มข. ถ่ายทอดความรู้ ระบบคัดแยกผัก GMP เพิ่มอำนาจต่อรองพ่อค้าคนกลาง ขึ้นห้างเพิ่มมูลค่า หนุนผู้บริโภคปลอดภัย

เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2566  สำนักบริการวิชาการ ร่วมกับ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ โรงน้ำตาลมิตรภูเวียง จัดกิจกรรม การพัฒนาระบบการบริหารจัดการโรงคัดแยกผัก GMP  (Good Manufacturing Practice) และกระบวนการดำเนินงานในโรงคัดแยกผัก ติดอาวุธทางปัญญาเพิ่มองค์ความรู้ให้กลุ่มปลูกผักอินทรีย์ เพื่อเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตร ส่งผลผลิตเข้าสู่ห้างสรรพสินค้าตามมาตราฐานสากล  ณ อำเภอหนองเรือ จังหวัดขอนแก่น

 สำนักบริการวิชาการ ร่วมกับ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ โรงน้ำตาลมิตรภูเวียง จัดกิจกรรม การพัฒนาระบบการบริหารจัดการโรงคัดแยกผัก GMP และกระบวนการดำเนินงานในโรงคัดแยกผัก เพื่อเตรียมความพร้อมในการบริหารจัดการของกลุ่มปลูกผักอินทรีย์ในพื้นที่อำเภอหนองเรือ เพื่อส่งผลผลิตเข้าสู่ห้างสรรพสินค้าตามมาตราฐานที่กำหนด

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภัชญา นามพิลา  อาจารย์สาขาวิชาพืชสวน คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น กล่าวในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านการปฏิบัติการหลังการเก็บเกี่ยว ว่า การอบอรมครั้งนี้เป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับกลุ่มเกษตรกร ในด้านกระบวนการเก็บเกี่ยวผลผลิต การคัดแยก การคัดผลผลิต การบรรจุภัณฑ์เพื่อจำหน่าย รวมทั้งสาธิตและทดลองปฏิบัติการตรวจหาสารเคมีตกค้างในผักของเกษตรกร เพื่อให้ทราบถึงขั้นตอนวิธีการตรวจหาสารเคมีอย่างถูกต้อง  นำไปสู่การเพิ่มมูลค่าสินค้าทางการเกษตร เพราะเมื่อมีมาตรฐาน GMP แล้ว จะสามารถเพิ่มอำนาจการต่อรองพ่อค้าคนกลาง และเพิ่มมูลค่าขึ้นไปขายในห้างสรรพสินค้าได้ พัฒนาสินค้าการเกษตรไทยให้มีคุณภาพระดับสากล ทั้งยังนำส่งอาหารปลอดภัยยังผู้บริโภค สร้างกลุ่มเกษตรกรที่มีอำนาจต่อรองในระบบการตลาดอย่างเข้มแข็ง

“ ในอดีตเกษตรกรมักถูกพ่อค้าคนกลางกดราคาสินค้าเกษตร  เนื่องจากคุณภาพไม่ได้มาตรฐานที่ GMP กำหนด เกิดการขาดทุนทางการเกษตร และเลิกล้มอาชีพในที่สุด หนักเข้าคือการติดหนี้ เพิ่มภาระครอบครัว ฉะนั้นการให้ความรู้ การคัดแยก การตัดแต่ผลผลิต การบรรจุภัณฑ์เพื่อจำหน่าย รวมทั้งสาธิตและทดลองปฏิบัติการตรวจหาสารเคมีตกค้างในผักของเกษตรกร หรือ มาตรฐาน GMP จะทำให้สินค้าได้มาตรฐาน ราคาสูงขึ้น และเพิ่มอำนาจต่อรองสินค้าจากพ่อค้าคนกลาง และห้างสรรพสินค้า  มีรายได้เพิ่มในครอบครัว ทำให้คุณภาพชีวิตของเกษตรกรดีขึ้นทุกมิติ”   ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศุภัชญา  กล่าวทิ้งท้าย

 

               การดำเนินงานในครั้งนี้ เป็นหนึ่งในภารกิจของสำนักบริการวิชาการที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการประสานบริการวิชาการสู่สังคม (Community Outreach) ในรูปแบบของการสร้างคุณค่าร่วมกัน (CSV) โดยมหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับ คณะเกษตรศาสตร์ และ โรงงานน้ำตาลมิตรภูเวียง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่องค์ความรู้และพัฒนาสังคม ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)  ลดความเหลื่อมล้ำ สร้างรายได้ และเพิ่มขีดความสามารถให้กับเกษตรในชุมชน

 

 

 

ภาพ/ข่าว : กองบริหารงานสำนักบริการวิชาการ

KKU transfers knowledge on GMP vegetable sorting to enable the community to negotiate with middlemen, to sell products in malls, and to promote safety of consumers

https://www.kku.ac.th/16293

 

 

Scroll to Top