห่งแรกของประเทศไทยที่เปิดสอนหลักสูตร นานาชาติ และได้รับการยอมรับว่าเป็นวิทยาลัยนานาชาติชั้นนําของประเทศไทยที่มีชื่อเสียงด้านการศึกษาที่มีความ หลากหลายและมีสภาพแวดล้อมที่เป็นสากล นับจาก 3 ทศวรรษหลังจากการก่อตั้ง ปัจจุบันเปิดสอนหลักสูตรระดับ ปริญญาตรี จํานวน 17 สาขาวิชาเอก ด้านศิลปศาสตร์ วิทยาศาสตร์ บริหารธุรกิจ การท่องเที่ยวและการโรงแรม ศิลปกรรม และวิศวกรรม โดยเป็นหลักสูตรใหม่จํานวน 1 หลักสูตรที่เป็นความร่วมมือระหว่าง 4 คณะ (วิทยาลัยนานาชาติ คณะเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารวทิยาลัยราชสุดาและวิทยาลัยดุริยางคศิลป์)นอกจากนี้นักศึกษาสามารถเลือกวิชาโทไดถึง31สาขาและมีหลักสูตรระดับปริญญาโทจํานวน2หลักสูตรซึ่งนักศึกษาสามารถเรียนหลักสูตรปริญญาตรี/ ปริญญาโท MBA แบบรวมหรือหลักสูตร MBA 4 + 1 ได้สําหรับนักศึกษาปัจจุบันในทุกสาขา นอกจากนี้ยังหลักสูตร ประเภทความร่วมมืออีก 4 หลักสูตร เช่น MUIC-SGU ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยนานาชาติ และคณะ แพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเซนต์จอร์ช (St. George’s University School of Medicine) และ หลักสูตรด้านสาขาวิชา เคมีแบบสองปริญญาในสี่ปี (สองปีในไทยและสองปีในออสเตรเลีย โดยรับปริญญาตรีพร้อมกันจากมหาวิทยาลัยมหิดล และ Flinders University ประเทศออสเตรเลีย) เป็นต้น ในปี 2562 หลักสูตรการจัดการบริการนานาชาติได้รับการ รับรองมาตรฐานคุณภาพระดับหลักสูตรจาก 5 สถาบัน คือ เครือข่ายการประกันคุณภาพมหาวิทยาลัยอาเซียน (AUN-QA) และองค์การการท่องเที่ยวโลกแห่งสหประชาชาติ (TedQual) กลุ่มสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก สถาบันรับรองมาตรฐานการศึกษาทางด้านบริหารธุรกิจและการบัญชี (AACSB) และ (CFA) ซึ่งเป็นคุณวุฒิทางด้านวิชาชีพ การเงินและการลงทุนระดับสากล รวมทั้งศูนย์เตรียมพร้อมภาษาและคณิตศาสตร์ (PC) ได้รับการรับรองมาตรฐานจาก สถาบันรับรองสถาบันสอนภาษาของประเทศออสเตรเลีย (NEAS) ซึ่งถือเป็นศูนย์ภาษาแห่งแรกในประเทศไทยที่ได้รับการ รับรองคุณภาพนี้ ปัจจุบันมีนักศึกษาประมาณ 3,000 คน

โอกาสนี้ ได้แลกเปลี่ยนสอบถามด้านการจัดการศึกษาในหลายประเด็นซึ่งวิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดล มีความโดดเด่นทั้งด้าน การออกแบบหลักสูตรที่บูรณาการด้านศิลปะวิทยาศาสตร์ผ่านการกําหนดโครงสร้างหลักสูตร วิชา ศึกษาทั่วไป (38 หน่วยกิต โดยจัดเป็น 6 กลุ่มทักษะที่บัณฑิตพึงมใี นศตวรรษที่ 21) วิชาบังคับของวิชาเอก (ไม่น้อยกว่า 90 หน่วยกิต) วิชาเลือกเสรี (8 หน่วยกิต) และ I-Design Electives (20 หน่วยกิต) ซึ่งทั้งวิชาเลือกเสรีและวิชาในกลุ่ม I- Design Electives เพื่อส่งเสริมให้เกิดการจัดการศึกษารูปแบบ Lifelong learning และ Micro-Credentials โดย นักศึกษาที่ศึกษาครบถ้วนตามเงื่อนไขที่กําหนดสามารถขอรับประกาศนียบัตร (Certificate) ได้ถึง 12 รายการ ซึ่งเป็นการ เพิ่มมูลค่าให้แก่นักศึกษา นอกจากนี้นักศึกษาที่ไปฝึกปฏิบัติงานกับองค์กรในต่างประเทศหรือในประเทศที่มีความร่วมมือ กับวิทยาลัยสามารถเทียบโอนและใช้ชื่อวิชาหรือหัวข้อการฝึกนั้นไปใช้ระบุในเอกสารสําคัญทางการศึกษาได้โดยตรง โดย ใช้ระบบการจัดการศึกษาแบบไตรภาค

ด้านการวัดและประเมินผลการจัดการเรียนการสอน วิทยาลัยนานาชาติได้กําหนดการวัดและประเมินผลแต่ละ รายวิชาตามผลลัพธ์การเรียนรู้ของหลักสูตร (Program Learning Outcomes, PLOs) สู่ผลลัพธ์ที่เกิดกับผู้เรียนในแต่ละ รายวิชา (Course Learning Outcomes, CLOs) โดยต้องกําหนดนิยามและเป้าหมายผลลัพธ์การเรียนรู้ที่ชัดเจน การ กําหนดวิธีหรือรูปแบบการสอน การกําหนดวิธีและรูปแบบการวัดและประเมินผลที่สะท้อนผลลัพธ์ที่ต้องการให้เกิด กับ ผู้เรียนและผู้เรียนทราบเกณฑ์ดังกล่าว ตลอดจนกําหนดให้มีวิธีการสะท้อนผลหากการจัดการเรียนการสอนวิชานั้นบรรลุ เป้าหมายหรือไม่บรรลุเป้าหมาย นอกจากนี้ยังมีระบบ Program Directors ที่สนับสนุนการการกําหนดเป้าหมายและแนว ทางการวัดและประเมินผลลัพธ์การเรียนรู้ที่อาจารย์ผู้สอนต้องดําเนินการ การรายงานผลและติดตามประเมินผลการสอน ของอาจารย์ตามเป้าหมายที่กําหนดและตกลงกันและมีระบบมาตรฐานการมอบหมายงานที่ชัดเจน การกําหนดให้อาจารย์ เข้าดูวิธีการสอนของอาจารย์ท่านอื่น ร่วมกับการประเมินชั้นเรียน (Class Evaluation) ที่นักศึกษาสามารถสะท้อนผลผ่านคณบดีและรองคณบดีด้านการศึกษา และการกําหนดมาตรฐานการประเมินอาจารย์ด้านการสอนผ่านข้อตกลงการ ปฏิบัติงาน (เช่น 3.8 จาก 5 คะแนน เป็นต้น) นอกจากนี้วิทยาลัยนานาชาติ มหาวิทยาลัยมหิดลยังสร้างฐานลูกค้าใน อนาคตด้วยการลงนามข้อตกลงร่วมกับโรงเรียนเป้าหมายเพื่อให้นักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ร่วมเรียนผ่าน ระบบออนไลน์ในลักษณะการเรียนล่วงหน้าแบบทดลองเรียน เป็นต้น

การศึกษาดูงานมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คณะดูงานได้ศึกษาจากองค์กรที่มีความโดดเด่นที่สอดคล้องกับทิศทาง นโยบายและยุทธศาสตร์การปรับเปลี่ยนการศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น (KKU Education transformation) แล้ว สามารถนําข้อมูลและสารสนเทศที่ได้จากการศึกษาดูงานมาวิเคราะห์ถึงสถานการณ์ปัจจุบันของแต่ละหลักสูตรใน มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อสังเคราะห์ให้เห็นประเด็นหรือสถานะที่ตนเองเป็นอยู่ในปัจจุบัน และกําหนดประเด็นสําคัญ จําเป็นหากหลักสูตรต้องการก้าวไปให้ถึงในระดับเดียวกันกับองค์กรตัวอย่างที่ศึกษาดูงาน ซึ่งการศึกษาจากตัวอย่างองค์กร ที่สําเร็จหรือมีความก้าวหน้ามากกว่านั้น เป็นวิธีการส่งเสริมและสนับสนุนให้คณะ วิทยาลัยก้าวสู่การปรับเปลี่ยนการศึกษา ตามกระบวนทัศน์ใหม่ได้รวดเร็วมากยิ่งขึ้น

ข่าว/ภาพ: จีระศักดิ์ เกษจันทร์ สํานักบริหารและพัฒนาวิชาการ

Scroll to Top