สำนักบริการวิชาการ หารือแนวทางการดำเนินงานโครงการพัฒนาทักษะทางสมอง Effective Function (EF) ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนตำบลท่ากระเสริม

               ศูนย์บริการวิชาการสังคม สำนักบริการวิชาการ รับมอบหมายจาก รศ.น.สพ.ดร.ชูชาติ กมลเลิศ เข้าร่วมหารือกับ นายประสิทธิ์ คลังกลาง นายก อบต.ท่ากระเสริม นายชวลิต มูลทา ปลัด อบต. ท่ากระเสริม นางสมสกุล บุญไสย ผอ.กองการศึกษา และเจ้าหน้าที่ อบต.ท่ากระเสริม เพื่อหาแนวทางการดำเนินงานโครงการพัฒนาทักษะทางสมอง Effective Function (EF) เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2566 ณ อบต.ท่ากระเสริม อ.น้ำพอง จ.ขอนแก่น
                นายประภาพรณ์ ขันชัย บุคลากรศูนย์บริการวิชาการสังคม สำนักบริการวิชาการ กล่าวถึงความสำคัญของ Executive Function (EF) ว่า EF คือ ความสามารถที่เกิดจากการทำงานของสมองส่วนหน้าที่ช่วยให้คนเราสามารถควบคุม ความคิด อารมณ์ พฤติกรรม เพื่อให้ได้ผลลัพท์ที่ตนต้องการสำเร็จ ประกอบไปด้วย 9 ทักษะ คือ 1) Working Memory ทักษะความจำขณะทำงาน 2) Inhibitory Control ทักษะการยั้งคิด ไตรีตรอง 3) Shift Cognitive Flexibility ทักษะการยืดหยุ่นความคิด 4) Focus/Attention ทักษะจดจ่อ ใส่ใจ 5) Emotion Control ทักษะการควบคุมอารมณ์ 6) Self Monitoring ทักษะการประเมินตนเอง 7) Initial ทักษะการริเริ่ม 😎 Planing and Organizaion ทักษะการวางแผนและจัดระบบ และ 9) Goal Directed Percistence ทักษะการมุ่งเป้าหมาย EF จำเป็นต้องปลูกฝังตั้งแต่ระดับปฐมวัย เพื่อแก้ปัญหาเด็กสมาธิสั้น อ่านหนังสือไม่ออก มีความเป็นผู้นำ กล้าคิด กล้าทำ สำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด ได้กำหนดเป็นยุทธศาสตร์มุ่งสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดตั้งแต่ในช่วงปฐมวัย โดยใช้ฐานความรู้ทางวิชาการเรื่อง EF เพื่อสร้างทักษะแก่สมองให้รู้จักยับยั้งชั่งใจ หยุดคิดไตร่ตรองก่อนทำ รู้จักควบคุมอารมณ์ กำกับพฤติกรรมของตัวเองให้เหมาะสม รู้จักปรับตัวกับสถานการณ์ ล้มแล้วลุกได้ และเห็นคุณค่าในตัวเอง ซึ่งในทางวิชาการระบุชัดเจนว่า ทักษะสมอง EF นี้จะปลูกฝังได้ดีที่สุดในช่วงปฐมวัย เมื่อโตขึ้นและหากต้องเผชิญกับสถานการณ์เย้ายวนจากยาเสพติด ก็จะมีทักษะในการยับยั้งชั่งใจ รู้จักหลีกเลี่ยงเป็น และรู้ว่าตนเองมีเป้าหมายชีวิตที่จะต้องเดินหน้าไปให้สำเร็จ”
             
                นายประสิทธิ์ คลังกลาง นายก อบต. ท่ากระเสริม กล่าวว่า “โครงการนี้เป็นโครงการที่ดี อบต. ยินดีสนับสนุนอย่างเต็มที่เพราะจะเป็นประโยชน์กับลูกหลานโดยตรง โดยจะสนับสนุนการสร้างเครื่องเล่นที่สนับสนุนพัฒนาการ EF การจัดหาหนังสือ หรือส่วนอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง”
                อบต.ท่ากระเสริม และสำนักบริการวิชาการ มข. ได้ตกลงแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้ 1) ประชุมเพื่อชี้แจงโครงการทุกภาคส่วน ผู้บริหาร เจ้าหน้าที่ ครู ผู้ปกครอง และ รพ.สต. 2) จัดอบรม “การจัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาทักษะทางสมอง EF” 3) จัดกิจกรรมส่งเสริมทักษะการอ่าน 4) พัฒนาเครื่องเล่นให้ตอบสนองการพัฒนาทักษะทางสมอง EF 5) การส่งเสริมให้เด็กทำกิจวัตรประจำวัน การเล่น และการอ่านหนังสือที่บ้าน 6) สรุปและประเมินผล
                 โครงการนี้สนับสนุนงบประมาณจากเงินรายได้มหาวิทยาลัยขอนแก่น เพื่อมุ่งตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ SDGs เป้าหมายที่ 3 : สร้างหลักประกันว่าคนมีชีวิตที่มีสุขภาพดีและส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคนในทุกวัย เป้าหมายที่ 4 : สร้างหลักประกันว่าทุกคนมีการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียม และสนับสนุนโอกาสในการเรียนรู้ตลอดชีวิต
ภาพ/ข่าว : นายประภาพรณ์  ขันชัย
Scroll to Top