อาจารย์คณะวิศวฯ ร่วมด้วยช่วยหมอ ลดความเสี่ยงโควิด-19 สร้างเครื่องต้นแบบฟังเสียงปอดคนไข้จากระยะไกล

อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ ได้ร่วมด้วยช่วยหมอเพื่อลดความเสี่ยงโควิด-19 สร้างเครื่องต้นแบบฟังเสียงปอดคนไข้จากระยะไกล รศ.ดร.ศราวุธ ชัยมูล อาจารย์ประจำสาขาวิชาวิศวกรรมไฟฟ้า ได้รับโจทย์จากคุณหมอด้านโรคปอด โรงพยาบาลศรีนครินทร์  ว่าต้องการเครื่องช่วยฟัง stethoscope ที่เป็น extended/wireless เพื่อให้หมอสามารถฟังเสียงปอดของคนไข้ได้จากระยะไกล  และสามารถสร้างต้นแบบได้ใน 1 วัน โดยพัฒนาเครื่องต้นแบบจนหมอฟังและยืนยันว่าได้ยินเสียงปอดชัด ใช้อีกแค่ 1 วัน ซึ่งปัจจัยเกิดจากชุด PPE ที่ไม่เพียงพอ กับภาระของหมอที่ยังต้องรักษาคนไข้อื่นไปด้วยไม่ใช่แค่เฉพาะผู้ป่วยโควิด ทำให้หมอไม่สามารถจะเข้าไปในโซนผู้ป่วยที่มีเชื้อ Covid ได้บ่อย เพราะถ้าเข้าไป ก็ต้องใส่ชุด และเมื่อออกมาจะไปดูคนไข้อื่นก็ต้องถอดชุด ซึ่งจะเกิดการปนเปื้อนได้ง่าย เพราะโรงพยาบาลก็ไม่มีห้อง Negative room ที่จะปลอดภัย 100% อีก และจะเปลืองชุดมาก ดังนั้น

Wireless/Extended stethoscope จะช่วยได้มาก กรณีนี้คือ ให้พยาบาลประจำวอร์ดซึ่งอยู่เป็นกะ และใส่ชุด PPE อยู่แล้ว เป็นคนช่วยจับ steth แนบอกคนไข้ /หรือคนไข้จับแนบเอง โดย vdo call กับหมอ ในกรณี mild/moderate case หมอสามารถฟังปอดคนไข้ได้จาก clean room ช่วยเซฟหมอและลดการติดเชื้อไปยังผู้ป่วยคนอื่นๆ อีกด้วย

และในเวลานี้อาจารย์ยังพัฒนาต่ออยู่  เน้นให้ทำได้จากอุปกรณ์ในท้องตลาด ส่งสัญญาณได้ง่าย และเสียงชัดเจนขึ้น

ฟังคลิปที่อัดเสียงเวลาใช้งานไว้ด้วย
https://youtu.be/TWOAgc8L4_w
https://youtu.be/NyXO_3Avz7w

 

รศ.ดร.ขวัญตรี แสงประชาธนารักษ์/ข้อมูล
นส.จารุณี นวลบุญมา/เรียบเรียง

Scroll to Top